นักวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ ในงาน “วันนักประดิษฐ์” ประจำปี 2564 – 2565

สภาคณาจารย์ ม.มหิดล จัดบรรยายพิเศษ ในการประชุมสภาคณาจารย์สามัญ ครั้งที่ 2/2565
February 2, 2022
สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี พระราชทาน ส.ค.ส และสมุดไดอารี่ ประจำปี 2565 แด่ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
February 2, 2022

นักวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ ในงาน “วันนักประดิษฐ์” ประจำปี 2564 – 2565

วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2565 ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมพิธีเปิดงาน “วันนักประดิษฐ์” และพิธีมอบรางวัลการวิจัยแห่งชาติประจำปี 2564 – 2565 พร้อมแสดงความยินดีแก่ นักวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดล ที่ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ รางวัลผลงานวิจัย รางวัลวิทยานิพนธ์ และ รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปีงบประมาณ 2564 – 2565 โดยมี ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานกล่าวเปิดงาน ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของการจัดงาน โอกาสนี้ นายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เข้าร่วมในพิธีดังกล่าวด้วย ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา

รางวัลการวิจัยแห่งชาติ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท มีนักวิชาการของมหาวิทยาลัยมหิดล ที่ได้รับรางวัลสาขาต่าง ๆ ดังนี้

1.รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ

– รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2564 สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้แก่ ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์วิปร วิประกษิต คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

–  รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2565 สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์ ได้แก่ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เดวิด จอห์น รูฟโฟโล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

2.รางวัลผลงานวิจัย

– รางวัลผลงานวิจัย ระดับดีมาก ประจำปีงบประมาณ 2564 สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้แก่ ศาสตราจารย์ ดร.มัลลิกา อิ่มวงศ์ และนางสาวกนกอร สุวรรณศิลป์ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ผลงานวิจัย เรื่อง “ภาวะการณ์ดื้อยาต้านมาลาเรียทางชีวโมเลกุลในประเทศไทย ในทศวรรษที่ผ่านมา”

– รางวัลผลงานวิจัย ระดับดี ประจำปีงบประมาณ 2564 สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช ได้แก่ ดร. เภสัชกรหญิงสุดจิต ล้วนพิชญ์พงศ์ และคณะ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ผลงานวิจัย เรื่อง “การตรวจพบความผิดปกติของการสะสมไขมัน ในเซลล์มะเร็งต่อมน้ำเหลืองแมนเทิลเซลล์ดื้อยาด้วยเทคโนโลยีแสงซินตรอน”

– รางวัลผลงานวิจัย ระดับดี ประจำปีงบประมาณ 2564 สาขาการศึกษา ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.พัชรินทร์ ปัญจบุรี และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิวัฒน์ ศรีสวัสดิ์ สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล ผลงานวิจัย เรื่อง “การส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเองของผู้เรียน เพื่อยกระดับผลการเรียนรู้มโนมติวิทยาศาสตร์ โดยใช้วิธีการวัดและประเมินผลเพื่อการพัฒนาบูรณาการร่วมกับสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ บนเครือข่ายที่ตอบสนองอย่างจำเพาะต่อผู้เรียนรายบุคคล”

–  รางวัลผลงานวิจัย ระดับดีมาก ประจำปีงบประมาณ 2565 สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์ ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงศกร กาญจนบุษย์ และคณะ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผลงานวิจัย เรื่อง “กระบวนการผลิตโซล่าเซลล์ ชนิดเพอร์รอฟสไกด์แบบหลายชั้นทีละชั้นที่ควบคุมได้เป็นครั้งแรกของโลก ที่มีประสิทธิภาพและความทนทานความชื้นสูง”

– รางวัลผลงานวิจัย ระดับดีมาก ประจำปีงบประมาณ 2565 สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้แก่ ศาสตราจารย์ ดร.มัลลิกา อิ่มวงศ์ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ผลงานวิจัย เรื่อง “การกำจัดโรคไข้มาลาเรียให้หมดไป ตามนโยบายกระทรวงสาธารณสุขแห่งประเทศไทย”

– รางวัลผลงานวิจัย ระดับดี ประจำปีงบประมาณ 2565 สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์ ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โชติกา เมืองสง และคณะ วิทยาเขตอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล ผลงานวิจัย เรื่อง “ความผันแปรของลมมรสุมฤดูร้อนในทวีปเอเชียสมัยโฮโลซีน : การศึกษาเพื่อสังเคราะห์ข้อมูลที่บันทึกในหินงอกและวงปีไม้จากประเทศไทยและจีน”

– รางวัลผลงานวิจัย ระดับดี ประจำปีงบประมาณ 2565 สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้แก่ ดร. เภสัชกรหญิงสุดจิต ล้วนพิชญ์พงศ์ และคณะ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ผลงานวิจัย เรื่อง “การกระตุ้นกระบวนการสร้างเซลล์เมกะคาริโอไซท์และเกร็ดเลือดจากเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต โดยการยับยั้งกระบวนการโอ-กลุคแนกซิลเลชัน”

– รางวัลผลงานวิจัย ระดับดี ประจำปีงบประมาณ 2565 สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.รักชาติ ไตรผล และคณะ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผลงานวิจัย เรื่อง “การควบคุมพฤติกรรมการเปลี่ยนสีของพอลิไดอะเซทติลีนแอสเซมบลี : อิทธิพลของการจัดเรียงตัวสายโซ่สารเติมแต่งแอลกฮอล์ พอลิเมอร์ และตัวทำละลาย”

– รางวัลผลงานวิจัย ระดับดี ประจำปีงบประมาณ 2565 สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์ ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.วรพันธ์ คู่สกุลนิรันดร์ และคณะ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล ผลงานวิจัย เรื่อง “โครงการการพัฒนาวิธีการระบุเอกลักษณ์เฉพาะตัวของกระบือปลัก ด้วยเทคโนโลยีไบโอเมตริก”

3. รางวัลวิทยานิพนธ์

– รางวัลวิทยานิพนธ์ ระดับดีมาก ประจำปีงบประมาณ 2564 สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา ได้แก่ ดร.บังอรศิริ อินตรา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยานิพนธ์เรื่อง “การคัดเลือก การบ่งชี้ และการศึกษาคุณลักษณะ ของสายพันธุ์และสารทุติยภูมิจากเชื้อแอคติโนมัยซีท”

– รางวัลวิทยานิพนธ์ ระดับดีมาก ประจำปีงบประมาณ 2564 สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์ ได้แก่ ดร.ชัยยงค์ รักขิตเวชสกุล คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยานิพนธ์เรื่อง “การตรวจวัดความเหมือนของโค้ดและการค้นหาโค้ดโคลนในข้อมูลโค้ดขนาดใหญ่”

– รางวัลวิทยานิพนธ์ ระดับดี ประจำปีงบประมาณ 2564 สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย ได้แก่ ดร.ภรภัทร อัฐมโนลาภ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยานิพนธ์เรื่อง “การพัฒนากรรมวิธีและระบบบ่งชี้ชนิดของเชื้อแบคทีเรีย และทดสอบความไวของเชื้อแบคทีเรีย ต่อยาปฏิชีวนะ ในขั้นตอนเดียว”

– รางวัลวิทยานิพนธ์ ระดับดี ประจำปีงบประมาณ 2564 สาขาสังคมวิทยา ได้แก่ ดร.เบญจมาศ เป็นบุญ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยานิพนธ์เรื่อง “ผลกระทบจากการย้ายถิ่นระหว่างประเทศของแรงงานไทยต่อสุขภาพจิตของครอบครัวในประเทศต้นทาง : สถานการณ์การสูญเสียการดูแลและการส่งต่อภาระการดูแลของครัวเรือน ที่มีการย้ายถิ่นในประเทศไทย”

– รางวัลวิทยานิพนธ์ ระดับดีเด่น ประจำปีงบประมาณ 2565 สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา ได้แก่ ดร.ศราวุธ ลาภมณีย์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยานิพนธ์เรื่อง “ผลของการออกกำลังกาย ความต้องการและการปรับการทำงานของระบบโมโนเอมีน ในการป้องกันระบบประสาทของหนูเพศผู้ที่ถูกกระตุ้นให้เกิดความเครียด”

– รางวัลวิทยานิพนธ์ ระดับดี ประจำปีงบประมาณ 2565 สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้แก่ ดร.กิตติรัฐ กลับอำไพ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยานิพนธ์เรื่อง “การผลิตแอนติบอดีจิ๋ว ซึ่งโมเลกุลถูกสังเคราะห์ให้เหมือนกับโมเลกุลแอนติบอดี้ของมนุษย์ และแอนติบอดีสายเดี่ยวของมนุษย์ ที่สามารถลบล้างหน้าที่ของโปรตีนเอนเอส 4 บี และเอนเอส 5 เอ ของไวรัสตับอักเสบซี”

– รางวัลวิทยานิพนธ์ ระดับดี ประจำปีงบประมาณ 2565 สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์ ได้แก่ ดร.มรกต เชิดเกียรติกุล คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยานิพนธ์เรื่อง “การพัฒนารูปแบบจำลองการวิเคราะห์ข้อมูล สำหรับการบริหารจัดการงานโครงการซอฟต์แวร์”

4. รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น

– รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ระดับดีมาก ประจำปีงบประมาณ 2564 สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้แก่ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงฉวีวรรณ บุนนาค และคณะ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ผลงานประดิษฐ์คิดค้นเรื่อง “วัคซีนรักษาภูมิแพ้ไรฝุ่นและชุดทดสอบภูมิแพ้ไรฝุ่น”

– รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ระดับดี ประจำปีงบประมาณ 2564 สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร. ทันตแพทย์หญิงจีรภัทร จันทรัตน์ และนางสาววาสนา วิชัย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผลงานประดิษฐ์คิดค้นเรื่อง “การผลิตน้ำมันสกัดจากธรรมชาติ ในการทำละลายวัสดุคลองรากฟันชนิดกัตตาเปอร์ชา”

– รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ระดับดี ประจำปีงบประมาณ 2564 สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช ได้แก่ ดร.สุพรรณ ยอดยิ่งยง และคณะ สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล ผลงานประดิษฐ์คิดค้นเรื่อง “วิธีการผลิตซิลิกาแอโรเจลรูปร่างทรงกลม ที่มีขนาดระดับไมครอน”

– รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ระดับดี ประจำปีงบประมาณ 2564 สาขาสังคมวิทยา ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิริเพ็ญ อึ้งสิทธิพูนพร และคณะ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล ผลงานประดิษฐ์คิดค้นเรื่อง “คลังข้อมูลดิจิทัลด้านภาษาและวัฒนธรรม ของกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย”

– รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ระดับดี ประจำปีงบประมาณ 2564 สาขาสังคมวิทยา ได้แก่ ดร.นรินทร์ บุญตานนท์ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผลงานประดิษฐ์คิดค้นเรื่อง “เครื่องกำจัดขยะอินทรีย์ภายในครัวเรือน เพื่อความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม”

– รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ระดับดี ประจำปีงบประมาณ 2564 สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์ ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.วรพันธ์ คู่สกุลนิรันดร์ และคณะ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล ผลงานประดิษฐ์คิดค้นเรื่อง “โปรแกรมการค้นหาและการแสดงภาพของข้อมูลโควิด-19 ในภาพการตรวจเอกซเรย์ทรวงอก”

– รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประกาศเกียรติคุณ ประจำปีงบประมาณ 2564 สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้แก่ รองศาสตราจารย์ นาวาโท ดร. นายแพทย์สรยุทธ ชำนาญเวช คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ผลงานประดิษฐ์คิดค้นเรื่อง “เนื้อเยื่อเทียมจากวัสดุสังเคราะห์”

– รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประกาศเกียรติคุณ ประจำปีงบประมาณ 2564 สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย ได้แก่ ดร.กลกรณ์ วงศ์ภาติกะเสรี และคณะ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผลงานประดิษฐ์คิดค้นเรื่อง “ชูใจ : หุ่นยนต์ดูแลสุขภาพใจผู้สูงอายุ สำหรับศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ”

– รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประกาศเกียรติคุณ ประจำปีงบประมาณ 2564 สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์ ได้แก่ ดร.ปวิตรา เลี่ยมรักษ์ และคณะ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล ผลงานประดิษฐ์คิดค้นเรื่อง “บินบิน : ตู้รับซื้อขยะ และแอปพลิเคชันสะสมแต้ม”

– รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประกาศเกียรติคุณ ประจำปีงบประมาณ 2564 สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์ ได้แก่ ดร.วุฒิชาติ แสวงผล และคณะ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล ผลงานประดิษฐ์คิดค้นเรื่อง “ออคิเดเตอร์ : ระบบระบุสายพันธุ์และเชื่อมโยงข้อมูลกล้วยไม้แบบอัตโนมัติ โดยใช้การเรียนรู้เชิงลึก”

– รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ระดับดี ประจำปีงบประมาณ 2565 สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์ ได้แก่ ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ทนงชัย สิริอภิสิทธิ์ และคณะ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ผลงานประดิษฐ์คิดค้นเรื่อง “ปิรามิดกราฟคัด : การแบ่งส่วนภาพโทนสีเทาทางการแพทย์ ด้วยการผสมผสานข้อมูลความเข้มและการไล่ระดับสีของภาพ”

– รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประกาศเกียรติคุณ ประจำปีงบประมาณ 2565 สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รสสุคนธ์ แก้วขาว และคณะ คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ผลงานประดิษฐ์คิดค้นเรื่อง “นวัตกรรมการสร้างก้อนเนื้อมะเร็งจำลองของมะเร็งจอประสาทตาในเด็ก”

– รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประกาศเกียรติคุณ ประจำปีงบประมาณ 2565 สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธีรเกียรติ์ เกิดเจริญ และคณะ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผลงานประดิษฐ์คิดค้นเรื่อง “แพลตฟอร์มเซนเซอร์ตรวจวัดกลิ่นแบบไอโอที สำหรับโรงงานสีเขียวและสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ”

– รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประกาศเกียรติคุณ ประจำปีงบประมาณ 2565 สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศศาสตร์ ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.วรพันธ์ คู่สกุลนิรันดร์ และคณะ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล ผลงานประดิษฐ์คิดค้นเรื่อง “การวัดอัตราส่วนหัวใจและทรวงอกอัตโนมัติ โดยผลเอกซเรย์ทรวงอก”

“งานวันนักประดิษฐ์” จัดโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อระลึกถึงวันประวัติศาสตร์ของการจดทะเบียนและทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตรการประดิษฐ์ “เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย” หรือ “กังหันน้ำชัยพัฒนา” แด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดย งานวันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2564 – 2565 (Thailand Inventors’ Day 2021-2022) จัดขึ้นภายใต้แนวความคิด “วิถีใหม่ ใส่ใจชีวิต สู่สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม” ระหว่างวันที่ 2 – 6 กุมภาพันธ์ 2565 ณ Event Hall 102 – 104 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพมหานคร จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 23 เพื่อเป็นเวทีระดับชาติในการเผยแพร่ ถ่ายทอดและขยายผลสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมสู่ผู้ใช้ประโยชน์ และสาธารณชน จูงใจให้นักประดิษฐ์ เยาวชนไทยรุ่นใหม่ เกิดแรงบันดาลใจในการพัฒนาผลงานประดิษฐ์คิดค้น และเป็นกลไกสร้างความตระหนักรู้แก่ประชาชน ให้เห็นความสำคัญของการประดิษฐ์คิดค้น อันมีคุณค่าและประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ

ประกาศรางวัลการวิจัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2564

ประกาศรางวัลการวิจัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2565