สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย ม.มหิด จัดเสวนา “เพลง บทกวี วิถีแห่งการสืบสานภาษาแม่” เนื่องในวันกวีนิพนธ์โลก ภายใต้ชุดการเสวนาวันภาษาแม่ และ ทศวรรษสากลของภาษาพื้นเมือง (International Decade of Indigenous Languages)

สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ม.มหิดล ร่วมกับ ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ม.มหิดล จัดกิจกรรม “MU Safe School Virtual Workshop 10”
March 19, 2022
คณะกายภาพบำบัด ม.มหิดล เข้าร่วมงานไทยแลนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล เฮลท์ เอ็กซ์โป 2022 (Thailand International Health Expo 2022)
March 21, 2022

สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย ม.มหิด จัดเสวนา “เพลง บทกวี วิถีแห่งการสืบสานภาษาแม่” เนื่องในวันกวีนิพนธ์โลก ภายใต้ชุดการเสวนาวันภาษาแม่ และ ทศวรรษสากลของภาษาพื้นเมือง (International Decade of Indigenous Languages)

วันที่ 21 มีนาคม 2565 รองศาสตราจารย์ ดร.มรกต ไมยเออร์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานเปิดงานเสวนา “เพลง บทกวี วิถีแห่งการสืบสานภาษาแม่” เนื่องในวันกวีนิพนธ์โลก ภายใต้ชุดการเสวนาวันภาษาแม่ และ ทศวรรษสากลของภาษาพื้นเมือง (International Decade of Indigenous Languages) โดยมี ดร.มิรินด้า บูรรุ่งโรจน์ ประธานศูนย์ศึกษาและฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรม
ในภาวะวิกฤต สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวรายงาน ผ่านระบบออนไลน์

จากนั้น เป็นการเสวนาหัวข้อ “เพลง บทกวี วิถีแห่งการสืบสานภาษาแม่” โดยมี นายประพันธ์ จันทร์ยวง นางจันทร์ฉาย มหาศักดิ์สิทธิ์ เจ้าของภาษาเลอเวือะ จังหวัดแม่ฮ่องสอน นายนาวาวี กาโฮง เจ้าของภาษามลายูปาตานี จังหวัดปัตตานี นายนิกร กล่อมดวงใจ นายประหยัด เสือชูชีพ เจ้าของภาษาปกาเกอะญอ จังหวัดตาก นางสาวจวง ก้อนกั้น เจ้าของภาษาแสก จังหวัดนครพนม  นางสาววริสรา ทะเลลึก  นายพีรวิชญ์ ทะเลลึก เจ้าของภาษาอูรักลาโวยจ จังหวัดกระบี่ ร่วมเสวนา ดำเนินรายการ โดย คุณอัจฉราภรณ์ ถาวรพัฒน์ นักวิจัยประจำศูนย์ศึกษาและฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรมในภาวะวิกฤต

การเสวนาครั้งนี้ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับภาคีเครือข่าย จัดกิจกรรมเนื่องใน “วันกวีนิพนธ์โลก” หรือ “World Poetry Day” ซึ่งตรงกับวันที่ 21 มีนาคมของทุกปี ทั้งนี้ เพื่อนำเสนอมุมมองใหม่ในการอนุรักษ์ภาษาท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอนุรักษ์ภาษาด้วยบทกวีนิพนธ์และบทเพลง ซึ่งก่อให้เกิดการตระหนักรู้ถึงคุณค่า ความสำคัญของบทกวีนิพนธ์ และบทเพลงภาษาท้องถิ่น ในด้านการถ่ายทอดวิถีชีวิตและระบบคิด รวมถึงศิลปะแห่งการใช้ภาษาในบทกวีและบทเพลงท้องถิ่นอันเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่สำคัญของมนุษยชาติ