สภาคณาจารย์ ม.มหิดล จัดบรรยายพิเศษ ในการประชุมสภาคณาจารย์สามัญ ครั้งที่ 3/2564

กองกายภาพและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหิดล จัดการประชุมพิจารณาร่างนโยบายการพัฒนาที่ยั่งยืนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
March 3, 2021
ม.มหิดล ประชุมเตรียมความพร้อม 8 หลักสูตร รับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาตามเกณฑ์ AUN-QA ระดับอาเซียน ปี 2564 (PREP4AUN-QA 2021)
March 4, 2021

สภาคณาจารย์ ม.มหิดล จัดบรรยายพิเศษ ในการประชุมสภาคณาจารย์สามัญ ครั้งที่ 3/2564

1614763125654_copy_1024x683

วันที่ 3 มีนาคม 2564 ในการประชุมสภาคณาจารย์สามัญ ครั้งที่ 3/2564 ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.นที รักษ์พลเมือง ชั้น 5 สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ศาสตราจารย์ นายแพทย์วชิร คชการ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้เกียรติเป็นวิทยากรพิเศษ บรรยายหัวข้อ “นโยบายและยุทธศาสตร์ด้านการวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล” โดย ศาสตราจารย์ นายแพทย์วชิร คชการ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยมหิดล มุ่งเน้น สร้างกลุ่มวิจัยแบบหลายรุ่น (Multi – generation Researcher & Multidisciplinary) โดยมีการสนับสนุนทุนวิจัยต่างๆ การสนับสนุนผลงานตีพิมพ์ใน วารสารที่มีอันดับสูง ซึ่งมหาวิทยาลัยมหิดลมีสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol University Press) ที่เป็นแหล่งรวมในการผลิตและเผยแพร่ผลงานวิชาการ และอำนวยความสะดวกให้แก่คณาจารย์และนักวิชาการ ในการหาแหล่งพิมพ์ผลงาน การสร้างเครือข่ายด้านการวิจัย โดยได้ทำความร่วมมือ ข้อตกลง กับมหาวิทยาลัยต่างๆ ด้านงานวิจัย งานวิชาการ และมีการสนับสนุนทุนวิจัยจากต่างประเทศ สิ่งเอื้ออำนวยความสะดวกในการทำวิจัย ให้กับอาจารย์และนักวิจัย ภายในมหาวิทยาลัยมหิดล

จากนั้น รองศาสตราจารย์ ดร. ภก.เนติ สุขสมบูรณ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษา บรรยายหัวข้อ “ทิศทางและกลยุทธ์ในการผลักดันยุทธศาสตร์ และ Flagship Projects” ปีงบประมาณ 2564 โดย รองศาสตราจารย์ ดร. ภก.เนติ สุขสมบูรณ์ ได้กล่าวถึง Flagship ภายใต้ยุทธศาสตร์ Academic and Entrepreneurial Education คือ การศึกษาแบบยืดหยุ่นและระบบคลังหน่วยกิต (Flexible Education & Credit Unit Bank System) เน้นการขยายผลการจัดทำหลักสูตรแบบยืดหยุ่นสู่ส่วนงานต่างๆ ซึ่งจะมีการสนับสนุนการจัดทำชุดวิชาและหลักสูตรแบบยืดหยุ่น พัฒนาอาจารย์ตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพอาจารย์ (MUPSF – Professional Standards Framework) เป็นการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์ ซึ่งจะมีเกณฑ์ในการวัดระดับสมรรถนะ และมีโครงการเพิ่มพูนสมรรถนะของอาจารย์ Mahidol University Extension (MUx) Platform มีการควบคุมมาตรฐานและคุณภาพบทเรียนออนไลน์ ซึ่งรายวิชา MOOCs จะผลิตใหม่ขึ้นทุกวิชา โดยมีแนวทางตามหลักเกณฑ์ของ ISO และ Career Support Services ซึ่งกองบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล มีการดำเนินโครงการ เพื่อสนับสนุนมหาวิทยาลัย ในการพัฒนาอาจารย์ นักวิจัย หลากหลายโครงการ อาทิ โครงการส่งเสริมการวิจัย การจัดการสอนออนไลน์ ของมหาวิทยาลัยมหิดล Digital Teaching Tools การบันทึกการบรรยายในรูปแบบ Video on demand เผยแพร่ทาง Web blog การจัดการความรู้ (KM) ของกองบริหารการศึกษา เพื่อเป็นการรวบรวมและแลกเปลี่ยนความรู้เรื่องการใช้งานเครื่องมือสำหรับการจัดการเรียนการสอน โครงการพัฒนาบัณฑิตและนักวิจัย โดยมีความร่วมมือกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เป็นต้น

ติดตามข้อมูลข่าวสารของสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพิ่มเติมที่ http://www.senate.mahidol.ac.th/index.html