ศูนย์วิทยาการราชสุดา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล จัดการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ครั้งที่ 8 (The 8th Ratchasuda Virtual International Conference on Disability 2023

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ม.มหิดล รับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาระดับส่วนงานตามเกณฑ์ EdPEx ประจำปี 2566
June 23, 2023
คณะศิลปศาสตร์ ม.มหิดล จัดประชุมวิชาการระดับชาติสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 7 ประจำปี 2566
June 23, 2023

ศูนย์วิทยาการราชสุดา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล จัดการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ครั้งที่ 8 (The 8th Ratchasuda Virtual International Conference on Disability 2023

วันที่ 23 มิถุนายน 2566 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เรืออากาศโท ทันตแพทย์ชัชชัย คุณาวิศรุต รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ครั้งที่ 8 (The 8th Ratchasuda Virtual International Conference on Disability 2023 ภายใต้หัวข้อ Resilience and Reinvention of Inclusive Education” โดยมี อาจารย์ นายแพทย์สมเกียรติ ลีละศิธร รักษาการแทนผู้อำนวยการศูนย์วิทยาการราชสุดา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวรายงาน Ms. Kyungsun Kim, UNICEF’s Representative in Thailand กล่าว Acknowledgement Remark ในโอกาสนี้ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์พูนพิศ อมาตยกุล กรรมการและเลขานุการมูลนิธิราชสุดา​ ให้เกียรติเข้าร่วมงาน ผ่านระบบออนไลน์

การประชุมครั้งนี้ มีการบรรยายทางวิชาการ โดยได้รับเกียรติจาก Dr. Samantha Smidt, Academic Director, Kings Academy, Kings College London, United Kingdom เป็นวิทยากรบรรยาย ในหัวข้อ Developing an Inclusive Education Environment at King’s College London – An Overview Ms. Diane Richler, C.M., Coordinator – International policy fellowship, Joseph P. Kennedy, Jr. Foundation, Canada เป็นวิทยากรบรรยาย ในหัวข้อ From Inclusion of Learners with Disabilities to Inclusion for All  และ Dr. Camelia Nadia Bran, University College Cork, Ireland เป็นวิทยากรบรรยาย ในหัวข้อ Embedding Diversity and Inclusion in Initial Teacher Education, Research and Practice ดำเนินรายการโดย อาจารย์ ดร.สุนันทา ขลิบทอง และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นัทธี  เชียงชะนา

วัตถุประสงค์ในครั้งนี้ เพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางด้านวิชาการ และขับเคลื่อนผลงานวิจัยด้านคนพิการทั้งระดับชาติและนานาชาติสู่การนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่คนพิการในสังคมอย่างครบวงจร

ทั้งนี้ มีภาคีเครือข่ายด้านคนพิการ หน่วยงานองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศ และบุคคลทั่วไป จำนวน 97 คน เข้าร่วมการประชุมฯ อีกทั้ง มีการนำเสนอผคลงานทางวิชาการ จำนวน 8 ผลงาน (Full Paper/ABSTRACT) และมีผู้ได้รับรางวัลการนำเสนอผลงานจำนวน 1 ผลงาน

 

ขอบคุณข้อมูลและภาพ : คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
เรียบเรียงโดย งานสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยมหิดล