คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ม.มหิดล ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ การประสานงาน สนับสนุนข้อมูล และการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการ และสำรองยากำพร้าต้านพิษให้กับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

วิทยาลัยการจัดการ ม.มหิดล จัดงาน “Diversity, Equity & Inclusion for LGBTIQ+ in the Thai Business Context”
December 8, 2022
คณะผู้บริหาร ม.มหิดล รับฟังข้อตกลงการปฏิบัติงานของส่วนงาน (PA-Visit) ประจำปีงบประมาณ 2566 ของโครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล
December 9, 2022

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ม.มหิดล ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ การประสานงาน สนับสนุนข้อมูล และการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการ และสำรองยากำพร้าต้านพิษให้กับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

วันที่ 8 ธันวาคม 2565 ศาสตราจารย์ นายแพทย์ปิยะมิตร ศรีธรา คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์วิศิษฏ์ สิตปรีชา ผู้อำนวยการสถานเสาวภา สภากาชาดไทย นายแพทย์จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ดร. เภสัชกรหญิงนันทกาญจน์ สุวรรณปิฏกกุล รองผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม องค์การเภสัชกรรม และนายแพทย์ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ การประสานงาน สนับสนุนข้อมูล และการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการ และสำรองยากำพร้าต้านพิษให้กับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ระหว่าง สถานเสาวภา สภากาชาดไทย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ องค์การเภสัชกรรม สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข โดยมีผู้แทนจากทั้งสองฝ่ายร่วมเป็นสักขีพยาน ณ ห้องประชุม 1 สำนักงานคณบดี ชั้น 5 อาคารบริหาร คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

การลงนามบันทึกข้อตกลงครั้งนี้ ศูนย์พิษวิทยา โดย คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับหน่วยงานภายในประเทศ ได้แก่ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ องค์การเภสัชกรรม สถานเสาวภา สภากาชาดไทย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข และสมาคมพิษวิทยาคลินิก ในการดำเนินงาน “โครงการเพิ่มการเข้าถึงยากำพร้ากลุ่มยาต้านพิษ” ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนยากำพร้ากลุ่มยาต้านพิษในประเทศไทย และช่วยให้ผู้ป่วยที่ได้รับพิษหรือถูกงูพิษกัด สามารถเข้าถึงยาได้อย่างสะดวก เหมาะสม ทันการณ์ และลดอัตราตายของผู้ป่วย อีกทั้งยังช่วยประหยัดงบประมาณของประเทศในการจัดสรรยาและสามารถให้ความช่วยเหลือแบ่งปันยาต้านพิษให้แก่ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกที่ขาดแคลนยา

                                   

ข้อมูลและภาพ : คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
เรียบเรียงโดย งานสื่อสารองค์กร กองบริหารงานทั่วไป