มหาวิทยาลัยมหิดลเยือนและเจรจาความร่วมมือกับ กระทรวงสาธารณสุข Cleveland Clinic และโรงพยาบาลในประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

ม.มหิดล จัดการประชุมเครือข่ายผู้บริหารด้านพัฒนาคุณภาพระดับส่วนงาน
November 18, 2022
มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมสัมมนาผู้บริหาร และประธานคลัสเตอร์ (ERUN: Meeting) ภายใต้หัวข้อ “RUN Foresight”
November 18, 2022

มหาวิทยาลัยมหิดลเยือนและเจรจาความร่วมมือกับ กระทรวงสาธารณสุข Cleveland Clinic และโรงพยาบาลในประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

วันที่ 17 – 18 พฤศจิกายน 2565 ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ภัทรชัย กีรติสิน รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล รองศาสตราจารย์ ดร.นภเรณู สัจจรักษ์ ธีระฐิติ รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาสตราจารย์ นายแพทย์อภิชาติ อัศวมงคลกุล คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ศาสตราจารย์ นายแพทย์ปิยะมิตร ศรีธรา คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และรองศาสตราจารย์ ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการต้อนรับจาก ฯพณฯ วราวุธ ภู่อภิญญา เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงอาบูดาบี และนายชัยรัตน์ ศิริวัฒน์ เอกอัครราชทูตประจำกระทรวงการต่างประเทศ ระหว่างการเดินทางเยือนประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

ในการนี้ มหาวิทยาลัยมหิดลได้เยือนกระทรวงสาธารณสุขอาบูดาบี (Department of Health of Abu Dhabi), Khalifa University, Cleveland Clinic Abu Dhabi, Dubai Hospital และ Dubai Health Authority และเจรจาความร่วมมือมือด้านการศึกษา อาทิ การทำหลักสูตรร่วม (Collaborative Degree) ในระดับบัณฑิตศึกษาในสาขา Medical Education ร่วมกับ Khalifa University ความร่วมมือด้าน Trainings/ Fellowship Programme และ Short-Course Training สำหรับบุคลากรทางการแพทย์กับกระทรวงสาธารณสุข ณ กรุงอาบูดาบี และ Dubai Health Authority

ในด้านการวิจัย ได้มีการเจรจาในหัวข้อการวิจัยที่สามารถดำเนินการร่วมกันได้ เช่น Bio-Plasma Therapy และการบริจาคเครื่องมือ Bio-Plasma Therapy จากรัฐบาลไทย การวิจัยในเรื่อง Thalassemia and Gene Therapy, CAR T-cell Therapy ฯลฯ กับ Dubai Hospital และการริเริ่มความร่วมมือในการวิจัยคลินิกกับ Cleveland Clinic Abu Dhabi ต่อไป

ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยมหิดลจะได้มีการพัฒนาข้อตกลงความร่วมมือ (MoU) กับสถาบันต่าง ๆ ในประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ รวมถึงการติดตามความคืบหน้าผ่านการประชุมออนไลน์และการจัดเวทีให้นักวิจัยจากทั้งสองประเทศได้เจรจารายละเอียดเพิ่มเติมในการพัฒนาความร่วมมือทางการวิจัยร่วมกัน