สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล จัดประชุมวิชาการระดับชาติประจำปี 2565 “โควิด-19 : การฟื้นตัวและโอกาสของประชากรและสังคม”

มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมประชุมคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG Model สาขาเครื่องมือแพทย์ ครั้งที่ 2/2565
July 1, 2022
วิทยาลัยนานาชาติ ม.มหิดล ต้อนรับคณะเยี่ยมชมจากโรงเรียนนานาชาติไทย-สิงคโปร์
July 1, 2022

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล จัดประชุมวิชาการระดับชาติประจำปี 2565 “โควิด-19 : การฟื้นตัวและโอกาสของประชากรและสังคม”

วันที่ 1 กรกฎาคม 2565 ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการระดับชาติ ประจำปี 2565 ภายใต้หัวข้อเรื่อง “โควิด-19 : การฟื้นตัวและโอกาสของประชากรและสังคม” (COVID-19 : Resilience and Opportunity of Population and Society) ทั้งนี้ มีนักวิชาการ นักวิจัย นักศึกษา ผู้แทนภาคประชาสังคมและหน่วยงานกำหนดนโยบายในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยด้านประชากรและสังคม เข้าร่วมประชุมกว่า 350 คน ณ อาคารประชาสังคมอุดมพัฒน์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ในรูปแบบ hybrid conference

กิจกรรมภายในงาน มีเวทีเสวนา โดยวิทยากรรับเชิญซึ่งเป็นผู้แทนหน่วยงานการวิจัยระดับชาติ ในหัวข้อ “จุดเน้นการวิจัยด้านประชากรและสังคมหลังโควิด-19” ประกอบด้วย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ดร.ประกาศิต กายะสิทธิ์ รองผู้จัดการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ดร.ภูมิศรัณย์ ทองเลี่ยมนาค รักษาการผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.แพร ศิริศักดิ์ดำเกิง สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) โดยในเวทีเป็นการเสวนาแลกเปลี่ยนมุมมอง และความคิดเห็นต่อ “ทิศทาง” “จุดเน้น” หรือ “ประเด็น” งานวิจัยด้านประชากร สังคมและสุขภาพ ที่ควรให้ความสำคัญ มีความจำเป็นและน่าสนใจสำหรับสังคมไทย ในระยะต่อจากนี้ที่โควิด-19 กำลังจะกลายเป็นโรคประจำถิ่น หลังจากนั้น เป็นการนำเสนอผลงานวิจัยโดยคณาจารย์และนักวิจัยของสถาบันฯ จำนวน 6 หัวข้อจาก 6 กลุ่มงานวิจัย ได้แก่ เรื่อง “ผลกระทบจากโควิด-19 ต่อการเปลี่ยนแปลงทางประชากรและสังคมไทย” “มิติเพศ: มุมมองจากงานวิจัยในช่วงสถานการณ์โควิด-19” “ความเป็นธรรมกับสังคมสูงวัยไทยในยุคโควิด-19” “นโยบายการย้ายถิ่นเพื่อทดแทนประชากร”(replacement migration) “กิน อยู่ ขยับร่างกาย: ชีวิตวิถีใหม่ในยุคโควิด-19″ และ”การปรับตัวในระเบียบวิธีวิจัยด้านสังคมศาสตร์ในยุคโควิด-19”