มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมแถลงข่าวและพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมดำเนินการวิจัยโครงการนักวิจัยแกนนำ ประจำปี 2563

มหาวิทยาลัยมหิดล เข้ารับประทานพระบรมสารีริกธาตุ เพื่ออัญเชิญประดิษฐานในพระเกศของพระพุทธมหิดลมงคลปัญญาญาณ
December 7, 2020
มหาวิทยาลัยมหิดล และ University of Southern Queensland เครือรัฐออสเตรเลีย ร่วมหารือเพื่อแลกเปลี่ยนงานวิจัยด้านสาธารณสุข
December 7, 2020

มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมแถลงข่าวและพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมดำเนินการวิจัยโครงการนักวิจัยแกนนำ ประจำปี 2563

S__47767579

วันที่ 7 ธันวาคม 2563 ศาสตราจารย์ นายแพทย์วชิร คชการ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและวิชาการ พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์พงศกร ตันติลีปิกร ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิจัยและวิชาการ และ ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์ประเสริฐ เอื้อวรากุล รองคณบดีฝ่ายวิจัย คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมงานแถลงข่าว และลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมดำเนินการวิจัยโครงการนักวิจัยแกนนำ ประจำปี 2563 โดยมี ศาสตราจารย์ นายแพทย์ประสิทธิ์ ผลิตผลการพิมพ์ รักษาการในตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ และเลขานุการคณะกรรมการด้านการส่งเสริมกลุ่มนักวิจัยแกนนำ เป็นประธานในพิธี และกล่าวรายงานความเป็นมาของโครงการ ณ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กรุงเทพมหานคร

ในโอกาสนี้ ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์ประเสริฐ เอื้อวรากุล รองคณบดีฝ่ายวิจัย คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการพิจารณาการสนับสนุนการดำเนินโครงการวิจัย เป็นนักวิจัยแกนนำ ประจำปี 2563 จากการวิจัย เรื่อง “ยาต้านไวรัสออกฤทธิ์กว้าง การเตรียมพร้อมต่อโรคติดเชื้ออุบัติใหม่” ซึ่งยาต้านไวรัสที่ออกฤทธิ์กว้างนั้น เป็นความหวังสำคัญที่ประเทศไทย จะสามารถรับมือกับการเกิดโรคติดเชื้อไวรัสอุบัติใหม่ ได้ดียิ่งขึ้นในอนาคต

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) มุ่งส่งเสริม สนับสนุน วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อเสริมสร้างความเชี่ยวชาญและขีดความสามารถด้านการวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม จึงได้จัดตั้ง “โครงการนักวิจัยแกนนำ” ขึ้น เพื่อสนับสนุนกลุ่มนักวิจัยที่มีศักยภาพสูง ให้สร้างสรรค์ผลงานวิจัยที่เป็นเลิศทางวิชาการอย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงให้เกิดกลุ่มวิจัยที่เข้มแข็ง และมีการทำงานเป็นทีม มีการพัฒนานักวิจัยอย่างต่อเนื่อง และเชื่อมโยงตั้งแต่ระดับนักศึกษาจนถึงระดับนักวิจัยอาวุโส เกิดการสร้างสรรค์งานวิจัยใหม่ หรือต่อยอดจากความรู้ ความเชี่ยวชาญที่มีอยู่ โดยสอดคล้องกับความจำเป็นและความต้องการของประเทศ ได้ผลงานวิจัยคุณภาพสูงที่มีผลกระทบในเชิงวิชาการ เศรษฐกิจ และสังคม สร้างการมีส่วนร่วมและเชื่อมโยงระหว่างภาคความรู้ ภาคการผลิตและบริการ ภาคสังคม รวมถึง การผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนา ที่จะเป็นฐานพลังในการเปลี่ยนแปลงและขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศต่อไป