คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ 6/2564 ของวิทยาลัยดุริยางคศิลป์

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานเสวนาพิเศษ Science Café COVID-19 vol.2 “Current COVID-19 situation in Thailand, vaccine and its development”
June 10, 2021
มหาวิทยาลัยมหิดลจัดประชุมกลุ่มเครือข่ายผู้บริหารด้านพัฒนาคุณภาพระดับส่วนงาน
June 11, 2021

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ 6/2564 ของวิทยาลัยดุริยางคศิลป์

Council Visit - MS14

วันที่ 11 มิถุนายน 2564 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ 6/2564 ของวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ 2564 – 2565 และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินการที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี  ดร. ณรงค์ ปรางค์เจริญ คณบดีวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ พร้อมด้วยผู้บริหารวิทยาลัย เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น ผ่านการประชุมออนไลน์

การดําเนินงานตามเป้าหมายที่ผ่านมาและคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต

  1. หลักสูตรทุกหลักสูตรได้รับการรับรองตามมาตรฐานสากล
  2. พัฒนา City of Music เพื่อเสนอเข้าเป็น Creative Cities ตามหลักเกณฑ์ขององค์การยูเนสโก (UNESCO)
  3. ส่งเสริมนวัตกรรม ดนตรีบำบัด และอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ดนตรี
  4. The International Benchmarking Exercise (IBE) ซึ่งดำเนินงานร่วมกับสถาบันดนตรีแนวหน้าระดับนานาชาติ

เป้าหมายที่จะดำเนินการเพิ่มเติมในอีก 2 ปีข้างหน้า

  1. พัฒนาวิทยาลัยสู่อันดับ Top 50 ของมหาวิทยาลัยโลก ในสาขา Performing Arts จัดอันดับโดย QS World University Subject Rankings
  2. โครงการพัฒนา Mahidol Music Connection

ทั้งนี้ ทางสภามหาวิทยาลัยมหิดล ได้ชื่นชมวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ที่สามารถสร้างเครือข่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยจะเห็นได้ว่าวิทยาลัยฯ ได้รับการจัดอันดับทางด้าน Performing Arts อยู่ในอันดับที่ 51-100 ของโลก (QS World University Ranking by Subject 2021)  พร้อมทั้ง เสนอการผลักดันดนตรีไทยไปสู่ระดับนานาชาติ และเปิดโอกาสการเข้าถึงดนตรีไทยผ่านการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์ และการเปิดสอนหลักสูตรให้นักศึกษาไทยและต่างชาติสามารถเก็บหน่วยกิต เพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา นอกจากนี้ การที่วิทยาลัยฯ มีผลงานลิขสิทธิ์จำนวนมาก สามารถนำผลงานดังกล่าวมาสร้างรายได้เพื่อให้เกิดความยั่งยืนแก่วิทยาลัยฯ และเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทางสภาฯ แนะให้วิทยาลัยฯ กำหนดแนวทางและเป้าหมายการดำเนินงานที่สอดคล้องกับ SDGs ให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

ขอบคุณภาพประกอบข่าว (เพิ่มเติม) จากวิทยาลัยดุริยางคศิลป์