คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 4) ครั้งที่ 17/2568 ของคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 4) ครั้งที่ 19/2568 ของสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล
July 3, 2025
คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 4) ครั้งที่ 18/2568 ของคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
July 3, 2025

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 4) ครั้งที่ 17/2568 ของคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ 3 กรกฎาคม 2568 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล และทีมผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 4) ครั้งที่ 17/2568 ของ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โชติรส พลับพลึง คณบดีคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลากร เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น ณ ห้องประชุม 901 ชั้น 9 คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา และผ่านระบบออนไลน์

1. ผลสำเร็จที่ภาคภูมิใจของส่วนงานในระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา ตามแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยมหิดล
ยุทธศาสตร์ที่ 1 World Class Research & Innovation
1) ผลักดันให้เกิด Technology Accelerator อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งประกอบด้วยโรงงานต้นแบบเพื่อการพัฒนาชุดทดสอบ น้ำยา และอุปกรณ์การแพทย์ ที่ได้มาตรฐานการผลิตเครื่องมือแพทย์ ISO13485 และก่อตั้ง spinoff company ในการทำหน้าที่ ผลักดันงานวิจัยและนวัตกรรมของนักวิจัยตั้งแต่ต้นทางไปถึงปลายทาง (โครงการต่อเนื่อง)
2) ผลักดันงานวิจัยและนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาวิชาชีพเทคนิคการแพทย์และรังสีเทคนิค ใช้ประโยชน์พาณิชย์เกิดผลกระทบเชิงบวก และประโยชน์ต่อสังคมอย่างยั่งยืน อาทิ
      – การวิจัยพัฒนาวัสดุควบคุมคุณภาพ วัสดุทดสอบความชำนาญทางห้องปฏิบัติการ วัสดุอ้างอิง สำหรับการประกันคุณภาพห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ เพื่อรองรับความต้องการในการควบคุมและประกันคุณภาพของห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ ทั่วประเทศไทยและขยายสู่ประเทศอื่นในระดับภูมิภาค
      – การวิจัยเพื่อพัฒนาวิธีการตรวจหมู่เลือดพิเศษ Rh+ (Asian-type DEL) ในผู้บริจาคโลหิตหมู่เลือด Rh- ด้วยเทคนิคเชิงลึกระดับโมเลกุล นำมาซึ่งการเปิดให้บริการตรวจทางห้องปฏิบัติการระดับโมเลกุล โดยศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
      – การวิจัยเพื่อพัฒนาปัญญาประดิษฐ์สำหรับการคัดกรองภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็กและธาลัสซีเมีย
      – “Deep inspire” เพื่อช่วยนักรังสีเทคนิคสามารถตรวจสอบคุณภาพเอกซเรย์ปอดอัตโนมัติได้อย่างแม่นยำ
      – การศึกษาปริมาตรของสมองในคนไทยปกติแบ่งตามช่วงอายุ เพื่อนำไปใช้อ้างอิงปริมาตรสมองส่วนต่าง ๆ ในคนไทยปกติ

ยุทธศาสตร์ที่ 2 Innovative Education and Authentic Learning
1) หลักสูตรได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาตามเกณฑ์ AUN-QA (โครงการต่อเนื่อง)
2) พัฒนารูปแบบการเรียนแบบยืดหยุ่น (Flexible Education) เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ และเพิ่มโอกาสการเข้าถึงการเรียนรู้ให้กับกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ

ยุทธศาสตร์ที่ 3 Policy Advocacy, Leaders in Professional / Academic Services and Excellence in Capacity Building for Sustainable Development Goals
1) การเป็นองค์กรหลักของประเทศในการให้บริการโครงการประเมินคุณภาพห้องปฏิบัติการโดยองค์กรภายนอก (The External Quality Assessment Schemes in Clinical Laboratory) ที่มีมาตรฐานระดับสากล โดยได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC 17043 (โครงการต่อเนื่อง)
2) การได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC 17025 ของหน่วยทดสอบและประเมินผลิตภัณฑ์ทางด้านอาหารปลอดภัย ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อ การทดสอบทางพิษวิทยา และจุลชีววิทยา
3) การเป็นองค์กรผู้เชี่ยวชาญการประเมินเอกสารวิชาการสำหรับเครื่องมือแพทย์ตามประกาศของสำนักงานคณะกรรมการอาหาร และยา(โครงการต่อเนื่อง)
4) การเป็นหน่วยงานฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากรทางวิชาชีพ MT และ RT ที่ได้รับการยอมรับทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ (โครงการต่อเนื่อง)
5) การร่วมกับ อย. ในการยื่นขอเป็น regional center of regulatory excellence for medical devices ของ SEARN (South East Asia Regulatory Network) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ WHO
6) การขยายการให้บริการในรูปแบบ “One Lab” คลินิกเทคนิคการแพทย์ เพื่อเพิ่มช่องทางการเข้าถึงการรับบริการ ลดความแออัดในโรงพยาบาล เสริมสร้างสุขภาวะที่ดีให้กับประชาชนโดยรอบวิทยาเขต

ยุทธศาสตร์ที่ 4 Management Innovation for Sustainability
1) การเป็นต้นแบบสถานศึกษาปลอดภัย ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์และห้องปฏิบัติการวิจัย ที่มีมาตรฐานในระดับชาติและนานาชาติ (โครงการต่อเนื่อง)
2) การบูรณาการองค์ความรู้ เพื่อสร้างความตระหนักรู้ ความเข้าใจเรื่องสุขภาพ และสร้างเสริมสุขภาวะที่ดีให้กับชุมชน (โครงการต่อเนื่อง)
3) การนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อสนับสนุนการให้บริการ ลดขั้นตอนการ ปฏิบัติและอำนวยความสะดวกรวดเร็วให้ผู้รับบริการได้รับบริการที่มีคุณภาพ มีความปลอดภัย และทันสมัยอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (โครงการต่อเนื่อง)

2. เป้าหมายที่ท่านคาดหวังว่าจะดำเนินการเพิ่มเติมในอีก 2 ปีข้างหน้า (ปีงบประมาณ 2569-2570)
ยุทธศาสตร์ที่ 1: World Class Research & Innovation
1) การเป็นองค์กรต้นแบบในการวิจัยและนวัตกรรม ที่สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมอย่างยั่งยืน

ยุทธศาสตร์ที่ 2: Innovative Education and Authentic Learning
1) การขยาย module การเรียนรู้ และหลักสูตรในรูปแบบต่างๆ ที่ส่งเสริมการศึกษาแบบยืดหยุ่น
2) ขยายผลและเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาแบบ Work-integrated learning และส่งเสริมการใช้ Technology และนวัตกรรม เพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการเรียนรู

ยุทธศาสตร์ที่ 3: Policy Advocacy & Capacity Building for SDGs
1) การจัดตั้ง International Center for Clinical Laboratory Quality Assurance
2) การจัดตั้ง International Collaborating Center เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการอบรม พัฒนาความเข้มแข็งทางด้านเทคนิคการแพทย์และ รังสีเทคนิค
3) การจัดตั้ง National Clinical Laboratory Validation Center

ยุทธศาสตร์ที่ 4: Management Innovation for Sustainability
1) การวางแผนอัตรากำลังและพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้สอดรับกับการขยายงานในทุกพันธกิจ
2) มุ่งสู่การเป็นต้นแบบผู้นำสร้างเสริมสุขภาพด้วยกระบวนและนวัตกรรมในระดับปัจเจกบุคคล องค์กร และชุมชน
3) ขยายการนำเทคโนโลยี และ AI มาใช้ในการปรับปรุงกระบวนการเพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับผู้รับบริการ