มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมเสวนาโครงการเครือข่ายพันธมิตรการวิจัยสหวิทยาการ หัวข้อ “Towards an interdisciplinary research collaboration with social sciences”

ขอเชิญชวนผู้บริหารมหาวิทยาลัย หัวหน้าส่วนงาน ตลอดจนบุคลากรทุกท่าน “งดให้ งดรับ ของขวัญ ของกำนัล” (No Gift Policy)
April 28, 2022
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ กับ บริษัท อี-สแควร์ สิ่งแวดล้อมและวิศวกรรม จำกัด
April 29, 2022

มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมเสวนาโครงการเครือข่ายพันธมิตรการวิจัยสหวิทยาการ หัวข้อ “Towards an interdisciplinary research collaboration with social sciences”

วันที่ 29 เมษายน 2565 ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ภัทรชัย กีรติสิน รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมเสวนาโครงการเครือข่ายพันธมิตรการวิจัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยมหิดลและศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) โดยมี ดร.ธีรยุทธ ตู้จินดา รองผู้อำนวยการด้านวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมเสวนา การเสวนาในครั้งนี้ จัดขึ้นในหัวข้อ “Towards an interdisciplinary research collaboration with social sciences” โดยได้รับเกียรติจาก คณะกรรมการอำนวยการภาคีเครือข่ายด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปะของมหาวิทยาลัยมหิดล (MU-SSHA) ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.มรกต ไมยเออร์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย รองศาสตราจารย์ ดร.อารี จำปากลาย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยประชากรและสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.วิชิตา รักธรรม คณบดีวิทยาลัยการจัดการ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุภรักษ์ สุริยันเกียรติแก้ว ผู้ช่วยคณบดีวิทยาลัยการจัดการ ร่วมการเสวนา รองศาสตราจารย์ ดร.โธมัส กวาดามูซ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิจัยและวิชาการ ในฐานะประธานคณะกรรมการภาคีเครือข่าย MU-SSHA เป็นผู้ดำเนินการเสวนา ผ่านระบบออนไลน์

ตามที่ มหาวิทยาลัยมหิดล และศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) ได้มีความร่วมมือระหว่าง 2 หน่วยงาน ภายใต้โครงการ “เครือข่ายพันธมิตรการวิจัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยมหิดลและศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)” และกำหนดให้มีการจัดกิจกรรมความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดล และ BIOTEC ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เพื่อเปิดมุมมองความรู้ ความเข้าใจ ผ่านประสบการณ์การพัฒนางานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ ด้วยแนวคิดทางสังคมศาสตร์ (Social Sciences) อีกทั้ง สร้างโอกาสการพัฒนางานวิจัยร่วมกัน ระหว่างนักวิจัยในสาขาวิทยาศาสตร์ของ BIOTEC กับนักวิจัยในสาขาสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ในอนาคตต่อไป