คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit :3) ครั้งที่ 9/2566 ของคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมการประชุมวิชาการ THE Asia Universities Summit 2023
June 23, 2023
คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล จัดสัมมนาแผนยุทธศาสตร์ ประจำปี 2566
June 23, 2023

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit :3) ครั้งที่ 9/2566 ของคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

20

วันที่ 23 มิถุนายน 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล และทีมผู้บริหาร รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 9/2566 ของคณะสาธารณสุขศาสตร์ และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.สราวุธ เทพานนท์ คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมผู้บริหารคณะฯ เข้าร่วมการประชุม ณ ห้องประชุมพิทยา จารุพูนผล อาคารเทพนม เมืองแมน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และผ่านระบบออนไลน์ โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

1. การดำเนินงานตามเป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานเสนอไว้ใน University Council Visit 2
1. การพัฒนา Flexi Education หลักสูตร MD MPH ออนไลน์ (ปีการศึกษา 2565)
2. การพัฒนาศูนย์บริหารจัดการสร้างสุขภาพและควบคุมโรคในชุมชนเขตพญาไท ราชเทวี ร่วมกับ ย่านนวัตกรรมโยธี (พ.ค. – ก.ย. 2564)
3. การพัฒนาโครงร่างวิจัยที่เป็น Frontier and Digital Public Health (พ.ค. – ก.ย. 2564)
4. การพัฒนาต่อยอดศูนย์วิจัยสูงเนินฯ Health Literate and Healthy District สู่การเป็น Balancing Public Health (ปี 2564-2565)
5. การพัฒนาศูนย์วิจัยฝึกอบรมนานาชาติที่คณะสาธารณสุขศาสตร์ ด้าน Megacity Health and Global Health (ปี 2564-2565)
6. การเพิ่มรายได้ด้วยการจัดบริการวิชาการสร้างสุขภาพแรงงานนอกระบบและกลุ่มพระสงฆ์ (ปี 2564-2565)
7. การเพิ่มจำนวนนวัตกรและนวัตกรรม ด้านสาธารณสุข และสร้างประโยชน์เชิงพาณิชย์ เพิ่มร้อยละ 10 (ปี 2564-2565)
8. การพัฒนานักศึกษาให้ได้คุณภาพเพื่อเป็นบัณฑิตพร้อมใช้ และผ่าน MUHIDEF (Health Literacy, English) ร้อยละ 80 (ปี 2564-2565)

2. เป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster: การระดมสมอง MU The Way Forward 2022
1. Global Health
1.1 Digital Health
      – การศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาแชทบอทอินเทนท์สำหรับใช้ในการสนับสนุนแชทบอทน้องยูซีของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
      – นวัตกรรมดิจิทัลเพื่อบริการสุขภาพชุมชนด้วยการส่งเสริมและป้องกันโรคด้วย Health Literacy ของประชาชน
      – การจัดทำ E-learning ศูนย์การเรียนรู้ครบวงจรเพื่อการควบคุมยาสูบ
      – การพัฒนาแอนิเมชั่นเพื่อเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในประชากรที่เป็น กลุ่มโรคอ้วน โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
      – The project entitled the development and evaluation of a deep-learning based chest X-ray computer- aided diagnosis software for the detection and follow-up of tuberculosis

1.2 Global Health Governance
      – การพัฒนารูปแบบบริการการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงโดยการเสริมสร้างสมรรถนะและการจ้างงานพยาบาลเกษียณอายุในบทบาทผู้จัดการระบบสุขภาพในชุมชน
      – อาหารริมบาทวิถีต้องพัฒนาอย่างไรเพื่อสุขภาพคนเมือง
      – การจัดทำรายงานการปลดปล่อยและการดูดซับก๊าซเรือนกระจกเพื่อมุ่งสู่การเป็น carbon neutral faculty
      – 2/2-GEO Health Hub: Improving Agricultural Health in Southeast Asia-Thailand
2. Health & Wellness
2.1 กำหนด Concept ของหลักสูตร Health & Wellness
      – หลักสูตร Ph.D. wellness leadership
      – หลักสูตรฝึกอบรมด้านอาชีวอนามัยความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม ด้านส่งเสริมสุขภาพและด้านอาหารและโภชนาการ
2.2 สร้างมาตรฐานสถานประกอบการด้าน Health & Wellness ร่วมกับกรมสนับสนุนบริการสุขภาพและภาคเอกชน
      – อาหารริมบาทวิถีต้องพัฒนาอย่างไรเพื่อสุขภาพคนเมือง
      – การอบรมความปลอดภัยและมาตรฐานของผู้สัมผัสอาหาร
      – การพัฒนาสถานประกอบการ/สถานบริการ ให้รองรับมาตรฐาน wellness
      – การพัฒนารูปแบบบริการการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงโดยการเสริมสร้างสมรรถนะและการจ้างงานพยาบาลเกษียณอายุในบทบาทผู้จัดการระบบสุขภาพในชุมชน
      – แผนยุทธศาสตร์เขตนวัตกรรมการแพทย์และการส่งเสริมสุขภาพในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจเวลเนส ประเทศไทยเพื่อเป็นนโยบายของรัฐบาล
2.3 Innovation in Health & Wellness
      – การพัฒนาดัชนีชี้วัดคุณภาพอากาศที่ส่งผลต่อสุขภาพในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
      – การวิจัยและออกแบบตำแหน่งที่เหมาะสมสำหรับการติดตั้งสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศในสิ่งแวดล้อมในพื้นที่โดยรอบเขตประกอบการอุตสาหกรรมไออาร์พีซี
      – นวัตกรรมดิจิทัลเพื่อบริการสุขภาพชุมชนด้วยการส่งเสริมและป้องกันโรคด้วย Health Literacy ของประชาชน
      – การศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาแชทบอทอินเทนท์สำหรับใช้ในการสนับสนุนแชทบอทน้องยูซีของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
      – The project entitled the development and evaluation of a deep-learning based chest X-ray computer-aided diagnosis software for the detection and follow-up of tuberculosis
      – การพัฒนาแอนิเมชั่นเพื่อเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในประชากรที่เป็นกลุ่มโรคอ้วน โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
      – การส่งเสริมสุขภาพด้านจิตใจของนักเรียน โรงเรียนในกรุงเทพมหานคร
      – 2/2-GEO Health Hub: Improving Agricultural Health in Southeast Asia-Thailand

3. Structure & HR Resource
3.1 การปรับโครงสร้าง
3.2 การบริหารทรัพยากรมนุษย์
      – การบริหารจัดการโดยใช้ระบบ Lean and Co-Working Space

4. Social Enterprise
4.1 จัดตั้งบริษัทรูปแบบ Social Enterprise และส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชน
      – นวัตกรรมดิจิทัลเพื่อบริการสุขภาพชุมชนด้วยการส่งเสริมและป้องกันโรคด้วย Health Literacy ของประชาชน
4.2 ดำเนินการโดยเน้นจุดเด่นของวิทยาเขต
      – Public health field study in Thailand (หลักสูตรฝึกอบรม)

5. แผนโครงการขับเคลื่อน Sustainable Development Goals: SDGs
5.1 Inclusiveness
      – การส่งเสริมและพัฒนาวัฒนธรรมองค์กรไทย ต่อต้าน Hate Speech และ Bullying (SHSB)
      – คลินิกให้คำปรึกษาด้านจิตวิทยาสำหรับบุคลากร และนักศึกษา
      – การส่งเสริมสุขภาพด้านจิตใจของนักเรียนโรงเรียนในกรุงเทพมหานคร
5.2 Capacity Building
      – การจัดสัมมนา โดยเชิญศาสตราจารย์วุฒิคุณ จากประเทศต่าง ๆ
      – การจัดประชุมวิชาการนานาชาติ
5.3 Sustainable City & Community (Climate Change)
      – การพัฒนาดัชนีชี้วัดคุณภาพอากาศที่ส่งผลต่อสุขภาพในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
      – การฝึกปฏิบัติงานพัฒนาสุขภาพแบบบูรณาการ
      – การจัดทำรายงานการปลดปล่อยและการดูดซับก๊าซเรือนกระจกเพื่อมุ่งสู่การเป็น carbon neutral faculty
      – อาหารริมบาทวิถีต้องพัฒนาอย่างไรเพื่อสุขภาพคนเมือง
      – การตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำและกากตะกอน การพัฒนารูปแบบบริการการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงโดยการเสริมสร้างสมรรถนะและการจ้างงานพยาบาลเกษียณอายุในบทบาท

3. โครงการของส่วนงานร่วมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit มหาวิทยาลัย
การศึกษา
      – Wellness for Industry
การวิจัย
      – ทุกโครงการวิจัยมีส่วนร่วมผลักดัน SDGs
การบริการวิชาการและส่งเสริม Community Engagement
      – การจัดทำรายงานการปลดปล่อยและการดูดซับก๊าซเรือนกระจกเพื่อมุ่งสู่การเป็น carbon neutral faculty
Campus Operations
      – การพัฒนาดัชนีชี้วัดคุณภาพอากาศที่ส่งผลต่อสุขภาพในพื้นที่กรุงเทพมหานคร