มหาวิทยาลัยมหิดล จัดอบรมเรื่อง “ความสุจริตทางวิชาการ (Academic Integrity)”

วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโครงการศึกษาดูงาน “ธุรกิจและการพัฒนาอย่างยั่งยืน และธุรกิจเพื่อชุมชนโดยฐานราก”
November 9, 2020
นักศึกษาคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับรางวัล Best Oral Presentation จากผลงาน Chest X-ray Image Interpretation Using Deep Learning based Approach
November 9, 2020

มหาวิทยาลัยมหิดล จัดอบรมเรื่อง “ความสุจริตทางวิชาการ (Academic Integrity)”

B9EAD087-6760-46BB-AF51-D6643B11011C

วันที่ 9 พฤศจิกายน 2563  ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง  มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวเปิดการอบรมเรื่อง  “ความสุจริตทางวิชาการ (Academic Integrity)” จากนั้น ศาสตราจารย์ นายแพทย์วันชัย วัฒนศัพท์ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น   บรรยายในหัวข้อ “ธรรมาภิบาลทางวิชาการอย่างสมานฉันท์ในมหาวิทยาลัย (Academic Integrity with RJ. in the University)” ร่วมกับ Professor David Knauft จาก University of Georgia ซึ่งบรรยายในหัวข้อเดียวกัน ผ่านระบบ Webex โดยมี ผู้บริหารมหาวิทยาลัย ผู้บริหารส่วนงาน รวมทั้งบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมการประชุม ณ ห้องกันภัยมหิดล ศูนย์ประชุมมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล

ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง  มไหสวริยะ กล่าวว่า “มหาวิทยาลัยมหิดล นอกจากจะต้องมีความถูกต้องทางวิชาการแล้ว ยังต้องมีความถูกต้องตามหลักจริยธรรม ความสุจริตทางวิชาการก็นับเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งยวดที่นักวิชาการจะต้องคำนึงถึง และพึงปฏิบัติอยู่เสมอ ความสุจริตทางวิชาการนั้น เป็นหลักที่ต้องปฏิบัติในระดับสากล หากมหาวิทยาลัยรวมถึงอาจารย์ นักวิจัยละเลย ก็อาจส่งผลให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อองค์กร หน่วยงาน และตัวนักวิจัยได้   ดังนั้น มหาวิทยาลัยมหิดลจึงต้องสร้างความเข้าใจให้ อาจารย์ นักวิจัย และบุคลากรของมหาวิทยาลัยได้ตระหนักถึงความสำคัญของความสุจริตทางวิชาการ ซึ่งเป็นคุณสมบัติในการปฏิบัติตนบนพื้นฐานคุณธรรม จริยธรรมทางวิชาการ มีความซื่อสัตย์ เคารพ และยอมรับความคิดของผู้อื่น รักษาความชอบธรรมในการแสดงออกทางวิชาการ การเสนอผลงานของตนโดยไม่บิดเบือน พลิกแพลง หรือไม่ลอกเลียนข้อมูลวิชาการของบุคคลอื่นมาทำให้ดูเสมือนเป็นข้อมูลของตน รวมถึงจะต้องมีความรับผิดชอบทางวิชาการด้วย

สำหรับการประชุมครั้งนี้ เพื่อให้อาจารย์ นักวิจัย และบุคลากร มีความรู้ ความเข้าใจ รวมทั้งตระหนักถึงความสำคัญ ทำให้สามารถปฏิบัติงาน และสร้างผลผลิตทางวิชาการให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ความสุจริตทางวิชาการ (Academic Integrity) ได้ต่อไป