วันที่ 5 เมษายน 2565 รองศาสตราจารย์ ดร.มรกต ไมยเออร์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ “สร้างสังคมสูงวัย รู้ทันสื่อ” กับ นางสุจิตรา พิทยานรเศรษฐ์ อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นายวันชัย บุญประชา ประธานบริษัท ทํามาปัน จํากัด นายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน ประธานสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการสํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และนายกฤษณะเดช โสสุทธิ ตัวแทนเครือข่ายคณะทํางานสูงวัยรู้ทันสื่อ ณ ห้องประชุมแม็กโนเลีย ชั้น 4 อาคารทีเค 3 โรงแรมทีเค พาเลซ แอนด์ คอนเวนชั่น เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ
จากนั้น ได้รับเกียติจาก นายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน ประธานสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ปาฐกถา หัวข้อ “สังคมสูงวัยกับการรู้เท่าทันสื่อ” และการบรรยายหัวข้อ “การส่งเสริมการเรียนรู้เท่าทันสื่อของผู้สูงวัย” โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.มรกต ไมยเออร์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล นางสุจิตรา พิทยานรเศรษฐ์ อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการสํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นายวันชัย บุญประชา ประธานบริษัท บริษัท ทํามาปัน จํากัด และนายกฤษณะเดช โสสุทธิ ตัวแทนคณะทํางานสูงวัยรู้ทันสื่อ ร่วมเป็นวิทยากรบรรยาย
การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือครั้งนี้ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับกรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ บริษัท ทำมาปัน จำกัด สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และเครือข่ายคณะทำงานสูงวัยรู้ทันสื่อ 12 จังหวัด (พะเยา เชียงราย อุบลราชธานี ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ ยโสธร หนองคาย มหาสารคาม สุรินทร์ เลย กระบี่ และตรัง) เพื่อผสานพลังในการขับเคลื่อน สร้างสังคมสูงวัยรู้ทันสื่อให้เกิดนโยบาย งานวิชาการ และกลไกสร้างการเรียนรู้ที่เป็นรูปธรรม เสริมสร้างภูมิคุ้มกันในการใช้สื่อให้กับผู้สูงอายุยุค New Normal ให้เกิดผลในวงกว้างอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ร่วมพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้สูงอายุรู้เท่าทันสื่อ ทั้งด้านการใช้สื่อใหม่ การรู้เท่าทันและการเฝ้าระวัง ให้สอดคล้องกับการเรียนรู้ของผู้สูงอายุในพื้นที่ต่าง ๆ ในระดับจังหวัด สร้างกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้สูงอายุรู้เท่าทันสื่อภายในจังหวัด พัฒนางานวิชาการที่ทำให้เห็นถึงสถานการณ์ แนวทางป้องกันแก้ไข เพื่อให้สามารถกำหนดนโยบายที่เหมาะสมและพัฒนาเครื่องมือสร้างการเรียนรู้ให้ตรงกับบริบทของผู้สูงอายุในพื้นที่ต่าง ๆ สร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับผู้สูงอายุ และประชาชน ในประเด็นการรู้เท่าทันสื่อ รวมทั้ง การดูแลสุขภาพ สิทธิสวัสดิการ การพัฒนาความสามารถและเรื่องอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ในการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของผุ้สูงอายุ