คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดการประชุมระดมสมองลดฝุ่น PM2.5

มหาวิทยาลัยมหิดล จัดบรรยายพิเศษ เรื่อง “โอกาส ความท้าทาย และทัศนะ ด้านการศึกษาต่อประชาคมอาเซียน”
October 1, 2021
ศูนย์บริหารความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (COSHEM) ม.มหิดล จัดโครงการอบรม “การยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวกับสารเคมี ภายใต้โครงการมหาวิทยาลัยแม่ข่ายด้านมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ ปี 2564”
October 5, 2021

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดการประชุมระดมสมองลดฝุ่น PM2.5

เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2564 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ตระการ ประภัสพงษา ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดการประชุมระดมสมอง เรื่อง “การประเมินแนวทางการลดฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) และผลกระทบต่อสุขภาพจากภาคการขนส่งทางถนนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ภายใต้ทุนอุดหนุนโครงการขับเคลื่อนนโยบายชี้นำสังคม ประจำปีงบประมาณ 2563 กองแผนงาน มหาวิทยาลัยมหิดล โดยงานประชุมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะนำเสนอผลกระทบต่อสุขภาพของฝุ่นละอองขนาดเล็กจากภาคการขนส่งทางถนนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ระดมความคิดเห็นและขอข้อเสนอแนะการประยุกต์ใช้แนวทางการลดฝุ่นในทางปฏิบัติเพื่อลดปัญหา PM2.5 และเสริมสร้างความตระหนักรู้ถึงความเสี่ยงต่อสุขภาพจากปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กจากภาคขนส่งทางถนนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ในงานนี้มีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด 75 ท่าน จากกรมควบคุมมลพิษ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กรมอนามัย กรมการขนส่งทางบก กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร สำนักสิ่งแวดล้อมกรุงเทพมหานคร องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ กองบังคับการตำรวจจราจร สมาคมขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ไทย สถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย สมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย สมาคมยานยนต์ไฟฟ้า สมาคมขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย สหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย สมาพันธ์ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทย สมาพันธ์โลจิสติกส์ไทย สมาคมผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ศูนย์วิชาการเพื่อขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษอากาศ (ศวอ.) สมาคมวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย ศูนย์เครือข่ายการจัดการคุณภาพอากาศของประเทศไทย และสถาบันการศึกษาต่างๆในประเทศไทย

ผลที่ได้จากการประชุมในครั้งนี้ จะเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนารายงานข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่จะดำเนินการจัดทำ เผยแพร่และรับฟังความคิดเห็นในอนาคต โดยผลการศึกษานี้มุ่งเป้าที่จะเป็นอีกหนึ่งแรงผลักดันสำคัญในการส่งเสริมการขับเคลื่อนแนวทางการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 ในทางปฏิบัติจริงในอนาคต