คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ 31/2564 ของสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ 30/2564 ของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม
July 30, 2021
สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย ม.มหิดล จัดประชุมวิชาการนานาชาติ Southeast Asian Studies: Transnationalism, Colonialism and Authoritarianism in Modern Southeast Asia
July 31, 2021

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ 31/2564 ของสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา

hu8

วันที่ 30 กรกฎาคม 2564 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ 31/2564 ของสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ 2564 – 2565 และรับฟังผลสำเร็จของการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้ง การพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี ดร.วัชรฤทัย บุญธินันท์ ผู้อำนวยการสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารสถาบันเข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น ผ่านการประชุมออนไลน์ โดยมีประเด็น ดังต่อไปนี้

การดำเนินการตามเป้าหมายที่ผ่านมาและคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต

1. หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา ผลิตผู้นำการทำงานเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน สันติภาพ และการแปลงเปลี่ยนความขัดแย้งโดยสันติวิธีทั้งในประเทศและทวีปเอเชีย เป็นผู้ประสานงานหลักสูตร MA in Human Rights and Democratization ภายใต้ Global Campus of Human Rights ในระดับภูมิภาค Asia-Pacific ตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นมา

2. คณาจารย์ได้รับทุนโครงการวิจัยจากองค์กรทั้งในและต่างประเทศ เพื่อสร้างนวัตกรรมและผลักดันนโยบายสำคัญของประเทศและภูมิภาคอาเซียน โดยเฉพาะการพัฒนาประชาธิปไตย กระบวนการสันติภาพ และการคุ้มครองกลุ่มเปราะบาง มีนวัตกรรมที่จดแจ้งลิขสิทธิ์เป็นสื่อการสอนเรื่องการป้องกันการค้ามนุษย์

3. มีบทบาทสำคัญในการสร้างสันติภาพจังหวัดชายแดนใต้ โดยเฉพาะการสร้างความเข้าใจระหว่างศาสนาและการสร้างความร่วมมือระหว่างภาคประชาสังคม ได้แก่ การส่งเสริมการรวมตัวของชาวพุทธ และการสร้างความร่วมมือระหว่างภาคประชาสังคมและพรรคการเมืองในสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้

4. ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลนอร์เวย์ และเดนมาร์คให้ดำเนินการจัดฝึกอบรมด้านสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษาให้กับคณาจารย์และผู้สอนสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษาในภูมิภาค ASEAN โดยมีการขยายความร่วมมืออย่างต่อเนื่องในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา

5. ได้รับความไว้วางใจให้เป็นสำนักเลขาฯ ของเครือข่ายต่างๆ ในระดับภูมิภาค คือ เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนด้านการศึกษาสิทธิมนุษยชน (ASEAN University Network-Human Rights Education: AUN-HRE) ; โครงการ Strengthening Human Rights and Peace Research and Education in ASEAN/Southeast Asia (SHAPE-SEA) และโครงการศาสนาเพื่อสันติภาพ สภาศาสนสัมพันธ์แห่งประเทศไทย (Religions for Peace, Interreligious Council of Thailand)

เป้าหมายที่จะดำเนินการเพิ่มเติมในอีก 2 ปีข้างหน้า

1. การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ มุ่งพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาแบบ outcome-based education ในระดับบัณฑิตศึกษา และมุ่งส่งเสริมวัฒนธรรมสิทธิมนุษยชนและสันติภาพในวงกว้าง โดยมีแผนปรับปรุงวิชาเลือกระดับปริญญาตรีให้บรรจุอยู่ในหลักสูตร MUGE ของมหาวิทยาลัย

2. สร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ได้แก่ เป้าหมายที่ 4, 5,10 และ 16

3. ความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนา ขยายความร่วมมือในการพัฒนาศักยภาพให้บุคลากรทางการศึกษาชาวเมียนมาร์ด้านสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษาในปีงบประมาณ 2565

ทั้งนี้ ที่ประชุม ได้กล่าวชื่นชมและสนับสนุนแนวทางการดำเนินงานของ สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา ซึ่งเป็นหน่วยงานขนาดเล็กที่มีศักยภาพสูง มีความมุ่งมั่นในการทำงานด้านสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษาอย่างเต็มที่ สามารถทำงานขนาดใหญ่ได้ดี มีเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานในระดับนานาชาติ รวมทั้งมีการดำเนินงานที่สอดคล้องกับ SDGs และเสนอเพิ่มการดำเนินงานให้ครอบคลุมมิติของ SDGs ยิ่งขึ้น และบูรณาการองค์ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษาเข้ากับศาสตร์สาขาต่างๆ เช่น Health Science/Science and Technology เนื่องจากเป็นเรื่องพื้นฐานที่ทุกวิชาชีพควรมี รวมทั้งควรหาคู่ความร่วมมือกับส่วนงานภายในมหาวิทยาลัยเพื่อสร้างผลงาน/นโยบายที่ก่อให้เกิดประโยชน์ ต่อสังคมและประเทศชาติ และเผยแพร่งานวิชาการและนำผลงานวิจัยหรือองค์ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา จัดทำเป็น VDO clip เผยแพร่สู่สาธารณะ