มหาวิทยาลัยมหิดลเยือนและเจรจาความร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาและสถาบันการวิจัยในประเทศซาอุดิอาระเบีย

มหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN – QA ระดับอาเซียน ครั้งที่ 303
November 16, 2022
วิทยาลัยศาสนศึกษา ม.มหิดล จัดบรรยายทางวิชาการระดับนานาชาติ “Mahidol University’s CRS Religious Studies Seminars”
November 17, 2022

มหาวิทยาลัยมหิดลเยือนและเจรจาความร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาและสถาบันการวิจัยในประเทศซาอุดิอาระเบีย

เมื่อวันที่ 14 – 16 พฤศจิกายน 2565 ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรหญิงจุฑามณี สุทธิสีสังข์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ภัทรชัย กีรติสิน รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล รองศาสตราจารย์ ดร.นภเรณู สัจจรักษ์ ธีระฐิติ รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาสตราจารย์ นายแพทย์อภิชาติ อัศวมงคลกุล คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ศาสตราจารย์ นายแพทย์ปิยะมิตร ศรีธรา คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และรองศาสตราจารย์ ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เดินทางเยือนมหาวิทยาลัย สถาบันวิจัยและโรงพยาบาลต่าง ๆ ในประเทศซาอุดิอาระเบีย ได้แก่ King Saud University และ University Medical City, Princess Nourah bint Abdulrahman University, Alfaisal University, King Faisal Specialist Hospital and Research Centre, King Saud bin Abdulaziz University for Health Science (KSAU-HS), King Abdullah International Medical Research Centre (KAIMRC) และ King Abdulaziz Medical City

ในการนี้ มหาวิทยาลัยมหิดลได้เจรจาความร่วมมือด้านการศึกษา อาทิ การทำหลักสูตรร่วม (Collaborative Degree) ในระดับบัณฑิตศึกษาในสาขา Medical Education, Biomedical Engineering, Nursing และ Dentistry การเป็นที่ปรึกษาร่วม (Co-supervision) ให้กับนักศึกษาในประเทศซาอุดิอาระเบีย การเคลื่อนย้ายนักศึกษาในหลักสูตร Residency Trainings/ Fellowship Programme และ Short-course Training ต่าง ๆ เช่น Cadaveric Training และการอบรมใน Sub-Specialty สาขาอื่นทางการแพทย์ การแลกเปลี่ยนนักศึกษา และการทำ Online AI in Pathology Conference เป็นต้น

ในด้านการวิจัย ได้มีการเจรจาในหัวข้อการวิจัยที่สามารถดำเนินการร่วมกันได้ เช่น Biomedical Engineering, Chemical Engineering, OMICS/Metabolomics, Gene Therapy for Thalassemia, Organ Transplants (เน้นที่การถ่ายเปลี่ยนไตและตับ และ Cochlear Transplant), CAR-T-Cell Therapy, AI and Digital Biopsy, Pharmacy-Genomics, Genomics for NCDs, Cancer Genomics, Radio Pharmacy, Drug Discovery, Dengue Research, Anti-aging and Gene Modification, Intra Arterial Chemotherapy, Cardiac Diseases และ Inborn Genetic Disorder เป็นต้น

ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยมหิดลจะได้มีการพัฒนาข้อตกลงความร่วมมือ (MoU) กับสถาบันต่าง ๆ ในประเทศซาอุดิอาระเบีย รวมถึงการติดตามความคืบหน้าผ่านการประชุมออนไลน์และการจัดเวทีให้นักวิจัยจากทั้งสองประเทศได้เจรจารายละเอียดเพิ่มเติมในการพัฒนาความร่วมมือทางการวิจัยร่วมกัน