มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมการสัมมนาวิชาการออนไลน์ ครั้งที่ 1 โครงการจัดตั้งกลุ่มความร่วมมือ (Consortium) ของผู้ประเมินการวิจัยและนวัตกรรม

โครงการจัดตั้งสถาบันอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ ม.มหิดล ประชุมหารือวางแผนแม่บทระยะ 5 ปี โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.)
February 17, 2021
ม.มหิดล เข้าร่วมการประชุมวิชาการ 94th Foundation Anniversary of the College of Public Health, 55th Anniversary as SEAMEO Centre, 28th Anniversary as SEAMEO TROPMED Regional Centre
February 17, 2021

มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมการสัมมนาวิชาการออนไลน์ ครั้งที่ 1 โครงการจัดตั้งกลุ่มความร่วมมือ (Consortium) ของผู้ประเมินการวิจัยและนวัตกรรม

AAB43654-40D4-4EB0-B492-B68761C58A7A

วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2564 ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย ศาสตราจารย์ นายแพทย์วชิร คชการ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมการประชุมสัมมนาวิชาการออนไลน์ ครั้งที่ 1 โครงการจัดตั้งกลุ่มความร่วมมือ (Consortium) ของผู้ประเมินการวิจัยและนวัตกรรม เพื่อพัฒนารูปแบบการติดตามและการประเมินผลการวิจัยและนวัตกรรม ภายใต้ระบบวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมของชาติ โดยมี ดร.รพีสุภา หวังเจริญรุ่ง รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง กล่าวเปิดการประชุม และ รองศาสตราจารย์ ดร.คมสัน สุริยะ ผู้อำนวยการภารกิจการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์ของหน่วยงานในระบบวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม และสนับสนุนการติดตามและประเมินผลงานวิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของการจัดประชุม จากนั้น เป็นการบรรยายหัวข้อ “Collaborative Approaches to Research and Innovation in Evaluation; Lessons from the Canadian Context” โดย Ms. Sarah Farina, Past President of Canadian Evaluation Society ผ่านระบบออนไลน์ Zoom Meeting

การประชุมครั้งนี้ เป็นกิจกรรมภายใต้การดำเนินงานของคณะทำงานเพื่อการพัฒนา Consortium ของผู้ประเมิน โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge Sharing) ในเครือข่ายผู้ประเมิน และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการติดตามและประเมินผลการสนับสนุนวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ทั้งในระดับนโยบาย ระดับการขับเคลื่อนนโยบาย หน่วยบริหารจัดการทุน รวมไปถึงนักวิจัยในระบบ โดยศึกษาองค์ความรู้ว่าด้วยศาสตร์การติดตามและประเมินผล จากการประชุมสัมมนาเชิงวิชาการ รวมทั้ง ศึกษารูปแบบการจัดตั้งเครือข่ายผู้ประเมินของต่างประเทศ เพื่อนำไปสู่แนวทางการจัดตั้งกลุ่มความร่วมมือ (Consortium) ที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ