สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ม.มหิดล จัดงานแถลงข่าวในประเด็น “ลืมเด็กจนตายในรถ / เด็กตายเพราะไม่ได้ใช้คาร์ซีท”

สถาบันวิทยาศาสตร์การวิเคราะห์และตรวจสารในการกีฬา ม.มหิดล รับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาระดับส่วนงานตามเกณฑ์ EdPEx ประจำปี 2565
September 16, 2022
ศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ ม.มหิดล ร่วมสัมมนาประจำปี Thailand OECD GLP Preclinical Testing Network
September 16, 2022

สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ม.มหิดล จัดงานแถลงข่าวในประเด็น “ลืมเด็กจนตายในรถ / เด็กตายเพราะไม่ได้ใช้คาร์ซีท”

วันที่ 16 กันยายน 2565 รองศาสตราจารย์ นายแพทย์อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย นายประจวบ ผลิตผลการพิมพ์ เจ้าหน้าที่บริหารงานสื่อสาธารณะและเจ้าหน้าที่วิจัยด้านการพิเคราะห์เหตุการณ์ตายในเด็ก และทีมพิเคราะห์การตายในเด็ก ร่วมการแถลงข่าวในประเด็น “ลืมเด็กจนตายในรถ / เด็กตายเพราะไม่ได้ใช้คาร์ซีท” ผ่านกระบวนการพิเคราะห์การตายในเด็กและกรณีศึกษาที่เกิดขึ้นจริง ณ ห้องสตูดิโอ 1308 ชั้น 3 สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

รองศาสตราจารย์ นายแพทย์อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ กล่าวว่า ปัจจุบันกฎหมายบังคับผู้ขับและผู้นั่งข้างให้รัดเข็มขัดนิรภัย แต่ทำไมไม่มีกฎหมายป้องกันผู้โดยสารเด็กที่อายุน้อยกว่า 6 ปี ให้ห้ามนั่งเบาะหน้า และจะต้องนั่งคาร์ซีทที่เบาะหลัง ทั้ง ๆ ที่เด็กนั่งเบาะหน้า มีความเสี่ยงเสียชีวิตมากกว่าเบาะหลังถึง 2 เท่า หนำซ้ำยังไม่เคยห้ามให้เด็กคาดเข็มขัดนิรภัย ทั้ง ๆ ที่เมื่อคาดแล้ว สายรัดจะเลื่อนขึ้นอยู่ระหว่างลูกตาหรือลอยจากเอวมาที่ช่องท้อง ทำให้เด็กตกอยู่ในภาวะไม่ปลอดภัย เมื่อเกิดอุบัติเหตุรถชนแล้วพบว่าเด็กม้ามแตกได้ โดยข้อมูลจากราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ เผยสถิติการเกิดอุบัติเหตุในรถยนต์ทำให้เด็กเสียชีวิต ปีละกว่า 140 ราย จึงไม่มีเหตุผลที่เราจะต้องยืดเวลาบังคับใช้กฎหมายให้เนิ่นนานออกไปกว่า 120 วัน

ดังนั้น ก่อนกฎหมายที่ผลบังคับใช้ ไม่ใช่ประชาชนเท่านั้นที่ต้องเตรียมหาอุปกรณ์ และเพิ่มความรับรู้ของประโยชน์และความปลอดภัยของการใช้ที่นั่งนิรภัย แต่รัฐ องค์กร ประชาสังคม ชุมชน หน่วยงานบริการสุขภาพเด็กต้องมีมาตรการช่วยเหลือให้ประชาชนได้เข้าถึงที่นั่งนิรภัยด้วย คือ

1.ให้ความรู้ประชาชนอย่างทั่วถึง
2.สนับสนุนการซื้อ เพราะข้อมูลชี้ชัดว่าการลดอุบัติเหตุของเด็ก ก็จะช่วยลดค่าใช้จ่ายของรัฐที่ต้องดูแลคนพิการใน 10-20 ปีข้างหน้าได้ ฉะนั้นเป็นการลงทุนมีความคุ้มทุนเพื่อลดการสูญเสีย บริษัทต่าง ๆ มีการลด แลก แจก แถม กระตุ้นการซื้อขาย
3.รัฐจัดหาโครงการกระตุ้นการใช้ในทารกแรกเกิด เพื่อเดินทางกลับบ้านให้ทุกโรงพยาบาลมีคาร์ซีทหมุนเวียนให้พ่อแม่ยืมใช้ โรงเรียนอนุบาล ศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยมีคาร์ซีทหมุนเวียนให้พ่อแม่ยืมใช้
4.บริษัท พนักงานราชการ องค์กร และชุมชนต้องเห็นความสำคัญ หาผลิตภัณฑ์ราคาถูกลงเพื่อทำคลังยืมคืน เนื่องจากที่นิรภัยเป็นสินค้าต้องใช้ตามอายุ หากไม่เกิดอุบัติเหตุรุนแรง ก็สามารถนำมาเวียนใช้ได้

ครอบครัวต้องปรับเปลี่ยนทัศคติ ร่วมกันเรียกร้องให้หน่วยงานเกี่ยวข้องสนับสนุนการเข้าถึงที่นั่งนิรภัย แทนที่การทำให้เลื่อนออกไป ลองคิดดูว่าผู้ขับและผู้นั่งข้างได้คาดเข็มขัดนิรภัย แต่ลูกท่านไม่ได้คาดหรือคาดแล้วก็ไม่พอดี ท่านจะยอมคาดเข็มขัดในขณะที่ลูกไม่มีระบบยึดเหนี่ยวอย่างไร ?

จากหลายกรณีที่เกิดขึ้นนี้ หลายคนคงเข้าใจว่าเหตุที่เด็กเสียชีวิตก็เนื่องจาก เด็กติดอยู่ในรถ ที่ประตูและหน้าต่างปิดสนิท เป็นเวลานานแล้วขาดอากาศหายใจ แต่ในความเป็นจริง คือ
1.แม้จะติดค้างอยู่ในรถ ก็ยังอยู่ได้นาน แต่ที่เด็กต้องตายก็เพราะความร้อนภายในรถที่สูงขึ้น (เพียง 5 นาที อุณหภูมิในรถจะเพิ่มสูงขึ้นจนไม่สามารถอยู่ในรถได้) หากอยู่ในรถผ่านไป 10 นาที ร่างกายจะย่ำแย่ และภายใน 30 นาทีก็จะถึงขั้นเสียชีวิต
2.ปกติแล้วร่างกายจะรักษาอุณหภูมิร่างกายไว้ที่ 37 องศาเซลเซียส เมื่อต้องติดอยู่ในรถที่ความร้อนสูงขึ้น ช่วงใหม่ ๆ ร่างกายจะขับความร้อนออกมาในรูปแบบของเหงื่อ แต่เมื่อถึงจุด ๆ หนึ่งร่างกายจะทนไม่ไหว ทำให้ร่างกายหยุดทำงาน เกิดภาวะเลือดเป็นกรด หยุดหายใจและอวัยวะทุกอย่างหยุดทำงาน หากพบเจอเด็กที่ติดในรถได้เร็วจะเจอในสภาพที่เด็กตัวแดง แต่หากนานเด็กจะตัวซีดและเสียชีวิตได้
3.ดังนั้นจึงห้ามทิ้งลูกไว้ในรถที่จอดกลางแจ้งเป็นอันขาด (ไม่ว่าจะลืมหรือไม่ ) แม้จะอยากจะลงไปธุระนอกรถเร็วหรือช้าก็ห้ามเด็ดขาด หากพ่อแม่หรือผู้ใหญ่ที่มากับเด็กต้องลงจากรถต้องนำเด็กลงไปด้วยทุกครั้ง
4.แม้แต่ จะขอเปิดหน้าต่าง เหลือช่องไว้แล้วให้เด็กอยู่ภายใน ด้วยเข้าใจเองว่า การกระทำเช่นนี้เด็กจะปลอดภัย จากการขาดอากาศหายใจ แต่อย่างที่บอกไว้ข้างต้นละครับว่า อย่าได้แต่ห่วงอย่างเดียวว่า เด็กจะขาดอากาศหายใจ แต่จะต้องห่วงใยให้มาก ๆ กับกรณีที่เด็กเสียชีวิตจากความร้อนสูง
5.การเปิดแง้มหน้าต่างรถทิ้งไว้ก็ไม่ได้เป็นการรับประกันว่า ความร้อนภายในรถจะไม่สูงขึ้นและช่วยให้เด็กปลอดภัยได้ หรือ แม้แต่การรถจอดในที่ร่ม ก็ใช้ว่าเด็กจะปลอดภัยไร้กังวล เพราะความร้อนก็ขึ้นสูงขึ้น จนเด็กเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้เช่นกัน (แม้อาจจะใช้เวลานานกว่ารถที่จอดกลางแจ้ง)