สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล จัดประชุมวิชาการระดับนานาชาติ Mini-Symposium on Al-Driven Drug Discovery: The Future of Medicine และการอบรมเชิงปฏิบัติการ “Computational Drug Discovery”

มหาวิทยาลัยมหิดล ต้อนรับคณะผู้บริหารจาก Japan Advanced Institute of Science and Technology (JAIST) ประเทศญี่ปุ่น
November 1, 2023
คณะผู้บริหาร ม.มหิดล ติดตามผลการดำเนินงานตามข้อตกลงการปฏิบัติงานของส่วนงาน (PA-Visit) ประจำปีงบประมาณ 2567 ของสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
November 2, 2023

สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล จัดประชุมวิชาการระดับนานาชาติ Mini-Symposium on Al-Driven Drug Discovery: The Future of Medicine และการอบรมเชิงปฏิบัติการ “Computational Drug Discovery”

วันที่ 2 พฤศจิกายน 2566 ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ภัทรชัย กีรติสิน รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวเปิดในงานการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ Mini-Symposium on Al-Driven Drug Discovery: The Future of Medicine เพื่อเผยแพร่ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการออกแบบยาโดยอาศัยโครงสร้างให้แก่นักวิจัยยาในประเทศ ในรูปแบบงานประชุมวิชาการ Mini-Symposium โดยนักวิจัยและผู้บริหารบริษัทเอกชนด้าน drug discovery ระดับโลกจากประเทศต่าง ๆ เช่น สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา ตลอดจนการความร่วมมือระหว่างนักวิจัยไทยกับนักวิจัยทางด้าน Structure-guided drug discovery ในระดับนานาชาติ ณ ศูนย์ประชุมและอาคารจอดรถมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโดย สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สมาคมโปรตีนแห่งประเทศไทย กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-3 พฤศจิกายน 2566 และวันที่ 1 ธันวาคม 2566

สำหรับการประชุมวิชาการระดับนานาชาติฯ ในครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 3 กลุ่ม ได้แก่ นักศึกษาและบุคลากรสังกัดมหาวิทยาลัยมหิดล บุคลากรภายนอกทั้งภาครัฐและเอกชน และบุคลากรสังกัดสมาคมโปรตีนแห่งประเทศไทย โดยรูปแบบการจัดกิจกรรม ประกอบด้วย Mini-Symposium Workshop และ Mini-Symposium + Workshop มีการบรรยายในหัวข้อ อาทิ “Revolutionary Developments in the Design of New Medicines: From Computational Statistical & X-ray Experimental Methods of the 1960s to AI/ML and cryoEM Approaches in the 2020s.” โดย Prof. Sir Tom Blundell มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ สหราชอาณาจักร หัวข้อ “New Docking/AI Platform to Screen Billions of Compounds for a Specific Target-Property Profile” โดย Prof. Ruben Abagyan มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา หัวข้อ “Solving Biomolecular Puzzles with Structure-Based Drug Design Platforms: MANORAA and SIMFONEE” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดวงฤดี ธารรำลึก อาจารย์สถาบันวิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล หัวข้อ “Generative AI: a Co-pilot for Drug Discovery” โดย Dr. Jiye Shi, Eli Lilly and Company สหรัฐอเมริกา และหัวข้อ “Protein Mutant Stability Prediction: Analyses of Drug Resistance Mutations in Infectious Diseases” โดย Dr. Arun Prasad Pandurangan มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ สหราชอาณาจักร และการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น