คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) “การพัฒนาฐานข้อมูลสมุนไพรเพื่อการใช้ประโยชน์ทางเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์สมุนไพรสำหรับใช้ภายนอก”

คณะผู้บริหาร ม.มหิดล รับฟังข้อตกลงการปฏิบัติงานของส่วนงาน (PA-Visit) ประจำปีงบประมาณ 2564 สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน
December 4, 2020
มหาวิทยาลัยมหิดล ต้อนรับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในโอกาสมาเยี่ยมชมและมอบนโยบายให้แก่มหาวิทยาลัยมหิดล
December 4, 2020

คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) “การพัฒนาฐานข้อมูลสมุนไพรเพื่อการใช้ประโยชน์ทางเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์สมุนไพรสำหรับใช้ภายนอก”

py-1

วันที่ 4 ธันวาคม 2563 รองศาสตราจารย์ ภก.สุรกิจ นาฑีสุวรรณ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย ดร.วรรณี ฉินศิริกุล ผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) นายแพทย์ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และ นายแพทย์พิเชฐ บัญญัติ รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) “การพัฒนาฐานข้อมูลสมุนไพรเพื่อการใช้ประโยชน์ทางเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์สมุนไพรสำหรับใช้ภายนอกณ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (อาคารวิจัยโยธี) เขตราชเทวี กรุงเทพฯ

การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนฐานข้อมูลพืชสมุนไพรด้านสรรพคุณและหน้าที่สารออกฤทธิ์สำคัญ (Functional & health claims) ของสมุนไพรสำหรับใช้เป็นข้อกำหนดในการตรวจสอบเครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์สุมนไพรสำหรับใช้ภายนอก เพื่อนำฐานข้อมูลมาใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยความร่วมมือจาก 4 หน่วยงาน ได้แก่ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ตามแนวทางที่รัฐบาลกำหนดไว้ เนื่องจากประเทศไทยมีสมุนไพรไทยจำนวนมาก มีฤทธิ์ที่สามารถนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของเครื่องสำอางได้อย่างหลากหลายสรรพคุณ การนำสมุนไพรไปใช้ประโยชน์อย่างมีมาตรฐาน และมีประสิทธิภาพ ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม โดยภาคเอกชนสามารถนำไปต่อยอดใช้ประโยชน์ สร้างผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรไทยที่ดี มีมูลค่าสูง สามารถเติบโตและแข่งขันในตลาดโลกได้อย่างยั่งยืน ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่เกษตรกรผู้ปลูกสมุนไพร ผู้ผลิตเครื่องสำอาง และผู้บริโภค เพื่อให้เกิดการพัฒนาสมุนไพรสู่นวัตกรรมด้านเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ใช้ภายนอกอย่างยั่งยืน