นักวิจัยมหาวิทยาลัยมหิดล เข้าประกวดสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติ ในงาน “The 50th International Exhibition of Inventions Geneva” ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส

มหาวิทยาลัยมหิดล โดย กองแผนงาน เข้าร่วมงานประชุมวิชาการ Digital Health 2025 ภายใต้แนวคิด “Shaping a Healthier Future through Innovation, Entrepreneurship and Partnerships ณ University of Waterloo ประเทศแคนาดา
April 12, 2025
มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรม “Mahidol Gen S Together for Sustainability Kick-Off Day”
April 17, 2025

นักวิจัยมหาวิทยาลัยมหิดล เข้าประกวดสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติ ในงาน “The 50th International Exhibition of Inventions Geneva” ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส

มหาวิทยาลัยมหิดล นำคณะนักวิจัยพร้อมผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมเข้าร่วมเป็นตัวแทนประเทศไทยแข่งขันในเวทีการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม ในงาน “The 50th International Exhibition of Inventions Geneva” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 9 – 13 เมษายน 2568 ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส โดยมี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี คณะเภสัชศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลเข้าร่วมการประกวด

โอกาสนี้ ผลการประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม ทีมนักวิจัยมหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับรางวัลประเภทต่างๆ ดังนี้

รางวัล จาก งาน Inventions Geneva

1. รางวัลเหรียญทองเกียรติยศ (Gold Medal With the Congratulations of the Jury)

สิ่งประดิษฐ์: เครื่องตรวจการรับรู้ความรู้สึกปลายประสาทโดยใช้เส้นใยโมโนฟิลาเมนต์ เพื่อการตรวจวินิจฉัยผู้ป่วย

ผู้เข้าร่วมนำเสนอผลงาน: รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ และดร.นันทิดา นิลหุต ศูนย์เครือข่ายวิจัยประยุกต์ทางเทคโนโลยีหุ่นยนต์และชีวการแพทย์ (BART LAB) คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

2. รางวัลเหรียญทองเกียรติยศ (Gold Medal With the Congratulations of the Jury)

สิ่งประดิษฐ์: อุปกรณ์รัดยางริดสีดวงแบบใหม่

ผู้เข้าร่วมนำเสนอผลงาน: นศพ.เสฏฐนันท์ ปลั่งศิริ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

3. รางวัลเหรียญเงิน (Silver Medal)

สิ่งประดิษฐ์: เครื่องดื่มผักแปมไข่มุกคริสตัล

ผู้เข้าร่วมนำเสนอผลงาน: รศ.ดร.ปองทิพย์ สิทธิสาร รศ.ดร.ปิยนุช โรจน์สง่า รศ.ดร.คณิสส์ เสงี่ยมสุนทร ดร.ชุติมา เพชรประยูร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

4. รางวัลเหรียญทองแดง (Bronze Medal)

สิ่งประดิษฐ์: ผักแปมเม็ดปรับสมดุล

ผู้เข้าร่วมนำเสนอผลงาน: รศ.ดร.ปองทิพย์ สิทธิสาร รศ.ดร.ปิยนุช โรจน์สง่า รศ.ดร.วีณา สาธิตปัตติพันธ์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

5. รางวัลเหรียญทองแดง (Bronze Medal)

สิ่งประดิษฐ์: เทคโนโลยีกายวิภาคศาสตร์โลกเสมือนจริง

ผู้เข้าร่วมนำเสนอผลงาน: ดร.ธนทรัพย์ ก้อนมณี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

พร้อมนี้ ยังมีหน่วยงานและองค์กรนานาชาติร่วมมอบรางวัลให้กับผลงานสิ่งประดิษฐ์ของมหาวิทยาลัยมหิดลในรางวัลพิเศษ ดังนี้

(1) รางวัล NRCT Special Award จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ประเทศไทย

สิ่งประดิษฐ์: เทคโนโลยีกายวิภาคศาสตร์โลกเสมือนจริง

ผู้เข้าร่วมนำเสนอผลงาน: ดร.ธนทรัพย์ ก้อนมณี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

(2) รางวัล NRCT Special Award จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ประเทศไทย

สิ่งประดิษฐ์: อุปกรณ์รัดยางริดสีดวงแบบใหม่

ผู้เข้าร่วมนำเสนอผลงาน: นศพ.เสฏฐนันท์ ปลั่งศิริ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

(3) รางวัล Breakthrough Achievement Award

Knowledge Transfer Office, Hong Kong Baptist University

สิ่งประดิษฐ์: ชุดลำไส้เทียมสำหรับฝึกการผ่าตัดรัดยางริดสีดวงทวารและการเย็บลำไส้ผ่านรูทวาร

ผู้เข้าร่วมนำเสนอผลงาน: นศพ.เสฏฐนันท์ ปลั่งศิริ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

(4) รางวัล Special Prize Distinguished Innovation Award

Umm Al-Quara University, Ministry of Education ประเทศซาอุดีอาระเบีย

สิ่งประดิษฐ์: เครื่องดื่มผักแปมไข่มุกคริสตัล

ผู้เข้าร่วมนำเสนอผลงาน: รศ.ดร.ปองทิพย์ สิทธิสาร รศ.ดร.ปิยนุช โรจน์สง่า รศ.ดร.คณิสส์ เสงี่ยมสุนทร ดร.ชุติมา เพชรประยูร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

งานดังกล่าวเป็นงานการประกวดและนำเสนอผลงานของนักประดิษฐ์จากประเทศต่างๆ ซึ่งจัดขึ้นโดย PALEXPO SA ร่วมกับ International Federation of Inventors’ Associations (IFIA) สหพันธ์สมาคมนักประดิษฐ์นานาชาติ ภายใต้การสนับสนุนของเมืองเจนีวา รัฐบาลสวิส และ องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก หรือ World Intellectual Property Organization (WIPO) โดยในปี 2025 นี้ มีผลงานสิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมจากประเทศไทยมากกว่า 120 ผลงาน และมาจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนมากกว่า 40 หน่วยงานเข้าร่วมการประกวด ถือเป็นเวทีที่นักประดิษฐ์และนักวิจัยไทยจะได้ใช้โอกาสในการเรียนรู้และสร้างมาตรฐานของสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมอีกทั้ง สร้างโอกาสในการพัฒนา ต่อยอดผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม ทั้งในการพัฒนาประสิทธิภาพและการผลักดันสู่เชิงพาณิชย์