มหาวิทยาลัยมหิดล ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ร่วมกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ของประเทศ

มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมการประชุมสามัญที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) และการประชุมใหญ่สามัญสมาคมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 3/2564
June 20, 2021
มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมงานสัมมนา “THE LITTLE BOOK OF GREEN NUDGES” ในหัวข้อ CONSUMPTION AND RYCYCLING
June 21, 2021

มหาวิทยาลัยมหิดล ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ร่วมกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ของประเทศ

1_1

วันที่ 21 มิถุนายน 2564 ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม  เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดล กับ สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย วิทยสถานสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมแห่งประเทศไทย (ธัชชา) และเครือข่ายมหาวิทยาลัยและหน่วยงานร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ จำนวน 37 แห่ง  โดยมี ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล  และ ศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์  ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นผู้ลงนาม ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 อาคารพระจอมเกล้าสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา และผ่านระบบออนไลน์

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า เป้าหมายและทิศทางร่วมกันใน 10  ปี ข้างหน้าของประเทศไทย จะพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้อยู่ในระดับแนวหน้าของเอเชีย โดยเฉพาะเอเชียอาคเนย์ การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเชิงวิชาการด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ จะต้องมีความสอดคล้องกับแนวโน้มของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป และมีการบูรณาการองค์ความรู้แบบสหวิทยาการ ทั้งมูลค่าและคุณค่าของงานด้านวัฒนธรรมที่มีความหมายมากกว่าศิลปะ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอารยธรรม โดยมีแผนยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

บันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อการขับเคลื่อนการพัฒนาทางด้านสังคมศาสตร์มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ เพื่อนำไปสู่การสร้างศิลปวัฒนธรรม ทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งแนวคิดดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2563 โดยสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง จึงได้มีการจัดตั้งหน่วยงานวิทยสถานสังคมสงเคราะห์ มนุษยศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์ หรือธัชชาจัดตั้งอยู่ สำนักงาน ชั้น 20 อาคารอุดมศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2564 โดยกำหนดการพัฒนา แบ่งเป็น 5 สถาบัน ได้แก่ 1. สถาบันสุวรรณภูมิศึกษา 2. สถาบันเศรษฐกิจพอเพียง 3. สถาบันโลกคดีศึกษา 4. สถาบันพิพิธภัณฑ์และศิลปกรรมแห่งชาติ 5. สถาบันช่างศิลป์พื้นถิ่น โดยได้รับความอนุเคราะห์จากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้และมีประสบการณ์ ตลอดจนมีเครือข่ายที่กว้างขวาง ในการขับเคลื่อนในความมุ่งมั่นของหน่วยงานต่าง ทางด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ของประเทศไทย นำไปสู่การสร้างคุณค่าและผลประโยชน์ของชาติ เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน ผ่านการเชื่อมโยงแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนาประเทศไทยอย่างยั่งยืน