วันที่ 1 มิถุนายน 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 2/2566 ของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี ศาสตราจารย์ นายแพทย์ปิยะมิตร ศรีธรา คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารคณะ เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมอรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ ชั้น 5 อาคารศูนย์การแพทย์สิริกิติ์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และผ่านระบบออนไลน์ โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้
1.เป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานได้เสนอไว้ใน University Council Visit ครั้งที่ 2
- โครงการ Wellness Residence Complex ที่ดิน 300 ไร่ & Transportation
- เปิดหลักสูตรร่วม วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาฉุกเฉินการแพทย์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา
- ยื่นสมัครขอรับรางวัล TQC Plus และ TQA
- เปิดอาคารศูนย์การเรียนรู้และวิจัยเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ อาคารเรียน 2 (อาคารปรีคลินิกและศูนย์วิจัย)
- การก่อสร้างอาคารกายวิภาคทางคลินิก
- การก่อสร้างอาคารโรงพยาบาลรามาธิบดีและย่านนวัตกรรมโยธี
2.เป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022
1.Global Health
1.1 Digital Health
- ร่วมการปฏิรูปและสร้างความเข้มแข็งของระบบสุขภาพผลักดันระบบ IT ด้านสาธารณสุข โดยได้ร่วมกำหนด standard data set
- ร่วมพัฒนา Digital Health / Health Information Systems โดยส่งข้อมูลผู้ป่วยเข้าระบบ Health Information Exchange ในรูปแบบ HL7 FHIR เพื่อให้มีระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลผู้ป่วยกับองค์กรภายนอกที่เป็นมาตรฐานกลาง
1.2 Global Health Governance
- ทำงานร่วมกับคณะกรรมการเฉพาะด้านระบบสุขภาพดิจิทัล
- ร่วมคณะกรรมการจัดประชุมวิชาการนานาชาติประจำปีรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล (PMAC) และร่วมประชาสัมพันธ์
- พัฒนา ส่งเสริม และสนับสนุนนักศึกษาผ่านโครงการต้นกล้ารามาธิบดี เพื่อให้ได้นักศึกษาที่เหมาะสมในการขอรับพระราชทุนโครงการเยาวชนรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล
- โครงการสนับสนุนการเชื่อมต่อด้วยเทคโนโลยี Wifi 6E เพื่อยกระดับการบริการและการศึกษาทางการแพทย์
- โครงการ Initiative Coordinated Antidotes Procurement in the South-East Asia Region (iCAPS) เป็นโครงการที่องค์การอนามัยโลก สำนักงานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (WHO SEARO) เสนอให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางยาต้านพิษของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
2.Health & Wellness
2.1 กำหนด Concept ของหลักสูตร Health & Wellness
- จัดทำหลักสูตร double degree : หลักสูตร พ.บ. – กจ.ม. (แพทยศาสตรบัณฑิต – การจัดการมหาบัณฑิต (นานาชาติ))
3.Structure & HR Resource
3.1 การปรับโครงสร้าง
- การจัดตั้งสถาบันราชสุดา (ยุบวิทยาลัยราชสุดา)
- การทบทวนการจัดโครงสร้างบริหารของคณะฯ (ตามวาระคณบดี)
3.2 การบริหารทรัพยากรมนุษย์
- การทบทวนหลักเกณฑ์การบรรจุบุคลากร ในส่วนคะแนนภาษาอังกฤษต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานของเกณฑ์ปัจจุบัน สำหรับตำแหน่งสายวิชาชีพ เช่น พยาบาล เภสัชกร เป็นต้น
- โครงการพัฒนาระบบบริหารและประเมินผลการปฏิบัติงาน การประเมินสมรรถนะ และการวางแผนพัฒนารายบุคคล
- การทบทวนแนวทางการจัดสวัสดิการบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดล
4.Social Enterprise (เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน)
4.1 ดำเนินการโดยเน้นจุดเด่นของวิทยาเขต : ส่งเสริมงานวิจัยด้าน Drug discovery (เวชภัณฑ์ สมุนไพร)
5.แผนโครงการขับเคลื่อน Sustainable Development Goals: SDGs
5.1 Healthy Foods : ผลักดันนโยบายลดเค็ม
5.2 Inclusiveness
- โครงการบริหารยาเคมีบำบัดทางหลอดเลือดดำส่วนกลางที่บ้าน
- ดำเนินการ Home Palliative Care
- RAMA Channel และ 4 ผลักดันผลงานวิชาการสู่นโยบายสาธารณะ
3.โครงการของส่วนงานที่ร่วมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit ของมหาวิทยาลัย
การศึกษา
- โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท กับกระทรวงสาธารณสุข (SDGs 3, 17)
การวิจัย
- โครงการแพลตฟอร์มและเทคโนโลยีเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์เซลล์บำบัด และอุปกรณ์ชีววิศวกรรมการแพทย์แบบผสม (SDGs 3, 9, 17)
- การพัฒนาห้องปฏิบัติการเชิงนโยบาย เพื่อสร้างระบบบริการสุขภาพแบบเน้นคุณค่า สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งในประเทศไทย ร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) (SDGs 3, 9, 17)
- ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ร่วมกำหนดมาตรฐานการตรวจพันธุกรรมและการแปลผล การตรวจยีน BRCA1/ BRCA2 ในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มีความเสี่ยงสูงและญาติสายตรงที่มีประวัติครอบครัวตรวจพบยีนกลายพันธุ์ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (SDGs 3, 9, 17)
- นโยบายชุมชนลดเค็ม (SDGs 3, 9, 17)
บริการวิชาการ และส่งเสริม Community Engagement
- โครงการรามาธิบดีเพื่อโรงพยาบาลชุมชน (SDGs 1, 3, 17)
- โครงการพลังชุมชนต้านภัยมะเร็ง (SDGs 3)
- การพัฒนาด้านเกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ร่วมกับคณะเกษตร ม.เกษตรศาสตร์ (SDGs 2,3,12,17)
- RAMA Channel (SDGs 3, 4)
- โครงการ Cancer Anywhere (SDGs 3)
- โครงการ Happy Healthy Ramathibodi for 2023 (SDGs 2, 3)
- โครงการเครือข่ายมิตรภาพบำบัดรามาธิบดี (SDGs 3, 17)
- โครงการ ปันความรู้ สู่สุขภาพดี (SDGs 3,10, 17)
- โครงการพัฒนาต้นแบบเกมออนไลน์เพื่อส่งเสริมความปลอดภัยและเสริมสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว สำหรับครอบครัวเด็กวัยประถม (SDGs 3,10,17)
- โครงการฟาร์มสร้างสุขรามาธิบดี (SDGs 1, 2, 3, 6, 7, 12, 13, 15, 17)
- โครงการรามาร่วมใจ ลด ละ เลิกบุหรี่ (SDGs 3, 11, 12, 13, 14)
- โครงการ สร้างเสริมความปลอดภัยในโรงเรียนและรับรองโรงเรียนปลอดภัย (SDGs 3, 17)
- โครงการ อบรมเชิงปฏิบัติการชุมชนปลอดภัย (SDGs 3, 17)
- โครงการขยายผลงานพิเคราะห์เหตุการตายในเด็ก จากสิ่งที่ค้นพบสู่นโยบายและการปฏิบัติจริง (SDGs 3, 10,16)
Campus Operations
- ติดตั้งเซลล์พลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา (Solar Cell Rooftop) ที่สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ (SDGs 7, 17)
- อาคารจอดรถรามาธิบดี-พลังงานบริสุทธิ์ (SDGs 7, 17)
- โครงการ วน (SDGs 12, 17)
- โครงการ Paper X กระดาษเก่าแลกใหม่ และโครงการแกลลอนล้างไตของใช้แล้วมาเป็นส่วนผสมของกระถางต้นไม้รีไซเคิล (SDGs 12, 17)