คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล จัดประชุมวิชาการออนไลน์ เรื่อง Product Information Leaflet and Boxed Warnings (Pil-Box)

กรมสุขภาพจิต,มหิดล,mahidol,dmh,กระทรวงสาธารณสุข
มหาวิทยาลัยมหิดล โดย สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย และ กรมสุขภาพจิต ร่วมเผยแพร่วิธีการสื่อสารในกลุ่มแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อรับมือ COVID-19
February 22, 2021
คณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.มหิดล ร่วมประชุมวิชาการออนไลน์ เรื่อง “แนวคิดการส่งเสริมความรอบรู้สุขภาพของผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง”
February 22, 2021

คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล จัดประชุมวิชาการออนไลน์ เรื่อง Product Information Leaflet and Boxed Warnings (Pil-Box)

S__71557142

วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2564 รองศาสตราจารย์ ภก.สุรกิจ นาฑีสุวรรณ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุมวิชาการออนไลน์ เรื่อง Product Information Leaflet and Boxed Warnings (Pil-Box) โดยได้รับเกียรติจากคณาจารย์ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และวิทยากรภายนอก โดยการประชุมครอบคลุมการนำเสนอข้อมูลความสำคัญของฉลากยา (product information leaflet) บนผลิตภัณฑ์ยา อาทิ The Importance of Product Information Leaflet in Patient Safety, Key Warnings in Special Populations, Bye Bye Pregnancy Category in Drug Labeling! ผ่านระบบออนไลน์ Cisco Webex

การประชุมวิชาการดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ “ร่วมรำลึกและสืบสานปณิธาน 100 ปีชาตกาล อาจารย์ประดิษฐ์ หุตางกูร (ผู้ก่อตั้งคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล)” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการประชุมมีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของฉลากยา และการใช้ยา รวมทั้งคำเตือนชนิด black box warnings ในการรักษาโรคกลุ่มต่างๆ รวมถึง ประเด็นความปลอดภัยที่สำคัญของยาในโรคที่พบบ่อย เพื่อนำมาประกอบการตัดสินใจใช้ยาได้อย่างสมเหตุผลและปลอดภัย ตลอดจนสามารถจัดการ ติดตาม และเฝ้าระวังผู้ป่วยอย่างเหมาะสม เนื่องจากความปลอดภัยในการใช้ยานั้น นับเป็นหัวใจสำคัญของการบริบาลทางเภสัชกรรม รวมทั้งกระบวนการทางเภสัชจลนศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ทำให้บุคลากรทางการแพทย์ สามารถตัดสินใจการรักษาบนพื้นฐานของความเสี่ยง และประโยชน์ที่ผู้ป่วยแต่ละรายจะได้รับ โดยคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มุ่งหวังที่จะถ่ายทอดข้อมูลที่สำคัญและทันสมัย เพื่อช่วยส่งเสริมเภสัชกรวิชาชีพและบุคลากรทางการแพทย์ได้มีความเข้าใจ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในทางปฏิบัติ และเป็นประโยชน์ให้เกิดผลการรักษาแก่ผู้ป่วยตามที่คาดหวังและปลอดภัย