คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 4) ครั้งที่ 16/2568 ของวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 4) ครั้งที่ 15/2568 ของคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล
July 2, 2025
โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล จัดรายการ “สถานีพยาบาล” EP.16 “ภาวะเปราะบางในผู้สูงอายุ” ภัยเงียบที่ควรรู้
July 2, 2025

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 4) ครั้งที่ 16/2568 ของวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ 2 กรกฎาคม 2568 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล และทีมผู้บริหาร รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 4) ครั้งที่ 16/2568 ของวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ปรารถนา ปุณณกิติเกษม คณบดีวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลากร เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น ณ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล และผ่านระบบออนไลน์

1. ผลสำเร็จที่ภาคภูมิใจของส่วนงานในระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา ตามแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยมหิดล
ยุทธศาสตร์ที่ 1 World Class Research & Innovation
1. วิทยาลัยดำเนินงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นให้ผลงานวิจัยสามารถนำไปใช้ในการกำหนดนโยบายระดับประเทศ ผ่านความ ร่วมมือกับหน่วยงานผู้กำหนดนโยบาย เช่น กรมขนส่งทางบก, สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เป็นต้น (โครงการต่อเนื่อง)
2. ในช่วงปี 2562–2565 ผลงานตีพิมพ์ของวิทยาลัยส่วนใหญ่ (โดยเฉลี่ยร้อยละ 95) อยู่ในวารสารที่มีชื่ออยู่ในฐานข้อมูล Scopus และเพิ่มเป็นร้อยละ 100 ในปี 2566–2567 (โครงการต่อเนื่อง)
3. วิทยาลัยมีผลงานตีพิมพ์เฉลี่ยปีละ 44 เรื่อง ซึ่งเป็นผลงานที่สร้างคุณค่าทางสังคมและเกิดผลกระทบต่อสังคมอย่างเป็นรูปธรรม
4. คณาจารย์หลายท่านของวิทยาลัยได้รับการจัดอันดับให้อยู่ใน 100 อันดับแรกของโลก ด้านความยั่งยืน และด้านการศึกษา โดย Scopus และ AD Scientific Index Strategy

ยุทธศาสตร์ที่ 2 Innovative Education and Authentic Learning
1. การได้รับการรับรองคุณภาพระดับนานาชาติจาก AMBA และ BGA แสดงถึงความมุ่งมั่นของวิทยาลัยในการพัฒนาคุณภาพ การศึกษาสู่มาตรฐานระดับโลก สร้างความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจจากผู้เรียนและภาคธุรกิจ
2. ขยายตลาดหลักสูตร 4+1 โดยเปิดโอกาสให้นักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีศักยภาพสูงสามารถเรียนต่อในระดับปริญญาโทได้ ภายใน 5 ปี โดยได้รับความร่วมมือจากคณะต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยมหิดล เช่น คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะเทคนิคการแพทย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ และวิทยาลัยศาสนศึกษา เป็นต้น
3. ขยายหลักสูตรสองปริญญา แพทยศาสตรบัณฑิต – การจัดการมหาบัณฑิต (MDMM) ซึ่งหลักสูตร 6+1 นี้เป็นความร่วมมือกับ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เพื่อพัฒนานิสิตแพทย์ให้มีศักยภาพความเป็นผู้นำที่ผสมผสานความรู้ทางการแพทย์เข้า กับทักษะด้านการจัดการระดับสากล
4. โครงการ “PI Shape” ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เป็นการส่งเสริมการเรียนแบบคู่ขนาน โดยเปิดโอกาสให้ นักศึกษาแพทย์สามารถสะสมหน่วยกิตและนำไปใช้ต่อในหลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต (สาขาการจัดการธุรกิจสุขภาพ) ผ่านระบบคลังหน่วยกิตของวิทยาลัย เพื่อสร้างบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญทั้งด้านวิชาชีพและการบริหารองค์กร
5. เปิดตัวหลักสูตรออนไลน์ระดับปริญญาโท เพื่อรองรับผู้เรียนที่ต้องการความยืดหยุ่นในการจัดสรรเวลาเรียนและการทำงาน พร้อมทั้งยกระดับคุณภาพการศึกษา และขยายโอกาสการเข้าถึงการเรียนรู้ผ่านการเรียนรู้ในรูปแบบออนไลน์(โครงการต่อเนื่อง)
6. การเติบโตของจำนวนนักศึกษาหลังสถานการณ์โควิด-19 โดยวิทยาลัยได้ออกแบบหลักสูตรที่มีความยืดหยุ่น และตอบโจทย์ ความต้องการของตลาดแรงงานในอนาคต เพื่อดึงดูดนักศึกษา

ยุทธศาสตร์ที่ 3 Policy Advocacy, Leaders in Professional / Academic Services and Excellence in Capacity Building for Sustainable Development Goals
1. ความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมและพันธมิตร โดยมุ่งให้บริการด้านการฝึกอบรมและที่ปรึกษาแก่หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ในหลากหลายระดับ โดยในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ได้ดำเนินโครงการสำคัญหลายโครงการที่สร้างผลลัพธ์เชิงบวกและคุณค่าทางสังคม อย่างชัดเจน อาทิ: (โครงการต่อเนื่อง)
      1.1 โครงการ CIMB x CMMU: Sustainability 101 เป็นหลักสูตรอบรมที่ประกอบด้วย 6 หัวข้อหลัก ซึ่งเชื่อมโยงกับ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้ง 17 ประการ (SDGs) เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจด้านความยั่งยืนภายในองค์กร
      1.2 โครงการ Thai Health Academy เป็นหลักสูตรอบรมระยะเวลา 2 วัน มุ่งพัฒนาทักษะภาวะผู้นำสำหรับการบริหาร องค์กรอย่างยั่งยืน
      1.3 โครงการความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เป็นการออกแบบ กระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงระบบ เพื่อนำไปสู่การจัดทำแผนที่นำทาง (Roadmap) สำหรับการวิจัยเทคโนโลยีด้านโลก และอวกาศขั้นสูง
      1.4 เวทีเสวนาหัวข้อ SDG 12 และสิทธิมนุษยชนในภาคธุรกิจ เป็นกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ว่าด้วยการผลิตและบริโภค อย่างยั่งยืน (SDG 12) และประเด็นสิทธิมนุษยชนในภาคธุรกิจ โดยได้รับความร่วมมือจากพันธมิตรในอาเซียน และการสนับสนุนจากศูนย์อาเซียนเพื่อการศึกษาพัฒนาและการเสวนาด้านความยั่งยืน (ACSDSD)
2. ความร่วมมือระดับนานาชาติโดยวิทยาลัยได้เปิดหลักสูตรสำหรับผู้บริหารระดับสูง ได้แก่ Strategy and Innovation for Businesses in Asia (SIBA) ซึ่งออกแบบมาเพื่อเสริมสร้างศักยภาพของผู้นำธุรกิจให้สามารถแข่งขันในตลาดเอเชียที่มี ความซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว หลักสูตรนี้เป็นความร่วมมือระหว่างวิทยาลัย และ MIT Sloan School of Management (โครงการต่อเนื่อง)

ยุทธศาสตร์ที่ 4 Management Innovation for Sustainability
1. วิทยาลัยได้ปรับปรุงพื้นที่ชั้น 3,6 และ 7 โดยออกแบบให้เป็นพื้นที่เรียนรู้และทำงานร่วมกัน (Co-working & Learning Spaces) ที่มีความทันสมัย ยืดหยุ่น และสอดรับกับพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักศึกษาในยุคปัจจุบัน ทั้งยังช่วยสร้างบรรยากาศที่ เอื้อต่อการเรียนรู้อย่างแท้จริง (โครงการต่อเนื่อง)
2. ส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานเพื่อเป้าหมายด้านความยั่งยืน ซึ่งวิทยาลัยดำเนินโครงการประหยัดพลังงานผ่านการสร้าง ความตระหนักรู้แก่คณาจารย์และเจ้าหน้าที่ รวมถึงการบริหารจัดการห้องเรียนให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่งผลให้สามารถลดการใช้ ไฟฟ้าได้อย่างเป็นรูปธรรม และสอดคล้องกับนโยบายด้านความยั่งยืนของมหาวิทยาลัย
3. ปรับปรุงห้องเรียนชั้น 3,5 และ 6 ให้รองรับระบบการเรียนแบบ Hybrid เพื่อให้นักศึกษาสามารถเรียนได้ทั้งในรูปแบบออนไลน์ และเรียนในห้องเรียน ทำให้การเรียนการสอนมีความยืดหยุ่นและพร้อมรับทุกสถานการณ์เช่น สถานการณ์การแพร่ระบาดของ โควิด-19 (โครงการต่อเนื่อง)
4. สนับสนุนคณาจารย์ในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ ซึ่งสะท้อนถึงความมุ่งมั่นของวิทยาลัยในการส่งเสริมความเป็นเลิศทาง การศึกษาและพัฒนาศักยภาพของคณาจารย์อย่างต่อเนื่อง
5. วิทยาลัยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อเสริมสร้างศักยภาพด้านความยั่งยืนขององค์กร ตั้งแต่ปี 2563 ถึง 2567 โดยวิทยาลัย มีบทบาทสำคัญในการออกแบบและจัดหลักสูตรอบรมด้านความยั่งยืนให้แก่คณะและหน่วยงานต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ และทักษะด้านความยั่งยืน (โครงการต่อเนื่อง)

2. เป้าหมายที่ท่านคาดหวังว่าจะดำเนินการเพิ่มเติมในอีก 2 ปีข้างหน้า (ปีงบประมาณ 2569-2570)
ยุทธศาสตร์ที่ 1 World Class Research & Innovation
1. สร้างความร่วมมือที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้นกับพันธมิตรด้านวิจัยที่มีอยู่ทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติเพื่อพัฒนางานวิจัยที่มี คุณภาพและก่อให้เกิดผลกระทบสูงต่อสังคม โดยเน้นการร่วมมือกับหน่วยงานที่มีบทบาทในการกำหนดนโยบายระดับชาติ เช่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กรมการขนส่งทางบก รวมถึงสถาบันการศึกษาด้านบริหารธุรกิจ ชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ (โครงการต่อเนื่อง)
2. สร้างเครือข่ายวิจัยร่วมกับพันธมิตรใหม่ในประเทศและต่างประเทศ เพื่อขยายโอกาสในการร่วมทำงานวิจัย การพัฒนาองค์ความรู้ และเสริมสร้างความแข็งแกร่งของงานวิจัยในมิติที่หลากหลาย
3. เสริมสร้างทักษะและวัฒนธรรมการวิจัย โดยพัฒนาศักยภาพของคณาจารย์และนักวิจัยในการดำเนินงานวิจัยที่ตอบโจทย์เชิง นโยบาย และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง ทั้งในระดับชุมชน สังคม และภาคธุรกิจ
4. ส่งเสริมการเผยแพร่งานวิจัยของวิทยาลัยและการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญาร่วมกับพันธมิตร เพื่อเพิ่มการรับรู้และการนำผลงานวิจัยไปใช้จริง ทั้งในระดับวิชาการและระดับเชิงพาณิชย์ ร่วมกับเครือข่ายพันธมิตรของวิทยาลัย (โครงการต่อเนื่อง)

ยุทธศาสตร์ที่ 2 Innovative Education and Authentic Learning
1. เปิดหลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฏีบัณฑิต เป็นหลักสูตรที่ออกแบบมาสำหรับผู้บริหารระดับสูงและผู้ประกอบการที่มีประสบการณ์ และต้องการพัฒนาความรู้รวมถึงทักษะในการวิจัยขั้นสูง เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาทางธุรกิจที่ซับซ้อน และสร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อภาคธุรกิจ
2. ส่งเสริมการเรียนรู้และตอบโจทย์ความต้องการของสังคมด้วยหลักสูตรที่สร้างสรรค์และทันสมัย โดยวิทยาลัยออกแบบหลักสูตรที่เน้นพัฒนาทักษะผู้เรียนให้สอดคล้องกับความต้องการของสังคมและตลาดแรงงานในอนาคต
3. ยกระดับประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยเทคโนโลยีการศึกษา (EdTech) และการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์จริงส่งเสริมการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ผ่านการผสมผสานระหว่างนวัตกรรมทางการศึกษาและกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เรียนรู้จากสถานการณ์จริง (โครงการต่อเนื่อง)
4. บูรณาการการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ควบคู่กับการมีส่วนร่วมจากภาคอุตสาหกรรม ผ่านกิจกรรม เช่น การศึกษาดู งาน การบรรยายโดยผู้เชี่ยวชาญ และกรณีศึกษาทางธุรกิจ เพื่อให้นักศึกษาสามารถประยุกต์ความรู้ในห้องเรียนกับสถานการณ์ จริงในโลกธุรกิจ
5. พัฒนา “CMMU Connect Application” เพื่อให้นักศึกษา คณาจารย์ และบุคลากร เข้าถึงข้อมูลตารางเรียน การลงทะเบียน ข่าวสาร และการสื่อสารภายในได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ
6. พัฒนาระบบสารสนเทศด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ AI เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ในการจัดการเรียนการสอน การ ติดตามผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา และการบริหารงานวิชาการอย่างมีประสิทธิภาพ

ยุทธศาสตร์ที่ 3 Policy Advocacy, Leaders in Professional / Academic Services and Excellence in Capacity Building for Sustainable Development Goals
1. สร้างเสริมความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยชั้นนำ และพันธมิตรจากภาคอุตสาหกรรม เพื่อพัฒนาหลักสูตร สำหรับผู้บริหารและให้บริการที่ปรึกษาทางวิชาการอย่างมีประสิทธิภาพ (โครงการต่อเนื่อง)
2. เพิ่มจำนวนหลักสูตรสำหรับบุคคลทั่วไป เช่น หลักสูตร “พัฒนาทักษะใหม่แห่งอนาคต (Future Skills)” และ “หลักสูตรพัฒนา ผู้บริหารระดับสูงด้านภาวะผู้นำที่ยั่งยืน (Executive Development Program in Sustainable Leadership)” (โครงการต่อเนื่อง)
3. พัฒนาและเปิดตัวหลักสูตรใหม่ที่ตอบโจทย์การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) เพื่อรองรับความต้องการของผู้เรียนในทุก ช่วงวัย และสนับสนุนการพัฒนาทักษะอย่างต่อเนื่อง
4. สร้างการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและพันธมิตรที่เหมาะสม เพื่อเป็นช่องทางในการส่งเสริมกิจกรรมบริการวิชาการ

ยุทธศาสตร์ที่ 4 Management Innovation for Sustainability
1. ยกระดับคุณภาพและประสิทธิภาพการบริหารจัดการด้วยกลยุทธ์ SMART ส่งเสริมการปรับปรุงกระบวนการทำงานให้กระชับ และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI) แพลตฟอร์มดิจิทัลแบบบูรณาการ และการตัดสินใจโดยใช้ข้อมูล (Data-Driven Decision Making) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ลดความซ้ำซ้อน และยกระดับประสบการณ์การทำงานของบุคลากร (โครงการต่อเนื่อง)
2. พัฒนาขีดความสามารถของบุคลากร ความผูกพัน และส่งเสริมสุขภาวะบุคลากรที่ดีแบบองค์รวม
3. สร้างความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการขับเคลื่อนความยั่งยืน โดยใช้กลยุทธ์การสร้างความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ที่มีประสิทธิภาพ
4. พัฒนาสภาพแวดล้อมและพื้นที่ภายในวิทยาลัยให้เป็น “Innovation Playground” พื้นที่สร้างสรรค์เพื่อสนับสนุนสตาร์ทอัพ ของนักศึกษา และส่งเสริมการพัฒนาแนวคิดและนวัตกรรมใหม่ๆ (โครงการต่อเนื่อง)