ม.มหิดล ร่วมการประชุมโครงการพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อการค้นหาและพัฒนายา สารจากธรรมชาติ สู่เภสัชภัณฑ์และผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีมาตรฐานสากลแบบครบวงจร ภายใต้โครงการ Reinventing University System ครั้งที่ 1/2564

ศูนย์เตรียมความพร้อมภาษาและคณิตศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติ ได้รับรองคุณภาพการสอนออนไลน์จาก NEAS ออสเตรเลีย
November 23, 2021
อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมประชุมคณะกรรมการจัดประชุมวิชาการนานาชาติประจำปีรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ ครั้งที่ 3 ประจำปี 2564
November 24, 2021

ม.มหิดล ร่วมการประชุมโครงการพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อการค้นหาและพัฒนายา สารจากธรรมชาติ สู่เภสัชภัณฑ์และผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีมาตรฐานสากลแบบครบวงจร ภายใต้โครงการ Reinventing University System ครั้งที่ 1/2564

วันที่ 22 พฤศจิกายน 2564 ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร. ภญ.จุฑามณี สุทธิสีสังข์ รองอธิการบดี และ รองศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์พงศกร ตันติลีปิกร รักษาการแทน ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิจัยและวิชาการ พร้อมทั้งผู้บริหารส่วนงาน ผู้แทนส่วนงานภายในมหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมการประชุมโครงการพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อการค้นหาและพัฒนายา สารจากธรรมชาติ สู่เภสัชภัณฑ์และผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีมาตรฐานสากลแบบครบวงจร (MU-Drug Discovery & Development Platform) ภายใต้การดำเนินโครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย (Reinventing University) ครั้งที่ 1/2564 โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร. พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ และ รองศาสตราจารย์ ภก. สุรกิจ นาฑีสุวรรณ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์  ในฐานะประธานโครงการ เป็นประธานการประชุม ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.นที รักษ์พลเมือง สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา และ ผ่านระบบออนไลน์

โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ที่จะดำเนินการจัดตั้ง Mahidol University – Drug Discovery and Development (MU-DDD) Platform ขึ้น เพื่อส่งเสริมศักยภาพของมหาวิทยาลัยมหิดลในด้านการพัฒนายาและผลิตภัณฑ์สุขภาพได้ตามมาตรฐานสากลที่กำหนดไว้ตาม The International Council for Harmonisation of Technical Requirements for Pharmaceuticals for Human Use (ICH)  โดยได้รับความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภายใน และภายนอกสถาบัน เพื่อให้สามารถสร้างแพลตฟอร์มที่ครบวงจรและผลักดันให้มหาวิทยาลัยสามารถนำ potential candidates ทั้งจากนักวิจัยภายในและภายนอกมาสร้างเป็นยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ตรงตามมาตรฐานการขึ้นทะเบียนยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพต่าง ๆ ต่อไป โครงการนี้สามารถช่วยลดการพึ่งพาการนำเข้ายาจากต่างประเทศ และพัฒนาบุคลากร นักวิจัย และสร้างบัณฑิตที่มีศักยภาพเพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมยา/วิทยาศาสตร์สุขภาพในประเทศไทย เกิดรูปธรรมของการนำงานวิจัยสู่การใช้งานจริงและมีศักยภาพเชิงพาณิชย์ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจใหม่ของประเทศต่อไป

การประชุมครั้งนี้ ได้มีการนำเสนอผลการสำรวจข้อมูลพื้นฐานและทรัพยากรที่เกี่ยวกับการดำเนินงานด้าน Drug Discovery & Development ของส่วนงานต่างๆ ในมหาวิทยาลัย ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า มหาวิทยาลัยมีทรัพยากรบุคคลที่ครอบคลุมเกือบทุกกระบวนการของการพัฒนายาใหม่ อย่างไรก็ตาม ยังมีความจำเป็นที่ต้องปิดช่องว่างและขยายศักยภาพในหลายเรื่อง นอกจากนี้ ที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณากรอบแนวคิดและแนวทางในการดำเนินงานและการบริหารงบประมาณโครงการเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดี และพิจารณาแผนการจัดอบรมแบบ short course training และ reskills / upskills เพื่อยกระดับความสามารถของนักวิจัยและรวมไปถึงอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องอีกด้วย