คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล ร่วมจัดงานประชุมวิชาการนานาชาติ “International Regulatory Science Forum 2024 Navigating Digital Health Product Development in Southeast Asia amid Evolving FDA Regulations”

มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีเปิดศูนย์ Taiwan – Thailand Overseas Science Research and Technology Innovation Center (TTSTC)
March 12, 2024
มหาวิทยาลัยมหิดล ต้อนรับผู้แทนจาก Lucerne University of Applied Sciences and Arts ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
March 13, 2024

คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล ร่วมจัดงานประชุมวิชาการนานาชาติ “International Regulatory Science Forum 2024 Navigating Digital Health Product Development in Southeast Asia amid Evolving FDA Regulations”

วันที่ 12 มีนาคม 2567 ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย Professor Hong-Chen Chen, Vice President of National Cheng Kung University (NCKU) ไต้หวัน Assoc. Prof. Eunjoo Huisung Pacifici, Chair, Department of Regulatory and Quality Sciences, USC, สหรัฐอเมริกา และ Ms. Hsiu-Mei Hsueh, Deputy Representative of Taipei Economics and Cultural Office Thailand ร่วมกล่าวเปิดงานและกล่าวต้อนรับ งานประชุมวิชาการนานาชาติ International Regulatory Science Forum 2024 Navigating Digital Health Product Development in Southeast Asia amid Evolving FDA Regulations” ศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรหญิงลีนา สุนทรสุข คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวรายงาน โดยมี รองศาสตราจารย์ เภสัชกรสุรกิจ นาฑีสุวรรณ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาสตราจารย์คลินิก ดร. นายแพทย์ ทันตแพทย์ศิริชัย เกียรติถาวรเจริญ คณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รองศาสตราจารย์ ดร.ธนภัทร์ วานิชานนท์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และผู้บริหารส่วนงาน เข้าร่วมพิธีเปิดดังกล่าว ณ ห้องประชุม 206 อาคารราชรัตน์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

งานประชุมในครั้งนี้ มุ่งเป้าเพื่อสนับสนุนความร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันชั้นนำของโลก เพื่อส่งเสริมการผลิตนวัตกรรมต่าง เช่น ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ ผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีด้านสุขภาพดิจิทัล เช่น อุปกรณ์อัจฉริยะ อุปกรณ์ทางการแพทย์ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อสร้างความแข็งแกร่งด้านนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สุขภาพดิจิทัลในประเทศไทยโดยมีนักวิจัย นักพัฒนานวัตกรรมเครื่องมือแพทย์ เภสัชกร นักวิทยาศาสตร์ทั้งในและต่างประเทศในด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพดิจิทัล และนักศึกษาจำนวนกว่า 150 คนเข้าร่วมประชุม นอกจากการบรรยายและการอบรมเชิงปฏิบัติการ (workshop) ในหัวข้อต่าง ๆ จากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว ทางคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับความร่วมมือจากภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในการจัดการศึกษาดูงานการพัฒนาเครื่องมือแพทย์ ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ให้กับผู้เข้าร่วมประชุมที่สนใจอีกด้วย