คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ 36/2564 ของมหาวิทยาลัยมหิดล

การตรวจประเมินคุณภาพตามเกณฑ์ EdPEx ประจำปี 2564 โครงการจัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา ในรูปแบบการตรวจประเมิน Online MU EdPEx Assessment
August 10, 2021
การตรวจประเมินคุณภาพตามเกณฑ์ EdPEx ประจำปี 2564 คณะสัตวแพทยศาสตร์ ในรูปแบบการตรวจประเมิน Online MU EdPEx Assessment
August 11, 2021

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ 36/2564 ของมหาวิทยาลัยมหิดล

1

วันที่ 10 สิงหาคม 2564 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ 36/2564 ของมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อกำหนดเป้าหมายแผนดำเนินการ ปีงบประมาณ 2564 – 2565 และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล  พร้อมด้วยผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น ผ่านระบบออนไลน์  โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

การดำเนินงานตามเป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานได้เสนอไว้ (ปีงบประมาณ 2563-2564)

  1. ยุทธศาสตร์ด้านการวิจัย

– สร้าง MU –MRC และกลุ่มนักวิจัยสำเร็จรูปให้ได้ 6 กลุ่ม (Flagship 1)
– พัฒนาและวางระบบศูนย์เครื่องมือวิจัยกลางศาลายา ให้รองรับการทำวิจัย โดยใช้เทคนิคระดับสูง โดยการเพิ่มเครื่องมือที่จำเป็นให้เพียงพอและทันสมัย คล่องตัว
– การเพิ่มการขอทุนจากต่างประเทศ
– แก้ไขระเบียบการบริหารเงินทุนวิจัย

  1. ยุทธศาสตร์ด้านการศึกษา

– สามารถเปิดหลักสูตรที่เป็น Flexi Education ได้สำเร็จ (Flagship 2)
– จัดทำ Mahidol University Credit Unit Bank System ได้แล้วเสร็จและสามารถวางระบบเชื่อมโยงกับทุกส่วนงานได้สำเร็จ (Flagship 2)
– วางระบบการพัฒนานักศึกษาให้เป็น Global Talent ผ่านแนวคิด MU-HIDEF ให้แล้วเสร็จ
– ร้อยละ 15 ของหลักสูตรได้รับ International Accreditation

  1. ยุทธศาสตร์ด้านการบริการวิชาการ

– มี Platform ระบบบริการวิชาการระดับมหาวิทยาลัย (Flagship 3)
– ผลักดันให้มีนโยบายชี้นำสังคมจากมหาวิทยาลัยมหิดล (Flagship 3)
– หน่วยบริการวิชาการที่ได้รับรองมาตรฐานระดับชาติและนานาชาติ

  1. ยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการเพื่อการยั่งยืน

– ผลักดันให้มหาวิทยาลัยได้ TQC Plus
– สร้าง Global Talent Platform ด้านการวิจัยให้แล้วเสร็จ (Flagship 4.1)
– อันดับ Green University Ranking ไม่ต่ำกว่าอันดับ 80
– ได้รับการประเมิน ITA อยู่ในระดับ A
– ได้รับการจัดอันดับ THE Impact Ranking ไม่ต่ำกว่าอันดับ 300
– Digital Convergence University มีความสำเร็จถึงร้อยละ 70
– สร้างความเข้มแข็งให้กับ Joint Unit ที่มีอยู่ในปัจจุบันเพื่อตอบโจทย์ Multidisciplinary และ International
– Collaboration กับ Strategic Partner
– จัดตั้ง Mahidol Endowment Fund ให้สำเร็จ (Flagship 4.2)
– จัดตั้ง Ranking Unit
– จัดทำฐานข้อมูล BI ได้ร้อยละ 60
– EBITDA เป็นบวกทุกส่วนงาน

เป้าหมายที่จะดำเนินการเพิ่มเติมในอีก 2 ปีข้างหน้า ได้แก่
1. ผลักดันอันดับ Ranking ของมหาวิทยาลัยระดับโลก อยู่ในอันดับ 1-100 ของ Subject Ranking สาขา Medicine และ Pharmacy & Pharmacology อยู่ในลำดับที่ 101-200 ของ THE Impact Rankings
2. สนับสนุนให้กลุ่มนักวิจัยสำเร็จรูปผลิตผลงานวิจัยที่มีคุณภาพระดับสูง และได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Q1
3. สนับสนุนผลงานวิจัยตีพิมพ์ทางด้านสังคมศาสตร์ฯ
4. ผลักดันให้หลักสูตรระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยได้รับการรับรองตามเกณฑ์มาตรฐานสากล
5. การพัฒนาคุณภาพอาจารย์ตามเกณฑ์ MUPSF
6. มาตรฐานที่ถูกสร้างโดยมหาวิทยาลัย
7. การดำเนินการ Central Operating System
8. ข้อมูลด้านการเงินแบบ Real time
9. การพัฒนาศักยภาพบุคลากร (Talent Management)

ทั้งนี้ ที่ประชุมฯ ได้กล่าวชื่นชมอธิการบดี และทีมบริหารที่ร่วมแรงร่วมใจบริหารมหาวิทยาลัยได้ก้าวหน้าอย่างดียิ่งในทุกพันธกิจ  และขอให้มหาวิทยาลัยปลูกฝัง Sustainable Development Goals เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในทุกด้านให้แก่นักศึกษาและบุคลากรทุกระดับ และนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่สนใจของตลาดให้ทันต่อความต้องการ เช่น กระชายขาวต้านโควิด ชุดตรวจ Antigen Test Kit และวัคซีน covid-19 เป็นต้น รวมทั้ง การสร้างระบบ/กระบวนการความร่วมมือระหว่างส่วนงานเพื่อผลิตผลงานวิจัยและวิชาการร่วมกัน และดำเนินการแก้ปัญหาความล่าช้าการบริหารจัดการเงินทุนวิจัย พิจารณากฏระเบียบด้านการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล การนับอายุงานจริงตั้งแต่เริ่มปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัย จัดตั้งโรงเรียนระดับประถมและมัธยมศึกษา เพื่อเป็นสวัสดิการการศึกษาแก่บุตรหลานของบุคลากร นอกจากนี้ สนับสนุนและเสนอการต่อยอดพัฒนา Application WE MAHIDOL ให้เป็น EDUCATION LIFE และผลักดันให้อาจารย์เข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการมากขึ้น ในระยะเวลา 5 ปีข้างหน้า ทั้งนี้ ควรเพิ่มขีดความสามารถของหน่วยงานที่ดูแลเรื่องตำแหน่งทางวิชาการให้มากยิ่งขึ้น