คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 39/2566 ของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 40/2566 ของบัณฑิตวิทยาลัย
August 25, 2023
มหาวิทยาลัยมหิดลร่วมประชุมสัมมนาเพื่อซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ และวิธีการพิจารณากำหนดตำแหน่งทางวิชาการ
August 25, 2023

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 39/2566 ของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ 25 สิงหาคม 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 39/2566 ของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.อารี จำปากลาย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยประชากรและสังคม พร้อมผู้บริหารสถาบันฯ เข้าร่วมการประชุม ณ ห้องประชุมประชาสังคมอุดมพัฒน์ (101) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยมหิดล และผ่านระบบออนไลน์ โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

1.การดำเนินงานตามเป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานเสนอไว้ใน University Council Visit 2

  1. ส่งเสริมการต่อยอดการทำงานของ HAPPINOMETER และโครงการที่เกี่ยวข้องกับ HAPPINOMETER โดยเน้นกิจกรรมแบบออนไลน์/Hybrid และสร้างศักยภาพนักสร้างสุข
  2. ส่งเสริม TPAK ให้เป็น ASEAN Population and Physical Activity Center และ WHOCC
  3. หลักสูตรบัณฑิตศึกษาผ่านการประเมิน AUN-QA 3.0 และ ASEAN 4.0
  4. พัฒนา Mahidol Migration Center (MMC) เป็นศูนย์วิจัยร่วม (Joint Research Unit) ในระดับนานาชาติ
  5. ผลักดันให้ Asian Population Association (APA) เป็นภาคีดำเนินงาน (Implementing Partner) ของ UNFPA
  6. พัฒนาความร่วมมือในการจัดทำโครงร่างวิจัยขอแหล่งทุนต่างประเทศโดยมีเป้าหมายให้กาญจนบุรีเป็นพื้นที่ศึกษาและเป็น Social lab
  7. ผลักดันให้สถาบันฯ เป็นองค์กรแห่งความสุข (Happy Workplace) โดยใช้งานวิจัยของสถาบันฯ เป็นกรอบในการขับเคลื่อน

2. เป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster: การระดมสมอง MU The Way Forward 2022

1. Global Health

1.1 Global Health Governance

-MMC-JRU จัดการอบรมระยะสั้นระดับนานาชาติ เรื่อง International M&E training in public health for migrant workers (22 participants จาก 7 ประเทศ คือ Myanmar, Indonesia, Thailand, India, Nepal, South Korea, Gambia; 35 hours, May 22-26, 2023) และกำลังพัฒนาโครงร่างเพื่อนขอรับทุนจาก MU IR เพื่อจะจัดการอบรมระยะสั้นนี้ในระดับประเทศในปี 2024

2. Health & Wellness

2.1 Innovation in Health & Wellness

-โครงร่างวิจัยเรื่อง Training for migrant workers in elderly care ส่งขอทุน MU Rising funding, 2023-2024; working with Thailand Professional Qualification Institute (TPQI), Migrant Working Group (pending funding from Health Systems Research Institute  (HSRI-สวรส)

3.  แผนโครงการขับเคลื่อน Sustainable Development Goals: SDGs

3.1 Healthy Foods

-โครงการวิจัยติดตามและประเมินสภาพแวดล้อมทางอาหาร และพฤติกรรมการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มในประชากรไทยทั่วไปและกลุ่มเฉพาะ

-โครงการการวิเคราะห์ระบบอาหารของประเทศไทย

-โครงการการวิเคราะห์และประเมินผลโยบายและมาตรการด้านอาหารและโภชนาการของประเทศไทย

3.2 Inclusiveness

-การพัฒนาชุดข้อมูลและเครื่องมือเพื่อสนับสนุนการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในเด็กและเยาวชนไทย

-โครงการให้บริการทางวิชาการ: การสร้างเสริมองค์กรแห่งความสุขด้วยเครื่องมือ HAPPINOMETER (ศูนย์วิจัยความสุขคนทำงานแห่งประเทศไทย)

3.3 Capacity Building

-สนับสนุนให้นักวิจัยโครงการสมัครรับทุนเรียนดีระดับปริญญาเอกด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ของสปอว.ในสาขาที่เป็นความต้องการของสถาบันฯ เพื่อทดแทนอาจารย์เกษียณและสร้างอาจารย์รุ่นใหม่

3.4 Sustainable City & Community (Climate Change)

-โครงร่างวิจัยเรื่องการฟื้นฟูพื้นที่ป่าพรุเพื่อเป็นแนวทางการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติโดยอาศัยระบบนิเวศและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เสนอขอทุนภายใต้โครงการ e-ASIA Joint Research Program (e-ASIA JRP) ประจำปี 2567 (FY2024) ด้านสิ่งแวดล้อม ประเด็นสังคมคาร์บอนต่ำ

-พัฒนาโครงร่างวิจัยเรื่องการรับรู้และนำแนวคิดแนวคิด Circular economy ไปใช้ในกลุ่มประชากรทั่วไปและกลุ่มเปราะบาง

3. โครงการของส่วนงานที่ร่วมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit ของมหาวิทยาลัย

1. การศึกษา

-ปรึกษาหารือกับหลักสูตรถึงแนวทางในการสอดแทรกเนื้อหาเรื่อง SDGs ในรายวิชาสำคัญของสถาบันฯ เพื่อปลูกฝังการมี mindset SDGs ให้กับผู้เรียน (แผน)

2. การวิจัย

-สนับสนุนให้โครงการวิจัยของสถาบันฯ นำข้อค้นพบจากการวิจัยไปใช้ต่อยอดเพื่อตอบสนอง SDGs และสร้างเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในงานวิจัยของสถาบันฯ ตั้งแต่เริ่มต้นของกระบวนการทำวิจัย (สร้างความต่อเนื่อง และเพิ่มความเข้มแข็ง)

3. บริการวิชาการ และส่งเสริม Community Engagement

-สนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัยสู่สาธารณะ โดยเฉพาะชุมชนและท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง (สร้างความต่อเนื่อง และเพิ่มความเข้มแข็ง)

4. Campus Operations

-ปลูกฝัง mindset SDGs ให้กับบุคลากรของสถาบันฯ ทุกประเภท (แผน)