สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย ม.มหิดล จัดการประชุมเสวนาเนื่องในวันภาษาแม่สากล ครั้งที่ 10 หัวข้อ “พลังเครือข่ายภาษาแม่: รุ่นเล็ก รุ่นใหญ่ จะรุ่นไหนก็รัก(ษ์)ภาษา”

มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมการประชุมสามัญที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) และการประชุมสามัญสมาคมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 1/2565
February 20, 2022
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ม.มหิดล ร่วมประชุมหารือทางวิชาการ กับเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐฝรั่งเศสประจำประเทศไทย
February 21, 2022

สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย ม.มหิดล จัดการประชุมเสวนาเนื่องในวันภาษาแม่สากล ครั้งที่ 10 หัวข้อ “พลังเครือข่ายภาษาแม่: รุ่นเล็ก รุ่นใหญ่ จะรุ่นไหนก็รัก(ษ์)ภาษา”

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2565 รองศาสตราจารย์ ดร.นภเรณู สัจจรักษ์ ธีระฐิติ รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานกล่าวเปิด การประชุมเสวนาเนื่องในวันภาษาแม่สากล ครั้งที่ 10 หัวข้อ “พลังเครือข่ายภาษาแม่: รุ่นเล็ก รุ่นใหญ่ จะรุ่นไหนก็รัก(ษ์)ภาษา” โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.มรกต ไมยเออร์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวรายงาน ผ่านระบบออนไลน์

จากนั้น เป็นการเสวนา เรื่อง “การขับเคลื่อนงานและสร้างเครือข่ายความยั่งยืนภาษาแม่สู่เป้าหมายชาติและนานาชาติ” โดยมี ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.สุวิไล เปรมศรีรัตน์ ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษา ศูนย์ศึกษาและฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรมในภาวะวิกฤต สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เกสรี ลัดเลีย รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิวภรณ์ สองแสน ผู้อำนวยการสถาบันการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ดร.รังสรรค์ วิบูลย์อุปถัมภ์ เจ้าหน้าที่การศึกษา องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เคิร์ก เพอร์สัน Senior Literacy and Education Consultant ผู้แทนจาก SIL International ร่วมเสวนา ดำเนินรายการโดย ดร.มิรินด้า บูรรุ่งโรจน์ ประธานศูนย์ศึกษาและฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรมในภาวะวิกฤต สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล

สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดกิจกรรมเนื่องใน “วันภาษาแม่สากล” หรือ International Mother Language Day (IMLD) เป็นวันที่องค์การ UNESCO กำหนดให้ตรงกับวันที่ 21 กุมภาพันธ์ของทุกปี โดยศูนย์ศึกษาและฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรมในภาวะวิกฤต จัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 10 ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการทำงานอย่างต่อเนื่องในระยะยาว จึงนำมาสู่แนวคิดการจัดงานที่เชื่อมโยงระหว่างกลุ่มผู้ที่ทำงานด้านการพัฒนาและฟื้นฟูภาษาในรุ่นบุกเบิก มาสู่กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีการดำเนินงานเพื่อการอนุรักษ์ฟื้นฟูและพัฒนาภาษาในรูปแบบใหม่ๆ เพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์งานพัฒนาและฟื้นฟูภาษาแม่และภาษาชาติพันธุ์ผ่านการทำงานวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับภาคีเครือข่ายเยาวชนที่ขับเคลื่อนงานภาษาแม่/ภาษาท้องถิ่น และเครือข่ายอุดมศึกษาในประเทศ รวมทั้ง องค์กรนานาชาติที่ร่วมกันขับเคลื่อนงานพัฒนาภาษาแม่และภาษาชาติพันธุ์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ