คณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.มหิดล ร่วมเสวนา เรื่อง “มหานครโควิด-19 ชะตากรรมคนจนเมือง”

มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมประชุมประเมินผลงานการวิจัย (Site Visit) โครงการวิจัยและพัฒนาภาครัฐร่วมเอกชนในเชิงพาณิชย์
June 22, 2021
ศูนย์ความร่วมมือด้านการวิจัยผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง คณะพยาบาลศาสตร์ ม.มหิดล จัดการประชุมสัมมนา ครั้งที่ 1 “The Current State of Science of Hypertension Guideline and the Challenges of Hypertension Management during COVID-19 Outbreak”
June 23, 2021

คณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.มหิดล ร่วมเสวนา เรื่อง “มหานครโควิด-19 ชะตากรรมคนจนเมือง”

ph1

วันที่ 22 มิถุนายน 2564 รองศาสตราจารย์ ดร.ชะนวนทอง ธนสุกาญจน์ คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมเสวนา เรื่อง “มหานครโควิด-19 ชะตากรรมคนจนเมือง” โดยมี ดร. สมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึง สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายแพทย์วิรุฬ ลิ้มสวาท ผู้อำนวยการสำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ คุณประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ ผู้ก่อตั้งและเลขาธิการมูลนิธิดวงประทีป ร่วมเสวนา จัดโดย สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ร่วมกับ The Active เพจเวทีสาธารณะ ผ่าน YouTube Channel ช่อง The Active x Public Forum

รองศาสตราจารย์ ดร.ชะนวนทอง ธนสุกาญจน์ กล่าวถึง ประสบการณ์การทำงานในพื้นที่ชุมชนของย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธีในช่วงที่มีการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ในกรุงเทพมหานคร โดยเสนอความคิดจากการทำงานที่เกิดขึ้นใน 5 ชุมชนของย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธี โดยสรุป 3 ประเด็น ได้แก่

1.) ความจำเป็นที่จะต้องมีข้อมูลหลายระดับที่ถูกต้อง และเป็นปัจจุบัน เช่น ข้อมูลการติดเชื้อ การกักตัว ข้อมูลทางกายภาพของโครงสร้างที่อยู่อาศัย ข้อมูลชุมชนเกี่ยวกับจุดเสี่ยง พื้นที่เสี่ยง วิถีชีวิตเสี่ยง การเคลื่อนย้ายเข้าออกในชุมชน ตลอดจนข้อมูลการเข้าถึงอุปกรณ์ในการป้องกันเชื้อโรค สิ่งของยังชีพ กรณีกักตัว ข้อมูลการจัดการ และการกระจายสิ่งของที่ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรในย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธี

2.) ความสำคัญของการทำงานร่วมกับคนในชุมชน การพัฒนาระบบข้อมูล และระบบเฝ้าระวัง เพื่อป้องกันการระบาดโรค สร้างช่องทางการสื่อสารข้อมูลที่เข้าใจง่าย สร้างทีมคณาจารย์และชุมชนจิตอาสาการสอบสวนโรค สร้างกลไกการส่งต่อผู้ติดเชื้อ และทีมดูแลส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยง คนงาน เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานของแคมป์ก่อสร้าง เพื่อให้คนในชุมชนทุกคน และชาวต่างด้าวได้มีส่วนร่วม เป็นแนวกั้นโรคโควิด-19 โดยให้ทุกคนได้รับการดูแลด้านสุขภาพอย่างทั่วถึง

3.) การร่วมผลักดัน พัฒนาความสามารถคนในชุมชน และแก้ไขกฎระเบียบ ในการจ้างงานคนในชุมชนให้ช่วยทำงานที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการระบาดของโรคโควิด-19

ทั้งนี้ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีบทบาทสำคัญในการเชื่อมโยงข้อมูลทางการแพทย์กับชุมชน การพัฒนาสุขภาวะของชุมชนย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธี การให้ความรู้กับชุมชนในการป้องกันโรคโควิด-19 โดยความร่วมมือของภาคีเครือข่าย ทุกภาคส่วน การมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกัน ควบคุมโรค และร่วมวางแผน ตัดสินใจ เพื่อให้ประเทศไทยผ่านวิกฤตการแพร่ระบาดครั้งนี้ไปได้