คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ 39/2564 ของคณะกายภาพบำบัด

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ 38/2564 ของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
August 25, 2021
คณบดีวิศวะ ม.มหิดล ร่วมเวทีปาฐกถาในงาน Education NEXT Forum 2021 จัดโดยกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES) และสมาคมดิจิทัลไทย (DUGA)
August 25, 2021

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ 39/2564 ของคณะกายภาพบำบัด

วันที่ 25 สิงหาคม 2564 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ 39/2564 ของคณะกายภาพบำบัด เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ 2564-2565 และรับฟังผลสำเร็จของการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้ง การพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร. กภ.จารุกูล ตรีไตรลักษณะ คณบดีคณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารคณะ เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น ผ่านการประชุมออนไลน์ โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

การดำเนินการตามเป้าหมายที่ผ่านมาและคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต

1. ผลักดันหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชากายภาพบำบัด ให้ได้รับ International Accreditation จาก WCPT

2. ปรับปรุงและบูรณาการหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตทางคลินิก และหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากายภาพบำบัด เป็นหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากายภาพบำบัดคลินิก

3. จัดตั้ง “ศูนย์ฝึกอบรมกายภาพบำบัดในภาวะกระดูกสันหลังคด” และ “ศูนย์กระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าผ่านกระโหลกศีรษะ ร่วมกับการฝึกกายภาพบำบัดแบบเฉพาะเจาะจง”

4. Tele-physical therapy ผ่านระบบ Cisco Webex Meetings

5. Innovative learning platform เช่น E-learning, short-course, module, credit bank

6. Innovation and high impact research

– โครงการบริการวิชาการและวิจัยให้กับแรงงานต่างด้าวและผู้เกี่ยวข้องในชุมชนจังหวัดกาญจนบุรีร่วมกับ International Organization of Migration (IOM)

– โครงการนวัตกรรมอุปกรณ์ดามของการพัฒนาเพิ่มคุณค่าและต้นทุนต่ำจากเทอร์โมพลาสติก ภายใต้โครงการ Reinventing University

เป้าหมายที่จะดำเนินการเพิ่มเติมในอีก 2 ปีข้างหน้า

1. การศึกษา

1.1 การรับรองหลักสูตรทุกหลักสูตรทั้งปริญญาตรีและหลังปริญญาให้ได้ตามมาตรฐานสากล เช่น WCPT, WFOT, AUN-QA

1.2 นวัตกรรมด้านการศึกษาแบบยืดหยุ่นเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้แบบทุกที่ทุกเวลา เช่น E-learning, module, credit bank

2. การบริการสุขภาพและบริการวิชาการ

2.1 เพิ่มคลินิกเฉพาะทาง Women health, Active Aging และ Vojta เพื่อเตรียมความพร้อมเป็น Healthcare Hub ด้านกายภาพบำบัดแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้

2.2 Telehealth service ผ่าน Web Application เพื่อเอื้อให้ผู้รับบริการทั่วประเทศเข้าถึงการรับบริการ การรับรองมาตรฐานวิชาชีพของศูนย์กายภาพบำบัดจากสภากายภาพบำบัด ทั้งสาขาเชิงสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าและศาลายา

3. วิจัยและนวัตกรรม

3.1 รับทุนงานวิจัยต่อเนื่องจาก IOM เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตแรงงานต่างด้าวและชุมชน

3.2 จดลิขสิทธิ์คู่มือและคลิปวิดิโองานวิจัยและงานบริการสุขภาพ และพัฒนาเครื่องมือแบ่งปันความรู้ใน KM masterclass และสื่อออนไลน์เพื่อบุคคลภายนอก

3.3 ประโยชน์จากงานวิจัยสู่นโยบายทางสุขภาพกับสังคมโดยกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

3.4 นวัตกรรมสู่ภาคธุรกิจ เช่น อุปกรณ์ดามต้นทุนต่ำจากเทอร์โมพลาสติกและยางพารา

4. การบริหารงานเพื่อความยั่งยืน ขอยื่นรับรางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award : TQA)

ทั้งนี้ ที่ประชุม ได้กล่าวชื่นชมคณบดีและทีม ที่มีศักยภาพทำงานเชิงรุก เห็นถึงความก้าวหน้าของคณะ และการเชื่อมโยงความร่วมมือ ไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ได้หลากหลาย บูรณาการข้ามศาสตร์ ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ของมหาวิทยาลัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ โรงเรียนกายอุปกรณ์สิรินธร วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร วิทยาลัยราชสุดา และอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ เพื่อสร้างจุดเด่น และมุ่งเป้าหมายการเป็นผู้นำด้านกายภาพบำบัดระดับนานาชาติ เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ เช่น การพัฒนานักกีฬาพาราลิมปิก พร้อมเสนอแนะให้คณะเพิ่มเติมความร่วมมือกับ Asian Center for Active Ageing กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งปัจจุบันคณะ มีความร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุข ทั้งด้านหลักสูตรกายภาพเพื่อชุมชน และคู่มือแนวทางการส่งเสริมสุขภาพดี “ชะลอชรา ชีวายืนยาว” โดยให้ดำเนินการหารือเพิ่มเติมกับ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพและบริการวิชาการ เพื่อผลักดันต่อยอดให้เกิดประโยชน์สูงสุดด้าน Policy Advocacy เสนอให้เพิ่มหุ้นส่วนเชิงกลยุทธ์ในภูมิภาค CLMV เพื่อแสวงหาทุนระดับนานาชาติ โดยหารือร่วมกับรองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร เพิ่มเติมกลุ่มลูกค้า และสร้างรายได้จากนวัตกรรมด้าน Wellness แบบ Startup สำหรับประชาชนทุกเพศ วัย เช่น อุปกรณ์ที่ผ่านการออกแบบและรับรองจากคณะกายภาพบำบัด อีกทั้งเพิ่มเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน Sustainable Development Goals (SDGs)