วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานสัมมนาวิชาการระดับนานาชาติด้านคนพิการ ครั้งที่ 7 (The 7 th Ratchasuda Virtual International Conference on Disability 2021 on Inclusion Futures: Policies, Practices and Funding)

สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย ม.มหิดล ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเดอ มงฟอร์ต ประเทศอังกฤษ
June 24, 2021
โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี ม.มหิดล จัดบรรยายหัวข้อ “แนวทางการพัฒนามหาวิทยาลัยเชิงนิเวศ” (Eco University)
June 25, 2021

วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานสัมมนาวิชาการระดับนานาชาติด้านคนพิการ ครั้งที่ 7 (The 7 th Ratchasuda Virtual International Conference on Disability 2021 on Inclusion Futures: Policies, Practices and Funding)

45788

วันที่ 25 มิถุนายน 2564 รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ธันย์ สุภัทรพันธุ์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานเปิดงานสัมมนาวิชาการระดับนานาชาติด้านคนพิการ ครั้งที่ 7 (The 7th Ratchasuda Virtual International Conference on Disability 2021 on Inclusion Futures: Policies, Practices and Funding) ในโอกาสนี้ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์พูนพิศ อมาตยกุล กรรมการและเลขานุการมูลนิธิราชสุดา ให้เกียรติเข้าร่วมงานในครั้งนี้ โดยมี แพทย์หญิงวัชรา ริ้วไพบูลย์ คณบดีวิทยาลัยราชสุดา พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร คณาจารย์และ เจ้าหน้าที่ ร่วมให้การต้อนรับ ณ ห้องประชุมใหญ่ชั้น 3 อาคารอำนวยการ วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล

45785

การสัมมนาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ส่งเสริมความร่วมมือของภาคีเครือข่ายสถาบันการศึกษา และหน่วยงานองค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการผลิตและเผยแพร่ผลงานทางวิชาการด้านคนพิการในระดับนานาชาติ ภายในงานมีการแสดงปาฐกถา ในหัวข้อ “Inclusive Education for All: Reflections on Citizenship and CRPD” โดย Professor Chang Heng-Hao, National Taipei University, Taiwan การอภิปราย หัวข้อ “Living and Learning in a Digital World: Equity & Inclusion” โดย Dr. Mandia Mentis, Dr.Lucila Carvalho, Dr.Wendy Holley-Boen and Ms.Malia Iona Tuala, Massey University, New Zealand โดย อาจารย์ ดร.อิศวรา ศิริรุ่งเรือง เป็นผู้ดำเนินการอภิปราย นอกจากนั้นการเสนอผลงานทางวิชาการ จำนวน 6 เรื่อง (Full Paper/ABSTRACT) และพิธีมอบรางวัลสำหรับผู้ชนะการนำเสอผลงานอีกด้วย ซึ่งได้ความสนใจจากภาคีเครือข่ายสถาบันการศึกษา อาจารย์ นักวิจัย นิสิต นักศึกษา บุคคลทั่วไป และหน่วยงานองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศ เข้าร่วมงานสัมมนา ในรูปแบบ Webiner

45787