คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ 38/2564 ของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมนำเสนอผลงานในการประชุม UI Green Metric World University Rankings Network (UIGWURN)
August 24, 2021
คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ 39/2564 ของคณะกายภาพบำบัด
August 25, 2021

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ 38/2564 ของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

วันที่ 25 สิงหาคม 2564 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ 38/2564 ของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ 2564-2565 และรับฟังผลสำเร็จของการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี ดร.พัฒนศักดิ์ มงคลวัฒน์ คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พร้อมด้วยผู้บริหารคณะ เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น ผ่านระบบการประชุมออนไลน์ Cisco Webex Meetings โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

การดําเนินงานตามเป้าหมายที่ผ่านมาและคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต

  1. เสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ ได้แก่ โครงการพัฒนาหลักสูตร ICT+DST+Reskill (Flexi Education)
  2. พัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรม ได้แก่ โครงการสนับสนุนกลุ่มวิจัย Global Collaboration (Germany, Japan, Australia, China, Taiwan) โครงการวิจัยบูรณาการตามความต้องการประเทศ (ด้านสังคมสูงวัย ด้านการแพทย์ ด้านสิ่งแวดล้อม) และโครงการ Intelligent Digital Hub in Medicine
  3. ส่งเสริมความเข้มแข็งของเศรษฐกิจกระแสใหม่ ได้แก่ โครงการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ด้วย Digital Technology

เป้าหมายที่จะดำเนินการเพิ่มเติมในอีก 2 ปีข้างหน้า

  1. พัฒนาสถาบันปัญญาประดิษฐ์มหิดลให้เป็นสถาบันที่โดดเด่น สร้างผลงานที่มีความสำคัญ และมีคุณค่าสูงต่อมหาวิทยาลัยและประเทศชาติ
  2. สร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อการทำงานวิจัยเชิงบูรณาการ โดยเฉพาะทางด้านการแพทย์ให้เข้มแข็งและยั่งยืน
  3. พัฒนาความสัมพันธ์และความร่วมมือกับคู่ความร่วมมือระดับนานาชาติ เพื่อพัฒนาโครงการวิจัยร่วมกันและยกระดับความสามารถในการวิจัยของคณะฯ
  4. พัฒนาหลักสูตรให้เป็น Flexi Program ที่ทันสมัย คล่องตัวในการปรับเปลี่ยน เป็นที่ต้องการของผู้เรียน และผู้ใช้บัณฑิต
  5. พัฒนานักศึกษาให้มีคุณภาพ เป็นบัณฑิตที่พร้อมทำงานจริงได้ทันทีหลังสำเร็จการศึกษา โดยมีการเรียนรู้จากการทำงานจริงกับภาคอุตสาหกรรม (Authentic Learning)
  6. สร้างสภาพแวดล้อมและส่งเสริมให้นักศึกษาคิดค้นและพัฒนานวัตกรรมที่นำไปใช้ประโยชน์ได้จริง
  7. สนับสนุนการสร้างความสัมพันธ์กับนักศึกษาทุกชั้นปี คณาจารย์ และบุคลากรของคณะ เพื่อให้เกิดความผูกพันและช่วยเหลือเกื้อกูลกันตลอดไป
  8. ให้บริการวิชาการหลักสูตรอบรมที่ทันสมัย เป็นประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม โดยพัฒนาร่วมกับคู่ความร่วมมือกาคเอกชน / องค์กรชั้นนำด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
  9. จัดทำและร่วมดำเนินการบริการวิชาการที่ตอบสนองเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ตามเป้าหมายที่ 3 , 4 และ 13
  10. จัดทำโครงการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ด้วย Digital Technology เพื่อตอบสนองความต้องการของสังคมและประเทศอย่างต่อเนื่อง
  11. ส่งเสริมให้คณาจารย์และบุคลากรมีการพัฒนาตนเองเพิ่มพูนความรู้และทักษะใหม่ๆ เพื่อพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในยุค Disruption

ทั้งนี้ ที่ประชุมได้กล่าวชื่นชมการดำเนินงานของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่มีการพัฒนาอย่างมาก มีความร่วมมือกับส่วนงานภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย รวมทั้งมีเครือข่ายความร่วมมือในระดับนานาชาติ พร้อมทั้งเสนอแนะให้ กำหนดเป้าหมายการสร้างผลงานวิจัย / โครงการของคณะฯ ในรูปแบบ Market-In เพิ่มเติม จัดทำหลักสูตร Flexible Education ที่นักศึกษาสามารถเก็บหน่วยกิตได้ และเสนอเปิดหลักสูตรบูรณาการข้ามศาสตร์ เช่น แพทย์+ไอที รวมทั้งเสนอให้มีหลักสูตร Ph.D by Research เพิ่มมากขึ้น สร้าง Center หรือ Virtual Office ที่มีผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในการสร้าง Platform ที่ประสบความสำเร็จ เช่น Facebook / Robinhood เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้ และสามารถต่อยอดแนวความคิดให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ รวมถึงกำหนดแนวทางและเป้าหมายการดำเนินงานที่สอดคล้องกับ SDGs ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน