สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย ม.มหิดล จัดงาน “สาธารณศิลป์ อยู่เย็นเป็นสุข ณ ศาลายา”

คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล ผนึกเครือข่ายรัฐ-เอกชน เปิดการแข่งขันหุ่นยนต์ระดับโลก World RoboCup 2022
July 13, 2022
วิทยาลัยศาสนศึกษา ม.มหิดล จัดบรรยายทางวิชาการระดับนานาชาติ “Mahidol University’s CRS Religious Studies Seminars”
July 13, 2022

สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย ม.มหิดล จัดงาน “สาธารณศิลป์ อยู่เย็นเป็นสุข ณ ศาลายา”

วันที่ 13 กรกฎาคม 2565 รองศาสตราจารย์ ดร. ภก.สมภพ ประธานธุรารักษ์ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมงาน “สาธารณศิลป์ อยู่เย็นเป็นสุข ณ ศาลายา” โดยมี นายชยชัย แสงอินทร์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม เป็นประธานเปิดงาน นายอดุลกิตติ์ อินแก้ว ปลัดอำเภอหัวหน้ากลุ่มงานบริหารงานปกครอง รักษาราชการแทนนายอำเภอพุทธมณฑล กล่าวรายงาน จัดโดย กลุ่มวิจัยนิเวศวิทยาวัฒนธรรม สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล ณ วัดสุวรรณาราม จังหวัดนครปฐม

ภายในงานมีกิจกรรมการแสดงทางวัฒนธรรม อาทิ การทำตุ๊กตาฉลุกระดาษ สีสันจากดอกไม้ การตกแต่งขวดสเปรย์แอลกอฮอล์แฟนตาซี การปั้นแหวนแทนใจ เรือนมหาสวัสดี กลุ่มนิเวศสุนทรีย์ ขนมพื้นถิ่นไทย – เพื่อนบ้านอาเซียน กลุ่มชาวไทยเชื้อสายมอญ – มอญบ้านโป่ง และมหรสพรื่นเริงจากทุนทางวัฒนธรรมของทางพื้นที่ศาลายา เครือข่ายศิลปินชื่อดังจากภายนอกชุมชน พิพิธภัณฑ์เคลื่อนที่ วิวิธชาติพันธุ์ ตอน สีสันบนสายสร้อย สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล และกิจกรรมต่าง ๆ ที่น่าสนใจจากส่วนงานมหาวิทยาลัยมหิดล รวมทั้ง มีการเปิดตัวต้นกัลปพฤกษ์ ในความหมายของ “Wishing Tree” ที่เกิดจากการบูรณาการศิลปกรรมหลายแขนงเข้าด้วยกัน โดยหวังว่า กิจกรรมดังกล่าวจะนำมาสู่ “การเยียวยาจิตใจและเปิดพื้นที่แห่งความสุข” ให้กับคนในศาลายา

งานสาธารณศิลป์ “อยู่เย็นเป็นสุข ณ ศาลายา” เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยสาธารณศิลป์ : การสร้างสรรค์ศิลปกรรมเพื่อวิถีความเหมาะสมใหม่ในการขับเคลื่อนสังคมวัฒนธรรมหลังสถานการณ์ระบาดของโควิด-19 โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นันธิดา จันทรางศุ ประธานกลุ่มวิจัยนิเวศวิทยาวัฒนธรรม/หัวหน้าโครงการฯ ดร.วิจิตร อภิชาตเกรียงไกร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภาวิณี บุญเสริม และภาคีเครือข่าย ศิลปิน นักวิชาการสาขาศิลปกรรมศาสตร์ ร่วมกันพัฒนาโมเดลงานสาธารณศิลป์เพื่อเยียวยาจิตใจของชุมชนศาลายา จังหวัดนครปฐม โดยการสร้างสรรค์ “ศิลปกรรมที่มีสุนทรียภาพและมีความเหมาะสมใหม่” บนฐานคิดสำคัญ ได้แก่ “เก็บ” คือ อนุรักษณ์ทุนทางวัฒนธรรมชุมชน “ทิ้ง” คือ ทิ้งสิ่งที่ไม่เหมาะสมบางอย่าง “สร้าง” คือ รื้อและสร้างใหม่อย่างสร้างสรรค์การมีส่วนร่วมของชุมชนผ่านงานดนตรี การแสดง ทัศนศิลป์และประติมากรรม ที่จะนำไปสู่การสร้างพื้นที่สาธารณะในการเยียวยาและการสร้างสรรค์สังคมให้ฟื้นคืนจากวิกฤติ COVID-19 ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบได้ตามบริบทของพื้นที่อื่น ๆ ได้ในอนาคตเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน