คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ 28/2564 ของ คณะวิทยาศาสตร์

มหาวิทยาลัยมหิดล จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ “โครงการพัฒนาทักษะด้านวิชาการเพื่อเตรียมผลงานวิชาการรับใช้สังคมสำหรับการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ รุ่น 1”
July 29, 2021
คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ 29/2564 ของคณะเภสัชศาสตร์
July 29, 2021

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ 28/2564 ของ คณะวิทยาศาสตร์

sc10

วันที่ 29 กรกฎาคม 2564 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ 28/2564 (Council Visit) ของ คณะวิทยาศาสตร์ เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ 2564-2565 และรับฟังผลสำเร็จของการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร. พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารคณะ เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็นโดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

การดําเนินงานตามเป้าหมายที่ผ่านมาและคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต

  1. สร้างหลักสูตรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผลิตบุคลากรที่มีทักษะการวิจัย เป็นที่ยอมรับในสากล/มีทักษะการเป็นผู้ประกอบการ
  2. สนับสนุนนักวิจัย คณาจารย์ ให้ได้รับการยอมรับในระดับสากล เพิ่มขึ้น ร้อยละ 5 ของจำนวนบุคลากรสายวิชาการ และผลิตผลงานวิจัยที่นำไปใช้ในการแก้ปัญหาของสังคม จำนวน 2 เรื่อง ภายในปี 2564
  3. Digital Transformation บริหารจัดการองค์กร ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงและความท้าทายทุกด้าน และสร้างศักยภาพในการเติบโต
  4. ตั้งศูนย์ MUSC solutions เพื่อสร้างความร่วมมือในงานวิจัยกับภาคเอกชนอย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มโครงการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีสู่สังคม จำนวน 10 โครงการ/กิจกรรม ภายในปี 2564
  5. จัดทำผังแม่บท และปรับปรุงด้านการจัดการกายภาพและสิ่งแวดล้อม แล้วเสร็จภายในปี 2564 และได้รับรางวัลความเป็นเลิศด้านการบริหารจัดการตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ ในปี 2565

เป้าหมายที่จะดำเนินการเพิ่มเติมในอีก 2 ปีข้างหน้า

  1. มุ่งเป็นอันดับหนึ่งด้านวิจัยวิทย์ของประเทศ เพื่อชี้นำสังคม รวมถึงสร้างความร่วมมือกับพันธมิตรในต่างประเทศ
  2. มุ่งสร้างบัณฑิตที่พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต สร้างการศึกษา One Mahidol Science Education ทั้งนักศึกษาวิทยาศาสตร์ และวิทยาศาสตร์การแพทย์ พัฒนาหลักสูตรผ่านการรับรองตามเกณฑ์มาตรฐานสากล และหลักสูตรยืดหยุ่นระดับปริญญาตรี โดยมีระบบการสอบ AI-based aptitude test
  3. การสื่อสารวิทยาศาสตร์สู่สาธารณะและใช้ความรู้เพื่อประโยชน์สังคม เพิ่มรายได้จากนวัตกรรม การบริการวิชาการ
  4. Digital Transformation สู่องค์กรที่บริหารจัดการโดยข้อมูลทั้งการศึกษา วิจัยและการดำเนินการ มุ่งจะได้รับรางวัลความเป็นเลิศด้านการบริหารจัดการตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ ในปี 2565 และมีการบริหารจัดการแบบ SDGs-oriented operations
  5. นำ Digital Technology มาใช้เพื่อการศึกษาแบบ hybrid พัฒนาระบบการสอนปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและวิทยาศาสตร์การแพทย์
  6. Mahidol Downtown Campus เป็นพื้นที่รวมนวัตกรรมและวิทยาการของคณะวิทยาศาสตร์และพันธมิตร

ทั้งนี้ ที่ประชุมฯ ได้กล่าวชื่นชมการดำเนินงานของคณะและการบริหารการเปลี่ยนแปลง ด้วยความร่วมมือของทุกคนในคณะฯ ทำให้เห็นถึงศักยภาพและผลงานที่ชัดเจน ทั้งในด้านการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์องค์ความรู้และงานวิจัยสู่ประชาชน ที่ประชุมได้เสนอแนะเพิ่มเติมในการเชื่อมโยงโจทย์วิจัยร่วมกับภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อให้ตรงกับความต้องการและการใช้ประโยชน์ของสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ เช่น การผลักดันผลิตภัณฑ์ชุดตรวจ COVID-19 ที่เป็นงานวิจัยของคณะฯ ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เป็นต้น มีการเสนอให้ยกระดับการวางแผนในโครงการที่โดดเด่นเพื่อให้เกิด Impact สูง และผลตอบแทนในระยะยาว การดึงอาจารย์นักวิจัยผู้ใหญ่เข้ามาเป็น Mentor ร่วมกับนักวิจัยรุ่นใหม่ เพื่อขยายเครือข่าย เป็นต้น