คณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.มหิดล ประชุมหารือร่วมกับกรุงเทพมหานคร เตรียมยกร่างแผนพัฒนาเขตส่งเสริมสุขภาพตามเจตนารมณ์กฎบัตรสุขภาพกรุงเทพมหานคร

มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานนิทรรศการ “องค์กรต้นแบบครอบครัวมีสุข” ประจำปี 2563 (Happy Family Award 2020)
December 21, 2020
คณะผู้บริหาร ม.มหิดล รับฟังข้อตกลงการปฏิบัติงานของส่วนงาน (PA-Visit) ประจำปีงบประมาณ 2564 สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้
December 22, 2020

คณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.มหิดล ประชุมหารือร่วมกับกรุงเทพมหานคร เตรียมยกร่างแผนพัฒนาเขตส่งเสริมสุขภาพตามเจตนารมณ์กฎบัตรสุขภาพกรุงเทพมหานคร

1608549383862_copy_1024x778

วันที่ 21 ธันวาคม 2563 รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ก้องเขต เหรียญสุวรรณ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.ชะนวนทอง ธนสุกาญจน์ คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมประชุมหารือกับ พลตำรวจเอกอัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายแพทย์วีระพันธ์ ลีธนะกุล ผู้อำนวยการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 13 และ คุณฐาปนา บุณยประวิตร นายกสมาคมการผังเมืองไทย ในฐานะกรรมการและเลขานุการกฎบัตรแห่งชาติ เรื่อง “การเตรียมยกร่างแผนพัฒนาเขตส่งเสริมสุขภาพตามเจตนารมณ์กฎบัตรสุขภาพกรุงเทพมหานคร” ณ ห้องรัตนโกสินทร์ ชั้น 1 ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร

ในโอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ก้องเขต เหรียญสุวรรณ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยมหิดล ให้เกียรติบรรยาย เรื่อง “ระบบส่งเสริมสุขภาพกับการพลิกฟื้นเศรษฐกิจหลังโควิด-19” และ รองศาสตราจารย์ ดร.ชะนวนทอง ธนสุกาญจน์ คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้นำเสนอข้อมูลด้านการพัฒนาระบบส่งเสริมสุขภาพชุมชนในพื้นที่ต้นแบบราชเทวี-พญาไท

การประชุมครั้งนี้ ได้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 เพื่อผลักดัน “โครงการพัฒนาเขตส่งเสริมสุขภาพราชเทวี –พญาไท โครงการเขตเศรษฐกิจสุขภาพวิถีใหม่เพื่อการพลิกฟื้นเศรษฐกิจหลังโควิด-19” โดยคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับความร่วมมือจากสำนักงานกฎบัตรแห่งชาติ ภาคีเครือข่ายย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธี และกรุงเทพมหานคร ในการเตรียมการยกร่างแผนพัฒนาเขตส่งเสริมสุขภาพตามเจตนารมณ์กฎบัตรสุขภาพกรุงเทพมหานคร เขตส่งเสริมสุขภาพราชเทวี-พญาไท ให้เป็นพื้นที่ต้นแบบของกรุงเทพมหานคร เพื่อสร้างสุขภาพระดับบุคคล ครัวเรือน และระดับชุมชนให้มีความสมบูรณ์ เน้นการสร้างเสริมสุขภาพมากกว่าการรักษาพยาบาล สร้างองค์ความรู้ด้านอาหาร ส่งเสริมการออกกำลังกายหรือกิจกรรมทางกาย พัฒนาระบบกายภาพที่เอื้ออำนวยในการเดิน โดยการปรับปรุงกายภาพทางเดิน การลดความเร็วรถยนต์ส่วนบุคคล และการส่งเสริมการพัฒนาระบบขนส่งมวลชน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนของกรุงเทพมหานคร โดยใช้ยุทธศาสตร์การส่งเสริมสุขภาพให้บรรลุตามวัตถุประสงค์