มหาวิทยาลัยมหิดล จัดประชุมขอบเขตความร่วมมืองานวิจัยด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปะ ระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดล กับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คณะผู้บริหาร ม.มหิดล รับฟังข้อตกลงการปฏิบัติงานของส่วนงาน (PA-Visit) ประจำปีงบประมาณ 2565 โครงการจัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา
December 20, 2021
มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมการประชุมวิชาการที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ประจำปี 2564 “The Future of Higher Education”
December 20, 2021

มหาวิทยาลัยมหิดล จัดประชุมขอบเขตความร่วมมืองานวิจัยด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปะ ระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดล กับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

วันที่ 20 ธันวาคม 2564 ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุมหารือขอบเขตความร่วมมืองานวิจัยด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปะ ระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดล กับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (Mahidol University – SSHA and Prince of Songkla University – SSHA) โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวเปิดการประชุม ในโอกาสนี้ ศาสตราจารย์ นายแพทย์วชิร คชการ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและวิชาการ อาจารย์ แพทย์หญิงมนทกานติ์ โอประเสริฐสวัสดิ์ รองอธิการบดีฝ่ายโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ ผู้บริหารส่วนงาน และนักวิจัยของทั้งสองสถาบันเข้าร่วมประชุม ผ่านระบบบออนไลน์ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ รับฟังข้อเสนอแนะและข้อคิดเห็น ในการพัฒนาโครงการวิจัยแบบบูรณาการด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปะ ระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดล กับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

จากนั้น เป็นการนำเสนอนโยบายการสนับสนุนงานวิจัยสาขาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปะ ของมหาวิทยาลัยมหิดล โดยศาสตราจารย์ นายแพทย์วชิร คชการ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล และของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดย รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สุนทร วงษ์ศิริ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ การแนะนำ MU-SSHA โดย รองศาสตราจารย์ ดร.โธมัส กวาดามูซ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิจัยและวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล และ PSU-SSHA โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มัทนชัย สุทธิพันธุ์ รองผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และการแนะนำงานวิจัยของสองมหาวิทยาลัยร่วมกัน

มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ความสำคัญกับการพัฒนาและยกระดับความร่วมมือให้เกิดความยั่งยืน และเสริมสร้างเครือข่ายด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปะของมหาวิทยาลัยมหิดล ให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง สร้างภาพลักษณ์ ผลงานวิจัยและวิชาการ ในการชี้นำพัฒนาสังคม สนับสนุน และผลักดันนโยบายด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปะ ให้เกิดประโยชน์ต่อ ชุมชน สังคม และประเทศชาติ และเพื่อตอบสนองนโยบายของมหาวิทยาลัย และยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ที่ต้องการพัฒนามหาวิทยาลัยมหิดลไปสู่การเป็น Word Class University ต่อไป