ม.มหิดล ร่วมประชุมการพัฒนาและขับเคลื่อนย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธี ครั้งที่ 2/2564

ม.มหิดล ร่วมประชุมกับรัฐมนตรี กระทรวง อว. หารือติดตามเฝ้าระวังการแพร่ระบาด COVID-19
April 30, 2021
มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมงาน Osaka University Partner Summit
April 30, 2021

ม.มหิดล ร่วมประชุมการพัฒนาและขับเคลื่อนย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธี ครั้งที่ 2/2564

อธิการบดี

วันที่ 30 เมษายน 2564 ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมการประชุมการพัฒนาและขับเคลื่อนย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธี ครั้งที่ 2/2564 พร้อมด้วยผู้บริหาร มหาวิทยาลัยมหิดล และผู้บริหารส่วนงาน ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์พงศกร ตันติลีปิกร รักษาการแทน ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิจัยและวิชาการ  รองศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์ ทันตแพทย์ศิริชัย เกียรติถาวรเจริญ คณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ศาสตราจารย์ ดร.ทันตแพทย์หญิงวรานันท์ บัวจีบ ที่ปรึกษาคณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์ ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงพรรณี ปิติสุทธิธรรม หัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์เขตร้อน และหัวหน้าศูนย์วัคซีน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน ศาสตราจารย์วิจัย ดร.เจตสุมน ประจำศรี รองคณบดีฝ่ายวิจัย คณะเวชศาสตร์เขตร้อน และ ศาสตราจารย์ นายแพทย์สุรเดช หงส์อิง คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี โดยมี นายแพทย์สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ ประธานคณะกรรมการพัฒนาและขับเคลื่อนย่านนวัตกรรมสุขภาพโยธี เป็นประธานการประชุม และได้รับเกียรติจาก นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เข้าร่วมประชุม ผ่านระบบออนไลน์

ในโอกาสนี้ ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ร่วมหารือในที่ประชุม ในการใช้ทรัพยากรทางการแพทย์ร่วมกัน (Resource Sharing) ต้องอาศัย 3 หมวดใหญ่ที่สำคัญ ได้แก่ 1. คน 2. ข้อมูล 3. facility ซึ่งแบ่งเป็น 2 แบบ ได้แก่ service facility และ research facility โดยมหาวิทยาลัยมหิดลให้การสนับสนุนด้านข้อมูล การพัฒนาระบบในด้านต่าง ๆ โดยมีผู้ดูแลระบบทางด้านการจัดการข้อมูล (key person) เป็นผู้ประสานงาน เชื่อมโยงไปทุกหน่วยงาน ทั้งนี้ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นหน่วยงานหลักในการประสานงานวิจัย (Resource Sharing) ในด้านเครื่องมือที่มีราคาสูง เป็นสิ่งทุกฝ่ายต้องหารือ และวางระบบร่วมกัน

จากนั้น ศาสตราจารย์ ดร.ทันตแพทย์หญิงวรานันท์ บัวจีบ ที่ปรึกษาคณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์ ได้กล่าวถึงความคืบหน้างานวิจัยยาเพื่อการรักษาแผลในช่องปาก ที่ได้รับการสนับสนุนจาก ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS) ซึ่งคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพดี ซี่งได้ใบกำกับยา และได้รับอนุสิทธิบัตรแล้ว

ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงพรรณี ปิติสุทธิธรรม หัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์เขตร้อน และหัวหน้าศูนย์วัคซีน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน กล่าวถึง ความคืบหน้าในการทำวัคซีนโควิด- 19 ชนิดเชื้อตาย เริ่มวิจัยในมนุษย์ระยะที่ 1/2 โดยความร่วมมือกับองค์การเภสัชกรรม โดยได้รับความร่วมมือจากกลุ่มอาสาสมัครในการรับวัคซีน ทั้งนี้ งานวิจัยดังกล่าวจะพัฒนาเพื่อตรวจหาประสิทธิผลต่อไป