ผู้บริหาร ม.มหิดล บรรยายในงานประชุมระดับชาติ เรื่อง “การดื้อยาต้านจุลชีพ ครั้งที่ 3”

สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย ม.มหิดล จัดงานเสวนาเนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก หัวข้อ “การฟื้นฟูภาษาแม่และพฤกษศาสตร์ชาติพันธุ์”
June 27, 2022
สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย ม.มหิดล ร่วมกับสำนักงานเขตสุขภาพที่ 10 กระทรวงสาธารณสุข จัดการอบรมหลักสูตร Smart Leadership for the 21St Century
June 27, 2022

ผู้บริหาร ม.มหิดล บรรยายในงานประชุมระดับชาติ เรื่อง “การดื้อยาต้านจุลชีพ ครั้งที่ 3”

วันที่ 27 มิถุนายน 2565 ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ภัทรชัย กีรติสิน รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมประชุมระดับชาติ เรื่อง “การดื้อยาต้านจุลชีพ” ครั้งที่ 3 (Third Nation Forum on AMR) พร้อมนำเสนอสถานการณ์การดื้อยาต้านจุลชีพระดับประเทศ ในหัวข้อ “การเฝ้าระวังและการศึกษาลักษณะทางโมเลกุลของเชื้อแบคทีเรียแกรมลบที่ดื้อยาต้านจุลชีพ” โดยได้รับเกียรติจาก นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุม นายแพทย์ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของการจัดงาน ณ โรงแรม แกรนด์ ริชมอนด์ สไตลิช คอนเวนชั่น โฮเทล

ภายในงาน มีการนำเสนอสถานการณ์การดื้อยาต้านจุลชีพระดับประเทศ ในหัวข้อต่าง ๆ จากผู้บริหารส่วนงาน ผู้เชี่ยวชาญ จากมหาวิทยาลัยมหิดล และสถาบันการศึกษา อาทิ หัวข้อ “สถานการณ์การบริโภคยาต้านจุลชีพในสัตว์เลี้ยง” โดย รองศาสตราจารย์ ดร. สัตวแพทย์หญิงวลาสินี ศักดิ์คำดวง คณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล หัวข้อ “การดื้อยาต้านจุลชีพในมุมมองนักสังคมศาสตร์” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ลือชัย ศรีเงินยวง ผู้อำนวยการศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล หัวข้อ “การเกิดและการแพร่กระจายของการดื้อยาต้านจุลชีพในคน สัตว์ อาหาร และสิ่งแวดล้อม และภาระโรคติดเชื้อดื้อยา” โดย ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิษณุ ธรรมลิขิตกุล หัวหน้าหน่วยวิจัยคลินิก สถานส่งเสริมการวิจัย คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล และหัวข้อ “Mahidol – Oxford Tropical Medicine Research Unit” โดย รองศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ดิเรก ลิ้มมธุรสกุล Prof.Phaik Yeong Cheah หน่วยวิจัยและโรคเขตร้อนมหิดล – อ๊อกฟอร์ด (MORU) คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล

การประชุมระดับชาติ เรื่อง “การดื้อยาต้านจุลชีพ” ครั้งที่ 3 (Third Nation Forum on AMR) จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และภาคีเครือข่าย ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา สมาคมและองค์กรวิชาชีพ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 27 – 28 มิถุนายน 2565 เพื่อส่งเสริม และสร้างความเข้มแข็งของความร่วมมือ ระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ในการแก้ไขปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพ ภายใต้แนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว เป็นการสรุปผลการดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย พ.ศ.2560 – 2565 และการแลกเปลี่ยนข้อมูลวิชาการ เพื่อนำมาใช้ในภาคนโยบาย การขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการแห่งชาติด้านการดื้อยาต้านจุลชีพ พ.ศ.2566 – 2570 อีกทั้ง เป็นเวทีในการนำเสนอข้อมูล สถานการณ์การดื้อยาต้านจุลชีพ ทั้งในระดับโลก ภูมิภาค และระดับประเทศ