มหาวิทยาลัยมหิดล ลงนามความร่วมมือทางวิชาการ กับ มหาวิทยาลัยคู่ความร่วมมือ จัดตั้ง “สถาบันวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์” (AI Engineering Institute)

ผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล เข้าพบ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อนำเสนอผลงานโครงการชี้นำสังคม
May 9, 2022
โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ ร่วมกับศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล จัดประชุมเครือข่ายความร่วมมือดูแลเด็กกลุ่มเสี่ยงในจังหวัดนครสวรรค์
May 9, 2022

มหาวิทยาลัยมหิดล ลงนามความร่วมมือทางวิชาการ กับ มหาวิทยาลัยคู่ความร่วมมือ จัดตั้ง “สถาบันวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์” (AI Engineering Institute)

วันที่ 9 พฤษภาคม 2565 ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) การจัดตั้ง “สถาบันวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์” (AI Engineering Institute) ร่วมกับผู้บริหารมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ที่เป็นคู่ความร่วมมือ ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.สุพันธุ์ ตั้งจิตกุศลมั่น อธิการบดี CMKL University  รองศาสตราจารย์ ดร.อนุวัฒน์ จางวนิชเลิศ รักษาการอธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จุมพล ชื่นจิตต์ศิริ รองอธิการบดีฝ่ายกฎหมายและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รองศาสตราจารย์ ดร.รัชพล สันติวรากร คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ รองศาสตราจารย์ ดร.สัมพันธ์ สิงหาราชวราพันธ์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ  โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานในพิธี ณ ห้องประชุมกมลทิพย์ โรงแรม เดอะ สุโกศล กรุงเทพฯ

บันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการครั้งนี้ เป็นความร่วมมือระหว่างภาคีเครือข่ายมหาวิทยาลัยปัญญาประดิษฐ์ไทย ภายใต้การสนับสนุนของกระทรวง อว. ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาทักษะ และผลิตบุคลากรให้ตรงตามความต้องการของประเทศ โดยจะร่วมกันพัฒนาหลักสูตรแบบเน้นสมรรถนะของผู้เรียน (Competency-based Education) เฉพาะทาง เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ ภายใต้การดำเนินงานของ “สถาบันวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์” (AI Engineering Institute) ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการบริหารจัดการดูแลรายวิชาในหลักสูตรปัญญาประดิษฐ์ต่าง ๆ เช่น การทำ course mapping ระหว่างรายวิชาในหลักสูตรต่าง ๆ การแบ่งปันทรัพยากรระหว่างมหาวิทยาลัย และเปิดโอกาสให้นักศึกษา สามารถเข้าร่วมศึกษาแลกเปลี่ยนปฏิบัติงานวิศวกรรม การวิจัย โดยรวบรวมผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางในแต่ละด้าน ช่วยให้นักศึกษาสามารถเข้าถึงและเรียนรู้เทคโนโลยีที่ทันสมัย รวมทั้ง มีการปรับปรุงหลักสูตรให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และตรงตามความต้องการของภาคอุตสาหกรรม