มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมงานสัมมนาวิชาการ หัวข้อ Medical AI Consortium : ร่วมแชร์ เชื่อม ใช้ “ข้อมูล” ขับเคลื่อน AI เพื่อการแพทย์ไทย

มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมการประชุมสามัญที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย และสมาคมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 2/2568 และการประชุมสามัญ สออ.ประเทศไทย ครั้งที่ 1/2568
April 20, 2025
มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าเยี่ยมชมอุทยานวิทยาศาสตร์ (Science Park) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดสงขลา
April 21, 2025

มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมงานสัมมนาวิชาการ หัวข้อ Medical AI Consortium : ร่วมแชร์ เชื่อม ใช้ “ข้อมูล” ขับเคลื่อน AI เพื่อการแพทย์ไทย

วันที่ 21 เมษายน 2568 ศาสตราจารย์ นายแพทย์ปิยะมิตร ศรีธรา อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ นายแพทย์เชิดชัย นพมณีจำรัสเลิศ รองอธิการบดีฝ่ายสารสนเทศและดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน มหาวิทยาลัยมหิดล และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นริศ หนูหอม ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายสารสนเทศและดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมงานสัมมนาวิชาการ หัวข้อ Medical AI Consortium : ร่วมแชร์ เชื่อม ใช้ “ข้อมูล” ขับเคลื่อน AI เพื่อการแพทย์ไทย ในโอกาสนี้ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ปิยะมิตร ศรีธรา อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับเกียรติเป็นวิทยากร หัวข้อMedical AI ก้าวสำคัญสู่การพัฒนาการแพทย์แห่งอนาคต” โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเศษ นายแพทย์ธนินทร์ เวชชาภินันท์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ศาสตราจารย์ ดร.สมปอง คล้ายหนองสรวง ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ดร.ณิรวัฒน์ ธรรมจักร์ ผู้อำนวยการหน่วยบริหาร และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) ศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมการเสวนา จัดโดย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ณ โรงแรมแกรนด์ เซ็นเตอร์ พอยต์ ลุมพินี กรุงเทพฯ

โอกาสนี้ นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวถึงนโยบายของกระทรวง อว. ในการให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ผ่านนโยบาย “อว. for AI” มุ่งสร้างระบบนิเวศ AI ที่ครบวงจรทางการแพทย์เป็นเป้าหมายสำคัญที่ AI จะช่วยเพิ่มความแม่นยำ รวดเร็ว และลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการสุขภาพ การสนับสนุนการจัดตั้ง Medical AI Consortium ผ่านทุนวิจัยจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพค.) ในปัจจุบัน Medical AI Consortium มีสมาชิกเข้าร่วมขับเคลื่อนรวม 6 หน่วยงาน ได้แก่ กรมการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช

ทั้งนี้ แพลตฟอร์มข้อมูลกลางทางการแพทย์ (Medical AI Data Platform) พัฒนาขึ้น โดย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ซึ่งที่ผ่านมามีความท้าทายในการรวบรวมและบริหารจัดการข้อมูลที่กระจัดกระจายให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน Medical AI Consortium จึงก่อตั้งขึ้นและขับเคลื่อนให้เกิดแนวคิด “ร่วมแชร์ เชื่อม ใช้” เพื่อเป็นกลไกความร่วมมือในการแบ่งปันและใช้ประโยชน์ข้อมูลทางการแพทย์อย่างมีธรรมาภิบาล ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มกลางดิจิทัล ทำหน้าที่รวบรวม จัดเก็บ บริหารจัดการ และให้บริการข้อมูลแก่สมาชิกในเครือข่ายและคนทั่วไป ภายใต้มาตรฐานความปลอดภัยระดับสากลและมาตรฐานคลาวด์กลางภาครัฐ (GDCC) เพื่อขับเคลื่อนระบบสาธารณสุขไทยให้ก้าวหน้าต่อไป