มหาวิทยาลัยมหิดล โดย สำนักงานเลขาธิการเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนด้านการสร้างเสริมสุขภาพ (AUN-HPN) จัดประชุมคณะกรรมการอำนวยการของมหาวิทยาลัยมหิดลในเครือข่าย AUN-HPN ครั้งที่ 16

มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมการประชุมวิชาการ ASAIHL International Conference 2024 ในหัวข้อ “Advances in Information and Communication Technology on Education” ณ Juntendo University ประเทศญี่ปุ่น
June 19, 2024
มหาวิทยาลัยมหิดล จัดอบรมพัฒนาศักยภาพ Global Talent สายวิชาการ หัวข้อ “Accelerating Your Academic Pathways Global Talent”
June 19, 2024

มหาวิทยาลัยมหิดล โดย สำนักงานเลขาธิการเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนด้านการสร้างเสริมสุขภาพ (AUN-HPN) จัดประชุมคณะกรรมการอำนวยการของมหาวิทยาลัยมหิดลในเครือข่าย AUN-HPN ครั้งที่ 16

วันที่ 19 มิถุนายน 2567 มหาวิทยาลัยมหิดล โดย สำนักงานเลขาธิการเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนด้านการสร้างเสริมสุขภาพ (AUN-HPN) จัดประชุมคณะกรรมการอำนวยการของมหาวิทยาลัยมหิดลในเครือข่าย AUN-HPN ครั้งที่ 16 โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรหญิงจุฑามณี สุทธิสีสังข์ รักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล และเลขาธิการเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนด้านการสร้างเสริมสุขภาพ (AUN-HPN) เป็นประธานในการประชุมฯ พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.ธันวดี สุขสาโรจน์ รักษาการแทนรองผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล และรองเลขาธิการเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนด้านการสร้างเสริมสุขภาพ (AUN-HPN) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุภาภรณ์ สงค์ประชา รองเลขาธิการเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนด้านการสร้างเสริมสุขภาพ (AUN-HPN) นายแพทย์วิวัฒน์ โรจนพิทยากร ที่ปรึกษาคณะกรรมการอำนวยการของมหาวิทยาลัยมหิดลในเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนด้านการสร้างเสริมสุขภาพ (AUN-HPN) ดร.ณัฐพันธุ์ ศุภกา ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาภาคีสัมพันธ์และวิเทศสัมพันธ์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) คณะกรรมการอำนวยการฯ ผู้บริหารและผู้แทนจากส่วนงานต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมกระแส ชนะวงศ์ ชั้น 2 สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา และผ่านระบบประชุมออนไลน์

โดยการประชุมครั้งนี้ ประกอบด้วยวาระการประชุมที่สำคัญ อาทิ การรายงานผลการประชุม AUN-HPN International Advisory Committee Meeting และ AUN-HPN Joint Symposium ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ผลการเปิดระบบประเมิน Healthy University Rating System (HURS) 2023 และผลการจัดงานประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพระดับชาติ ครั้งที่ 2 นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้ร่วมกันหารือเพื่อพิจารณารับรองมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา และมหาวิทยาลัยรังสิต ที่ให้ความสนใจสมัครเข้าเป็นสมาชิกสมทบของเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนด้านการสร้างเสริมสุขภาพ (AUN-HPN) พร้อมทั้งเสนอแนะแนวทางการพัฒนาเครือข่ายมหาวิทยาลัยส่งเสริมสุขภาพให้มีความเข้มแข็ง พร้อมขับเคลื่อนนโยบายมหาวิทยาลัยสุขภาวะผ่านการนำกรอบแนวทางมหาวิทยาลัยส่งเสริมสุขภาพ (Healthy University Framework; HUF) ไปปรับใช้และเข้าร่วมระบบการประเมิน Healthy University Rating System (HURS)

การประชุมคณะกรรมการอำนวยการของมหาวิทยาลัยมหิดลในเครือข่าย AUN-HPN กำหนดจัดขึ้นปีละ 2 ครั้ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกำหนดทิศทางการดำเนินงานของเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนด้านการสร้างเสริมสุขภาพ (AUN-HPN) และให้ข้อเสนอแนะในประเด็นต่าง ๆ เพื่อให้การดำเนินกิจกรรมของเครือข่ายฯ บรรลุตามวัตถุประสงค์ อีกทั้งเพื่อพิจารณาและร่วมลงมติ อนุมัติการเข้าร่วมเป็นสมาชิกสมทบของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในเครือข่าย AUN-HPN (AUN-HPN Associate Membership)

ขอบคุณภาพจาก สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล