มหาวิทยาลัยมหิดล จัดประชุมเครือข่ายวิจัย Mahidol University Consortium for Viral Vector Research

มหาวิทยาลัยมหิดล จัดสัมมนาการพัฒนาระบบคุณภาพมหาวิทยาลัยมหิดล (MUQD) ประจำปี 2564
October 18, 2021
มหาวิทยาลัยมหิดล จัดประชุมเครือข่ายความร่วมมือ หัวข้อ Advanced Therapy Medicinal Product (ATMP)
October 20, 2021

มหาวิทยาลัยมหิดล จัดประชุมเครือข่ายวิจัย Mahidol University Consortium for Viral Vector Research

วันที่ 19 ตุลาคม 2564 ศาสตราจารย์ นายแพทย์วชิร คชการ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุม เครือข่ายวิจัย Mahidol University Consortium for Viral Vector Research โดยมี ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์นรัตถพล เจริญพันธุ์ ผู้อำนวยการสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล และกรรมการบริหารโครงการจัดตั้งศูนย์เสริมสร้างอุตสาหกรรมชีวภาพจากนวัตกรรม มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการประชุม

การประชุมครั้งนี้ มีการบรรยายพิเศษ โดยรองศาสตราจารย์ ดร. ภญ.จุฑามณี สุทธิสีสังข์ รองอธิการบดี หัวข้อ “Reinventing University” โดยได้กล่าวถึงหลักการและแนวคิดในการดำเนินการจัดทำแผนการพลิกโฉมมหาวิทยาลัยมหิดล คือ มุ่งสู่การเป็น World Class University ตอบโจทย์แผนการพลิกโฉมสถาบันอุดมศึกษา ตามข้อกำหนดการจัดกลุ่มสถาบันอุดมศึกษา ตามกฎกระทรวงการจัดกลุ่มสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ.2564 เน้นใช้จุดแข็งและศักยภาพหลักของมหาวิทยาลัยมหิดล และจะต้องสอดคล้องกับแนวทางการเสนอของบประมาณโครงการพลิกโฉมสถาบันอุดมศึกษา ของ สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) โดยมหาวิทยาลัยมหิดล ดำเนินการทำโครงการเพื่อเสนอของบประมาณโครงการพลิกโฉมสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ที่ 1 คือ Global Research and Innovation โดยโครงการพัฒนาขีดความสามารถมหาวิทยาลัย จะเพิ่มศักยภาพในการเข้าสู่ความเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลก สร้างนวัตกรรมที่ทันสมัย ลดการนำข้า และการพึ่งพาจากต่างประเทศ อีกทั้ง สร้างนวัตกรรมจากศาสตร์แขนงใหม่ที่สามารถสร้างผลกระทบแก่สังคมในวงกว้าง โดยประกอบด้วย 5 โครงการ คือ 1. กลุ่มสาขา Biologics & Vaccine: การพัฒนาเทคโนโลยีระดับสูงเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการเรียนการสอนด้านชีววัตถุและวัคซีน 2. กลุ่มสาขา Al Based Diagnosis: Center of Excellence in Al-Based Medical Diagnosis (AI-MD) 3. กลุ่มสาขา Medical Robotics: Mahidol Medical Robotics Platform 4.กลุ่มสาขา Medical Devices การพัฒนาหลักสูตรและแพลตฟอร์มชั้นสูง เพื่อส่งเสริมนวัตกรรมเครื่องมือแพทย์และศักยภาพรองรับอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ของไทย 5. กลุ่มสาขา Drug Discovery การพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อการค้นหาและพัฒนายา สารจากธรรมชาติ สู่เภสัชภัณฑ์และผลิตภัณฑ์สุขภาพแบบครบวงจร

นอกจากนี้ ยังมีการบรรยายพิเศษ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.นภเรณู สัจจรักษ์ ธีระฐิติ รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร บรรยายหัวข้อ “ความร่วมมืองานวิจัยระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดลและประเทศฝรั่งเศส”

จากนั้น เป็นการแนะนำข้อมูลโครงการที่เกี่ยวข้องกับ Lentiviral Vector ของคณะเทคนิคการแพทย์ โดย ศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรเฉลิม อิศรางกูร ณ อยุธยา คณบดีคณะเทคนิคการแพทย์

การแนะนำโครงการ Mahidol University Viral Vector Core Facility (MU-VERY) โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นายสัตวแพทย์นริศร กิติยานันท์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล และการแนะนำ Facility และเทคโนโลยีต่าง ๆ ของโครงการจัดตั้งศูนย์เสริมสร้างอุตสาหกรรม ชีวภาพจากนวัตกรรม โดยผู้แทนจากโครงการจัดตั้งศูนย์เสริมสร้างอุตสาหกรรม ชีวภาพจากนวัตกรรม

การประชุมดังกล่าวจัดขึ้นโดย กองบริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่กลุ่มเครือข่ายงานวิจัย ที่ทำงานวิจัยด้าน Viral Vector ผ่านการแนะนำห้องปฏิบัติการ เครื่องมือวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่มหาวิทยาลัยมีความพร้อม อีกทั้ง เป็นการให้กลุ่มนักวิจัยที่มีผลงานวิจัยด้าน Viral Vector มาร่วมพบปะหารือความเป็นไปได้ ในการพัฒนาโครงการร่วมวิจัย และการสนับสนุนการเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอรับทุน Fundamental Fund ประเภท Basic Research Fund ประจำปีงบประมาณ 2566