คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ กสทช. และ หัวเว่ย เปิดตัวโครงการ “ศิริราชต้นแบบโรงพยาบาลอัจฉริยะ ระดับโลกด้วยเทคโนโลยีเครือข่าย 5G”

คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล จัดเสวนาวิชาการ เรื่อง “บัวบก พันธุ์ศาลายา 1 โอกาสสู่พืชเศรษฐกิจตัวใหม่ของประเทศไทย”
December 16, 2021
อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมการประชุมคณะกรรมการอำนวยการ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ ครั้งที่ 4/2564
December 16, 2021

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ กสทช. และ หัวเว่ย เปิดตัวโครงการ “ศิริราชต้นแบบโรงพยาบาลอัจฉริยะ ระดับโลกด้วยเทคโนโลยีเครือข่าย 5G”

2564-12-16_งานแถลงข่าวความร่วมมือโครงการศิริราชต้นแบบโรงพยาบาลอัจฉริยะระดับโลกด้วยเทคโนโลยีเครือข่าย 5G Photo by Wipat Lertpureevong

วันที่ 16 ธันวาคม 2564 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ และ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดตัวโครงการ “ศิริราชต้นแบบโรงพยาบาลอัจฉริยะ ระดับโลกด้วยเทคโนโลยีเครือข่าย 5G” (Siriraj World Class 5G Smart Hospital) โดยได้รับเกียรติจาก พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานเปิดโครงการ โดยมี นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัล เศรษฐกิจ และสังคม นายอนุทิน  ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข  ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล  พันเอก ดร. นที ศุกลรัตน์  รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ  นายหาน จื้อเฉียง เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีน ประจําประเทศไทย นายอาเบล เติ้ง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ นายแพทย์วิศิษฏ์ วามวาณิชย์ ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลศิริราช รองศาสตราจารย์ นายแพทย์เชิดชัย  นพมณีจำรัสเลิศ  รองผู้อำนวยการ โรงพยาบาลศิริราช  และผู้บริหารร่วมพิธี ณ ห้องประชุมราชปนัดดาสิรินธร อาคารศรีสวรินทิรา โรงพยาบาลศิริราช

โรงพยาบาลศิริราช ได้ดำเนินโครงการต้นแบบโรงพยาบาลอัจฉริยะด้วยเทคโนโลยีเครือข่าย 5G และระบบปัญญาประดิษฐ์ เพื่อสร้างต้นแบบ “โรงพยาบาลอัจฉริยะ (Smart Hospital)” ร่วมกับเหล่าพันธมิตรในการนำเทคโนโลยี 5G Cloud AI  และ Digital Disruption มาประยุกต์ใช้ในการป้องกัน รักษา และฟื้นฟูสุขภาพ เพื่อเพิ่มคุณภาพและผลิตภาพการรักษาพยาบาล สร้างประสบการณ์ที่ดีในการมารับบริการ ตลอดจนการเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงบริการสุขภาพระดับตติยภูมิขั้นสูงของประชาชนในพื้นที่ห่างไกล และเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ อีกทั้งเพื่อเป็นต้นแบบในการให้บริการทางการแพทย์รูปแบบใหม่แก่วงการสาธารณสุขของโลก นอกจากนี้ยังมีความร่วมมือในการจัดตั้ง Innovation Lab และแพลตฟอร์มนวัตกรรม เพื่อบ่มเพาะโครงการนวัตกรรมใหม่ในอนาคต ประกอบด้วย 9 โครงการย่อย ดังนี้

  1. ระบบการแพทย์ฉุกเฉินอัจฉริยะ ด้วยเทคโนโลยีเครือข่าย 5G และระบบปัญญาประดิษฐ์ : Smart EMS
  2. ระบบห้องฉุกเฉินอัจฉริยะ ด้วยเทคโนโลยีเครือข่าย 5G และระบบปัญญาประดิษฐ์ : Smart Emergency Room
  3. ระบบการวินิจฉัยทางพยาธิวิทยา ด้วยปัญญาประดิษฐ์ ผ่านเครือข่าย 5G : Pathological diagnosis system with 5G and artificial intelligence
  4. ระบบผู้ช่วยการดูแลและสร้างเสริมสุขภาพรายบุคคล สำหรับผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์ ผ่านเครือข่าย 5G: 5G AI Platform for NCD
  5. ระบบทำนายปริมาณการใช้และการจัดการสินค้าคงคลัง ด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) ผ่านเครือข่าย 5G: Smart Inventory Management
  6. ระบบเวชระเบียนกลางด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชน : Permission based block chain for personal health record
  7. ระบบขนส่งกลางด้วยรถไร้คนขับ 5G: Smart Logistic with 5G Self-Driving car.
  8. จัดหาอุปกรณ์ติดตั้งระบบ Multi-access Edge computing (MEC)
  9. จัดหาติดตั้งระบบ Hybrid Cloud

ทั้งนี้ แต่ละโครงการสามารถดำเนินการได้ตามแผนงาน และได้ผลลัพธ์อย่างชัดเจน และคาดว่าทุกโครงการจะสามารถดำเนินการเสร็จสิ้นตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ การดำเนินการครั้งนี้จึงถือได้ว่า ศิริราชเป็นโรงพยาบาลแห่งแรกของประเทศไทย ในการพัฒนาโครงการต้นแบบการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 5G และการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาปรับใช้ในการให้บริการทางการแพทย์ในประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อพัฒนาไปสู่การเป็นต้นแบบโรงพยาบาลอัจฉริยะด้วยเทคโนโลยีเครือข่าย 5G และระบบปัญญาประดิษฐ์ (Smart Hospital with 5G cloud AI solution) เป็นการนำร่องในรูปแบบบริการทางการแพทย์ที่มีประสิทธิภาพ สร้างความน่าเชื่อถือ และความศรัทธาสู่ประชาชนคนไทย