ม.มหิดล ร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อรับฟังความคิดเห็นต่อข้อเสนอเชิงนโยบาย ในการยกระดับสถาบันอุดมศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐานในระดับสากล

คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ลงนามความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) กับ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
January 28, 2022
มหาวิทยาลัยมหิดล จัดประชุมภาคีเครือข่ายด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปะ ของมหาวิทยาลัยมหิดล ครั้งที่ 1/2565
January 28, 2022

ม.มหิดล ร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อรับฟังความคิดเห็นต่อข้อเสนอเชิงนโยบาย ในการยกระดับสถาบันอุดมศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐานในระดับสากล

วันที่ 28 มกราคม 2565 ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร. ภญ.จุฑามณี สุทธิสีสังข์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อรับฟังความคิดเห็นต่อข้อเสนอเชิงนโยบาย ในการยกระดับสถาบันอุดมศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐานในระดับสากล โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานการประชุม ผ่านระบบออนไลน์

จากนั้น เป็นการบรรยายหัวข้อ “ถอดรหัสผลการศึกษาในเรื่องของการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยสู่การจัดอันดับบน Time Higher Education World University Rankings” โดย รองศาสตราจารย์วิทวัส แจ้งเอี่ยม และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์มารุต ตั้งวัฒนาชุลีพร และหัวข้อ “บทบาทของ สป.อว. ในการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไทยสู่การจัดอันดับ” โดย นายพันธุ์เพิ่มศักดิ์ อารุณี หัวหน้ากลุ่มภารกิจบริหารยุทธศาสตร์ สป.อว. ต่อด้วยการเสวนาในหัวข้อ “ทำอย่างไรในการเข้าสู่การจัดอันดับ และยกระดับมหาวิทยาลัยไทยสู่อันดับ Top 200 600 และ 1000 บน Times Higher Education World University Rankings” โดย ศาสตราจารย์พีระพงศ์ ทีฆสกุล ศาสตราจารย์สมชาติ โสภณรณฤทธิ์ ศาสตราจารย์สุรศักดิ์ วงศ์รัตนชีวิน ร่วมการเสวนา รองศาสตราจารย์รัฐชาติ มงคลนาวิน เป็นผู้ดำเนินรายการ

การประชุมครั้งนี้ จัดโดย สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งได้ดำเนินโครงการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก และการจัดอันดับของสถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ สังเคราะห์ และวิจัยข้อมูลคุณภาพเชิงลึกของสถาบันอุดมศึกษาของไทย โดยใช้ THE’s Country Insights Dashboard (CID) รวมถึงการสร้างเครื่องมือเพื่อยกระดับมหาวิทยาลัยไทยสู่ World Class University การสร้างจุดแข็งต่าง ๆ และผลักดันให้สถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทย สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล