สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย ม.มหิดล จัดงานเสวนาและแถลงข่าว “ผู้สูงอายุ (จะ) อยู่อย่างไรในยุคเฟคนิวส์”

สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ม.มหิดล แถลงข่าว “การเฝ้าระวังและฟื้นฟูผลกระทบต่อเด็กในภาวะยากลำบากภายหลังการระบาดของ โควิด-19”
January 27, 2023
มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานเสวนา “MUSEF Webinar” หัวข้อ “เมื่อลูกเป็นเด็กพิเศษ รู้เร็ว ฝึกพัฒนาการไว ใช้ชีวิตในสังคมได้”
January 27, 2023

สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย ม.มหิดล จัดงานเสวนาและแถลงข่าว “ผู้สูงอายุ (จะ) อยู่อย่างไรในยุคเฟคนิวส์”

วันที่ 27 มกราคม 2566 สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิด จัดเสวนา ทิศทางการขับเคลื่อนงานรู้เท่าทันสื่อผู้สูงอายุไทยอย่างยั่งยืน ระหว่างทีมนักวิจัยจากศูนย์วิชาการด้านการรู้เท่าทันสื่อของผู้สูงอายุ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิด โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.นันทิยา ดวงภุมเมศ ประธานศูนย์วิชาการด้านการรู้เท่าทันสื่อของผู้สูงอายุ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิด ร่วมกับ นักวิจัย นักวิชาการ กรมกิจการผู้สูงอายุ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และภาคีเครือข่าย ร่วมเสวนา โอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.นันทิยา ดวงภุมเมศ ประธานศูนย์วิชาการด้านการรู้เท่าทันสื่อของผู้สูงอายุ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย หาวิทยาลัยมหิด พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.ขวัญจิต ศศิวงศาโรจน์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธีรพงษ์ บุญรักษา นักวิจัย ศูนย์วิชาการด้านการรู้เท่าทันสื่อของผู้สูงอายุ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิด ร่วมแถลงข่าว “ผลกระทบจากการใช้สื่อของผู้สูงอายุไทยและเกมออนไลน์เพื่อฝึกทักษะการรู้เท่าทันสื่อดำเนินรายการโดย คุณกนกวรรณ กนกวนาวงศ์ โรงแรมสยาม แอท สยาม ดีไซน์ โฮเต็ล เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ

สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล ตระหนักและเล็งเห็นถึงความสำคัญของผู้สูงอายุไทย โดยคณะนักวิจัยกลุ่มการสื่อสารเพื่อการพัฒนาในด้านการสร้างเสริมทักษะการรู้เท่าทันสื่อให้กับผู้สูงอายุ ซึ่งได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2561 ถึงปัจจุบัน ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

จากการสำรวจสถานการณ์และผลกระทบการใช้สื่อของผู้สูงอายุไทยปี 2565 โดยเก็บข้อมูลจากผู้สูงอายุ 2,000 คน ชาย 945 คน (47.3%) หญิง 1,055 คน (52.70%) จาก 20 จังหวัดทั่วประเทศ พบว่าด้านสถานการณ์การใช้สื่อที่น่าสนใจ คือ 1. ผู้สูงอายุถึง 50.80% เปิดรับสื่อมากกว่าวันละ 4 ชั่วโมง และ 31.50% ใช้สื่อวันละ 3-4 ชั่วโมง โดยเปิดรับสื่อบุคคลมากที่สุดเป็นอันดับแรก อันดับที่ 2 คือ โทรทัศน์ และอันดับที่ 3 คือ สื่อออนไลน์

นอกจากนี้ สื่อที่เปิดรับมากที่สุดเป็นอันดับแรกเปลี่ยนจากโทรทัศน์ ในปี 2564 มาเป็นสื่อบุคคล และประเด็นที่ผู้สูงอายุไทยสนใจเปิดรับจากสื่อมากที่สุด เป็นข่าว บันเทิง สุขภาพ ธรรมะ/ศาสนา การเมือง และอาหาร เช่นเดียวกับผลสำรวจในปี 2564 แต่ผู้สูงไทยใช้เวลาเปิดรับสื่อในแต่ละวันน้อยลงกว่าปี 2564 ทุกประเภทสื่อ โดยเฉพาะการรับชมโทรทัศน์ จากเดิมรับชมวันละมากกว่า 4 ชั่วโมง แต่ในปี 2565 ลดลง เหลือวันละ 3-4 ชั่วโมงเท่านั้น สื่อบุคคล สื่อออนไลน์ มีค่าเฉลี่ยการเปิดสื่อที่ลดลงเช่นเดียวกัน ด้านผลกระทบจากการเปิดรับสื่อของผู้สูงอายุ พบว่า การเปิดรับสื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสุขภาวะในทางบวกเกือบทุกด้าน โดยเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านปัญญามากที่สุด คือ ช่วยให้ผู้สูงอายุเข้าใจชีวิต ใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่ามากขึ้น รองลงมา ด้านจิตใจ เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านความเสียสละเพื่อผู้อื่น การเปลี่ยนแปลงด้านสังคม ทำให้ความสัมพันธ์กับผู้อื่นดีขึ้น ร่วมกิจกรรมเพื่อพัฒนาตนเองมากขึ้น และการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย ทำให้บริหารร่างกายตามวัย มีการดูแลเหงือกและฟัน ในด้านเศรษฐกิจ สื่อไม่มีส่วนสร้างความเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นด้านรายได้ การออม การวางแผนใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน หรือการหาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน  

การเปิดรับสื่อจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านบวก แต่สัดส่วนของผู้สูงอายุที่ตระหนักว่าตนเองตกเป็นเหยื่อการหลอกลวงผ่านสื่อต่าง ๆ กลับเพิ่มมากขึ้น โดยในปี 2565 มีจำนวนผู้สูงอายุไทย รู้ว่าตกเป็นเหยื่อการหลอกลวงผ่านสื่อต่าง ๆ ถึง 22% ซึ่งมีเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา (ในปี 2564 มีจำนวน 16%) โดยผู้สูงอายุที่รู้ว่าตนตกเป็นเหยื่อมีพฤติกรรมการเปิดรับสื่อมากกว่ากลุ่มผู้สูงอายุที่รู้ว่าตัวไม่ตกเป็นเหยื่อ สำหรับเรื่องที่ผู้สูงอายุไทยถูกหลอกมากที่สุด คือ การถูกหลอกให้ซื้อของที่ไม่ได้คุณภาพ 46.14% ถูกหลอกให้ทำบุญ ช่วยเหลือคนช่วยเหลือสัตว์ 43.06% ถูกหลอกให้ซื้อยาและการดูแลสุขภาพ 30.23% และถูกหลอกให้เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล 13.86% ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงขึ้นกว่าปี 2564 อย่างชัดเจน ที่น่าสังเกต คือ จำนวนผู้สูงอายุที่ถูกหลอกให้เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด (จากจำนวน 3.75% ในปี 2564)

นวัตกรรม เกมออนไลน์ “หยุด คิด ถาม ทำ” หรือ STAAS (สต๊าซ) สร้างสรรค์ขึ้นเป็นชุดที่ 2 ยังคงช่วยให้ผู้สูงอายุรับมือกับ Fake news และการหลอกลวงของมิจฉาชีพรูปแบบต่าง ๆ ที่สร้างผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้สูงอายุ เกมชุดที่ 2 นี้ ได้เพิ่มสถานการณ์ที่ผู้สูงอายุมีโอกาสตกเป็นเหยื่อของผู้ไม่หวังดี ซึ่งเมื่อรวมกับเรื่องราวของเกมชุดแรก ทำให้ผู้เล่นมีสถานการณ์จำลองให้ฝึกทักษะการรู้เท่าทันสื่ออย่างหลากหลาย เกม STAAS หยุด คิด ถาม ทำ เป็นเครื่องมือให้ผู้สูงอายุได้เรียนรู้ ฝึกทักษะ เสริมทักษะ รู้ทันตนเอง และรู้เท่าทันสื่อต่าง ๆ ได้

ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติม : Press release