วันที่ 4 กรกฎาคม 2568 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล และทีมผู้บริหาร รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 4) ครั้งที่ 22/2568 ของมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรีและรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธัชวีร์ ลีละวัฒน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิทยาเขตกาญจนบุรี มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลากร เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น ณ ห้องประชุมนิลกาญจน์ ชั้น 3 อาคารเรียนรวม วิทยาเขตกาญจนบุรี มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้
1. ผลสำเร็จที่ภาคภูมิใจของส่วนงานในระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา ตามแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยมหิดล
ยุทธศาสตร์ที่ 1 World Class Research & Innovation
1. การสร้างงานวิจัยแบบมุ่งเป้า เช่น การวิจัยจาก Synergy Climate Research Cluster วิจัยนำร่องลดการเผาในที่โล่งเพื่อสุขภาวะที่ดี ในพื้นที่ภาคเกษตรและพื้นที่ป่าอนุรักษ์จังหวัดกาญจนบุรี เป็นตัวกลางระหว่างภาครัฐและประชาชน เพื่อรองรับการดำเนินงานภายใต้ พรบ. บริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด ที่คาดว่าประกาศใช้ในปี 2568 และการวิจัยผลกระทบจาก Climate Change เพื่อป้องกันการเสียหายจากการที่ได้รับผลกระทบลมร้อนเข้าทำลายดอกลำไยบ้านแพ้ว มีการขยายผลไปสู่การนำเทคโนโลยีการโชยน้ำไปแก้ปัญหามะพร้าวลูกทุยลูกลีบ และลูกแตก
นอกจากนี้ มีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเกียวโต เพื่อจัดทำ Double Degree Program และมีการวิจัยต่อเนื่องในการใช้ข้อมูลดาวเทียมสำหรับรูปแบบของระบบเตือนภัยเพื่อการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนในอนาคต (โครงการต่อเนื่อง)
ยุทธศาสตร์ที่ 2 Innovative Education and Authentic Learning
1. หลักสูตรผ่านการรับรองจาก ASEAN University Network Quality Assurance: AUN-QA จำนวน 3 หลักสูตร (โครงการต่อเนื่อง)
2. ทุกหลักสูตรมีการปรับปรุงให้สอดคล้องกับนโยบาย Outcome Based Education และ Demand-driven Education โดยมีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ใน Real Working Environment ผ่านความร่วมมือกับสถานประกอบการ ครบทั้ง 7 หลักสูตร และในรูปแบบ Cooperative and Work Integrated Education (CWIE) จำนวน 3 หลักสูตร
นอกจากนี้ มีการส่งนักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและการจัดการภัยพิบัติ เพื่อไปปฏิบัติสหกิจศึกษาที่บริษัท T-MEC ณ ประเทศญี่ปุ่น ในปีการศึกษา 2568 (โครงการต่อเนื่อง)
3. ได้รับรางวัล UKPSF จำนวน 1 ท่าน และ SFHEA จำนวน 1 ท่าน รวมทั้ง MUPSF จำนวน 10 ท่าน (โครงการต่อเนื่อง)
4. จัดกิจกรรม Startup ร่วมกับมหาวิทยาลัยต่างประเทศ เพื่อช่วยสนับสนุนให้เกิดความเข้มแข็งทางด้าน Entrepreneur (โครงการต่อเนื่อง)
5. ทุกหลักสูตรมีเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน และ 7 ใน 8 หลักสูตรมีความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาต่างประเทศ (โครงการต่อเนื่อง)
ยุทธศาสตร์ที่ 3 Policy Advocacy, Leaders in Professional / Academic Services and Excellence in Capacity Building for Sustainable Development Goals
1. เข้าร่วมโครงการ Korea National University of Education (KNUE) UNESCO – UNITWIN Network โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา Teacher Quality Education for pre-service and in-service teachers ให้กับคุณครูในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี ส่งผลต่อการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษา การวิจัย และการสร้างนวัตกรรมทางการศึกษาของจังหวัดกาญจนบุรี (โครงการต่อเนื่อง)
2. การดำเนินการถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อเสริมสร้างขีดความร่วมมือกับองค์กรภายนอก (Capacity Building) และผลักดันการดำเนินงานที่สอดคล้องกับ BCG เช่น โครงการ Biomass Energy Generation for Sustainable Community. ได้รับทุนสนับสนุนจากมูลนิธิ Rockefeller Foundation ร่วมกับกองวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในการถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องการจัดการของเสียภาคชุมชน ภาคการเกษตร และภาคปศุสัตว์ และขยายผลไปสู่การเรียนรู้ของชุมชนบ้านสามัคคีธรรม จนสามารถผลิตปุ๋ยอัดเม็ดได้ที่โรงงานต้นแบบของวิทยาเขตกาญจนบุรี
นอกจากนี้ ได้ดำเนินโครงการการเพิ่มมูลค่าในระบบอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย “ไร่อ้อยไร้ควัน” โดยได้รับทุนสนับสนุนจาก สสส. ร่วมกับศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายภาคที่ 1 (ศอภ.1) เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้การเพิ่มมูลค่าวัสดุทางการเกษตร ในการใช้เป็นเศษวัสดุการเพาะเห็ด การทำปุ๋ยหมัก การทำถ่าน Biochar และการเพิ่มมูลค่าน้ำอ้อย
ยุทธศาสตร์ที่ 4 Management Innovation for Sustainability
1. ผลักดันการเป็น ECO and Smart Campus โดยการใช้ Clean Energy การรับรอง ISO 14001 การรับรอง Green Residence การรับรอง Green Area และการรับรอง Peer Evaluation ระดับประเทศ (โครงการต่อเนื่อง)
2. ด้าน Smart Campus มีการทำ Digital Transformation ในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างแบบครบวงจร ร่วมกับรองอธิการฯ ฝ่ายการคลัง และกองคลัง ส่งผลให้สามารถลดระยะเวลาการดำเนินการได้เกินกว่า50% และมีการใช้ Generative AI ในการทำ Knowledge Management ทางด้าน HR
เป้าหมายที่ท่านคาดหวังว่าจะดำเนินการเพิ่มเติมในอีก 2 ปีข้างหน้า (ปีงบประมาณ 2569-2570)
ยุทธศาสตร์ที่ 1 World Class Research & Innovation
1. การสร้างงานวิจัยแบบมุ่งเป้าผ่านกลุ่มวิจัย 4 กลุ่ม ในการผสานองค์ความรู้กับคู่ความร่วมมือให้สามารถนำผลงานวิจัยมาใช้ประโยชน์และตอบสนองประเด็นระดับโลก เช่น การผลิตผลงานวิจัยแบบมุ่งเป้าทางด้านคาร์บอนเครดิต และการใช้ประโยชน์จากการจัดเก็บคาร์บอน ทั้งภาคป่าไม้และภาคการเกษตร และการผลิตผลงานวิจัยแบบมุ่งเป้าเพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันการด้านการเกษตร และอุตสาหกรรมเกษตร ในพื้นที่ภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศ เพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของโลก
ยุทธศาสตร์ที่ 2 Innovative Education and Authentic Learning
1. ผลักดันหลักสูตรให้ได้รับการรับรองจาก ASEAN University Network Quality Assurance: AUN-QA เพิ่มเติม (โครงการต่อเนื่อง)
2. เพิ่มจำนวนหลักสูตร CWIE และสร้างระบบ Ecosystem เพื่อให้นักศึกษามีโอกาสปฏิบัติงาน CWIE ทั้งในและต่างประเทศ (โครงการต่อเนื่อง)
3. สร้าง Non degree courses แบบบูรณาการข้ามศาสตร์เพิ่มเติม
4. ส่งเสริมกิจกรรมกับคู่ความร่วมมือทั้งในและต่างประเทศให้มีความต่อเนื่องและยั่งยืน (โครงการต่อเนื่อง)
ยุทธศาสตร์ที่ 3 Policy Advocacy, Leaders in Professional / Academic Services and Excellence in Capacity Building for Sustainable Development Goals
1. ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องภายในพื้นที่ โดยใช้ประโยชน์จากการผสานพลังร่วมกับคู่ความร่วมมือ เช่น โครงการ Korea National University of Education (KNUE) UNESCO – UNITWIN Network โครงการร่วมกับมูลนิธิ สอวน. (โครงการต่อเนื่อง)
2. ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันการด้านการเกษตรและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เช่น โครงการ Biomass Energy Generation for Sustainable Community โครงการลดการเผาในที่โล่งเพื่อสุขภาวะที่ดี โครงการบูรณาการร่วมกันในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันการด้านการเกษตรเพื่อส่งออกร่วมกับภาครัฐและเอกชน
ยุทธศาสตร์ที่ 4 Management Innovation for Sustainability
ผลักดันการเป็น ECO and Smart Campus อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ โดยผลักดันการจัดการ Waste Management อย่างครบวงจร ผลักดันให้เกิดการรับรองมาตรฐาน ISO45001 และ ISO9001 (ที่สอดคล้องกับการจัดการ Climate Change) ผลักดันตามแผน “MUKA IT Master Plan leading to Digital Campus” เพื่อให้เป็น Smart Campus (โครงการต่อเนื่อง)