มหาวิทยาลัยมหิดล โดย คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล แถลงข่าวการรับมือมหันตภัย PM2.5

มหาวิทยาลัยมหิดล และ University of Southern Queensland เครือรัฐออสเตรเลีย ร่วมหารือเพื่อแลกเปลี่ยนงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและวิทยาศาสตร์การเกษตร
December 15, 2020
มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมประชุมคณะอนุกรรมการดำเนินโครงการสนองแนวพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ด้านวิชาการ CERN-DESY-GSI/FAIR
December 16, 2020

มหาวิทยาลัยมหิดล โดย คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล แถลงข่าวการรับมือมหันตภัย PM2.5

186602

วันที่ 15 ธันวาคม 2563 ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ นายแพทย์นิธิพัฒน์ เจียรกุล หัวหน้าสาขาวิชาระบบการหายใจและวัณโรค ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล แถลงข่าวการรับมือมหันตภัย PM2.5 โดยได้มีการสรุปสถานการณ์ฝุ่นละออง PM 2.5 ผลกระทบต่อคุณภาพอากาศทั่วประเทศและผลต่อสุขภาพของประชาชน ระบบการเตือนภัยคุณภาพอากาศของประเทศไทย และการปฏิบัติตัวของประชาชน ณ ตึกอำนวยการ โรงพยาบาลศิริราช

PM2.5 เป็นมลพิษทางอากาศที่สำคัญจากการกระทำของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นไอเสียจากยานพาหนะ การเผาไหม้ในครัวเรือนและที่โล่งแจ้ง ควันและก๊าซจากโรงงานอุตสาหกรรม ฝุ่นจากการก่อสร้าง และสารที่เกิดจากกระบวนการทางเกษตรกรรม โดยปริมาณฝุ่นจะเพิ่มขึ้นในช่วงปลายปีถึงต้นปีที่มีอากาศเย็นและนิ่ง สำหรับองค์ประกอบของ PM2.5 ในแต่ละพื้นที่จะมีความแตกต่างกันไปขึ้นกับแหล่งกำเนิด สารพิษที่เป็นองค์ประกอบสำคัญ คือ แบล็คคาร์บอน โพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน และโลหะหนัก

เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะก่อให้เกิดการอักเสบรุนแรง และการเปลี่ยนแปลงทางชีววิทยาของเนื้อเยื่อตั้งแต่จมูกลงไปจนถึงปอด ส่งผลให้ในระยะสั้นให้เกิดการระคายเคืองจมูก มีน้ำมูก เจ็บคอ และไอ ตามมาด้วยการเกิดปอดอักเสบติดเชื้อง่ายขึ้นรวมทั้งโรคโควิด-19 ผู้ที่มีโรคคปอดเรื้อรัง เช่น โรคหืด และโรคถุงลมโป่งพองจะเกิดการกำเริบของโรค โดยในระยาวจะทำให้สมรรถภาพปอดถดถอยจนเกิดโรคถุงลมโป่งพองโดยที่ไม่สูบบุหรี่ และมีโอกาสเป็นมะเร็งปอดเพิ่มขึ้น  นอกจากนี้ PM2.5 สามารถหลุดรอดผ่านกระแสเลือดจากปอดไปทำลายอวัยวะต่าง ๆ ได้ทั่วร่างกาย ส่งผลให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคไตเรื้อรังตามมา รวมถึงโรคสำคัญอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น เบาหวาน ผิวหนังเหี่ยวย่น ตาแห้ง จอรับภาพที่ตาเสื่อม และสมรรถภาพทางเพศถดถอย ฯลฯ

ปัจจุบันประเทศไทยมีความตื่นตัวเรื่อง PM2.5 ในทุกภาคส่วนกันมากขึ้น จำเป็นต้องมีการบูรณาการของทั้งภาครัฐและภาคประชาชนเพื่อหามาตรการควบคุมแหล่งกำเนิด ลดการสูญเสียโดยมีการเฝ้าระวังคุณภาพอากาศพร้อมมีการแจ้งเตือนภัยที่รวดเร็ว รวมถึงปรับค่าเตือนภัยให้เหมาะสมกับกลุ่มคนเปราะบางคือ เด็ก คนท้อง คนชรา และคนมีโรคปอด/ หัวใจ/ สมอง/ ไตเรื้อรัง รณรงค์ให้ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลางแจ้งพร้อมใช้หน้ากากป้องกันฝุ่นอย่างถูกต้อง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องจัดหาหน้ากากทุกชนิดให้ประชาชนมีใช้อย่างเพียงพอ ผลิตและจัดหาอุปกรณ์ป้องกันในที่พักอาศัย โดยเฉพาะเครื่องฟอกอากาศและแผ่นกรองอากาศที่มีประสิทธิภาพและราคาย่อมเยา รวมถึงจัดหาสถานที่หลบภัยสาธารณะในช่วงอากาศวิกฤตสำหรับประชาชนที่ขาดความพร้อมและมีความจำเป็นต้องทำงานกลางแจ้ง เช่น พนักงานทำความสะอาดถนน หรือ ผู้ขับขี่ยานพาหนะสาธารณะ ฯลฯ